ก.แรงงาน ร่วมสปก. พัฒนามาตรฐาน ยกระดับฝีมือพนักงาน

พฤหัส ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๓๐
ก.แรงงาน ชวนสถานประกอบกิจการ สร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานเฉพาะ เป็นเกณฑ์วัดฝีมือและค่าจ้าง ลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มาตรา 26 ได้เชิญชวนให้นายจ้างและสถานประกอบกิจการจัดทำ "มาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ" ขึ้น เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในองค์กร โดยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดความรู้ ความสามารถ และทัศนคติของตำแหน่งงานในสถานประกอบกิจการ จะใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน กำหนดเป็นอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนตามทักษะฝีมือ พิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรม จะส่งผลดีต่อสถานประกอบกิจการในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ลดการสูญเสียในวงจรการผลิต ลดต้นทุน ลดอุบัติเหตุระหว่างการทำงานได้ สอดคล้องกับนโยบาย Workforce transformation ของม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่มุ่งปฏิรูปกำลังแรงงาน รองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม เศรษฐกิจ และสังคมในอนาคต

นายสุชาติ กล่าวต่อไปว่า ขั้นตอนการดำเนินการ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบกิจการกับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการจัดตั้งคณะทำงานในการวิเคราะห์ตำแหน่งงาน จัดทำข้อสอบภาคความรู้ ภาคทักษะ วิเคราะห์ข้อสอบ ดำเนินการทดลองทดสอบให้กับพนักงาน และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เพื่อขอหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ จึงเชิญชวนสถานประกอบกิจการที่สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนามาตรฐานและทดสอบฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เบอร์โทร 0 2245 1822, 0 2643 4987 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4

คุณภัทรนันท์ ว่องไว รองผู้จัดการ บริษัท นอร์ธเทิร์น แอทไทยร์ จำกัด กล่าวว่าบริษัท ดำเนินธุรกิจ ผลิตเครื่องแบบราชการ มีพนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงกว่า 100 คน เป็นคนในพื้นที่จังหวัดลำปาง ปัจจุบันมีการนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต เพื่อให้ทำงานรวดเร็วขึ้น แต่ก็ยังต้องใช้แรงงานคนเป็นหลัก การตัดเย็บในแต่ละขั้นตอน ยังไม่มีการตรวจเช็คอะไรมากนัก เน้นเพียงให้ผลิตสินค้าให้ทันตามออเดอร์ เมื่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 10 ลำปาง ได้มาเชิญชวนให้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพจึงมีความสนใจ สาขาที่ จัดทำ คือ สาขาพนักงานเย็บเสื้อเวสท์ ระดับ 1 หลังจากที่จัดทำมาตรฐานสาขานี้แล้ว ทำให้พนักงานได้เรียนรู้วิธีการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะในการ QC จะมีการตรวจสอบแบบเช็คลิสต์ ส่วนพนักงานเย็บมีความละเอียดมากขึ้น พนักงานคนไหนที่ทดลองทดสอบตามแบบมาตรฐานดังกล่าว ต่างตื่นเต้นในการวัดระดับฝีมือของตนเอง ส่วนคนไหนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จะมีการฝึกอบรมเพิ่มเติม พร้อมกับมอบหมายหน้าที่อื่นที่เหมาะกับระดับฝีมือ

"การจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานของผู้ประกอบอาชีพ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอย่างมาก ทั้งการรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การวางตำแหน่งหน้าที่พนักงานให้ตรงกับความสามารถ และการพิจารณาเลื่อนระดับ หากผู้ประกอบการสนใจ ก็อยากเชิญชวนเข้ามาจัดทำมาตรฐานเฉพาะ ต้องบอกว่า ไม่มีอะไรเสีย มีแต่ได้" คุณภัทรนันท์ ว่องไว กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version