ก.แรงงาน เชิญวัดกึ๋นรับค่าจ้างตามมาตรฐาน ตั้งเป้ากว่าสองหมื่นคน

พุธ ๓๐ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๐๘
นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า นโยบายด้านมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นอีกหนึ่งกลไกในการขับเคลื่อนให้แรงงานมีขีดความสามารถและศักยภาพ ทักษะฝีมือเป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับนโยบาย Workforce transformation ของ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มุ่งเตรียมพัฒนากำลังแรงงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจ และสังคม กพร. จึงมอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (สพร.) และสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน (สนพ.) ทั่วประเทศ เชิญชวนกำลังแรงงาน พนักงานในสถานประกอบกิจการ และประชาชนทั่วไป เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อวัดทักษะฝีมือรับค่าจ้างตามฝีมือ ซึ่งอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ขณะที่นายจ้างและสถานประกอบกิจการใช้เป็นเกณฑ์คัดเลือกแรงงานเข้าทำงาน หรือปรับเลื่อนตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเหมาะสม

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 83 สาขา อาทิ ช่างเชื่อมทิก ระดับ 1 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 455 บาท ระดับ 2 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 615 บาท ระดับ 3 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 775 บาท ช่างไม้ก่อสร้าง ระดับ 1 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 385 บาท ระดับ 2 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 469 บาท ระดับ 3 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 605 บาท ช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ 1 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 455 บาท ระดับ 2 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 615 บาท ระดับ 3 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 775 บาท และพนักงานนวดไทย ระดับ 1 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 440 บาท ระดับ 2 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 580 บาท ระดับ 3 ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าวันละ 720 บาท ในปี 2562 มีผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จำนวน 35,731 คน สาขาที่มีผู้เข้ารับการทดสอบฯ มากที่สุด คือ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร รองลงมาเป็นพนักงานการใช้คอมพิวเตอร์ (ประมวลผลคำ) ช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก ช่างซ่อมรถยนต์ ผู้ประกอบอาหารไทย เป็นต้น สำหรับในปี 2563 ตั้งเป้ามีผู้เข้ารับการทดสอบจำนวน 24,320 คน

นอกจากนี้ กพร. ยังอนุญาตให้สถาบันการศึกษา ภาครัฐและเอกชน ที่มีความพร้อมทั้งสถานที่และบุคลากร เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อให้บริการแก่แรงงานทั่วประเทศที่สนใจเข้ารับการทดสอบฯ ปัจจุบันมีจำนวน 576 แห่ง แบ่งเป็นภาครัฐ 265 แห่ง ภาคเอกชนอีก 311 แห่ง

"การเข้ารับทดสอบฯ เป็นการท้าทายขีดความสามารถวัดศักยภาพของตนเอง พร้อมพิสูจน์ศักยภาพ ทักษะฝีมือ ให้นายจ้างและสถานประกอบกิจการได้รับรู้ สร้างความภาคภูมิใจรับค่าจ้างตามฝีมือ จึงเชิญชวนแรงงานเข้ารับการทดสอบ โทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 0-2245-4837, 0-2245-1707 ต่อ 718 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 ต่อ 4" อธิบดีกพร. กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version