นายสุขสันต์ กิตติศุภกร รองผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ รักษาราชการผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กทม. กล่าวว่า ในส่วนของสำนักการแพทย์ มีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ 1) ศูนย์ประชาสัมพันธ์สำนักการแพทย์และโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 11 แห่ง ประชาสัมพันธ์ข่าวสารการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจให้ประชาชนทั่วไป รวมถึงบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ให้กลุ่มเสี่ยงที่จำเป็น ต้องได้รับวัคซีน ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด ไตวาย เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ คนอ้วนน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร 2) จัดสำรองเวชภัณฑ์และเตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วย ขณะเดียวกันได้ให้ความรู้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี สำหรับผู้ป่วย ไม่ควรเข้าไปที่ชุมชน แต่หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยหรือใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอหรือจาม ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลสุขภาพได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพสำนักการแพทย์ http://prmsd.msdbangkok.go.th/wordpress และ FB Fanpage : สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: เชฟรอนสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกรมควบคุมโรค ฝ่าวิกฤตโควิด-19
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: อัลว่ามอบเครื่องกรองน้ำสนับสนุนการทำงานของกรมควบคุมโรค ช่วงวิกฤตโควิด-19
- พ.ย. ๕๔๙๓ กรมควบคุมโรค ย้ำ “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ไม่ติดต่อสู่คน แต่ขอให้ประชาชน ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางอาหารและน้ำอื่นๆ