1. นวัตกรรมเพื่อสังคมผู้สูงอายุ หรือ
2. นวัตกรรมเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ ลดการนำเข้า และการพึ่งพาตัวเองของประเทศ หรือ
3. เป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในระดับโลก หรือ
4. โครงการที่มีแนวโน้มผลิตสินค้า/บริการ ออกสู่ตลาดภายใน 3 - 5 ปี จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- เปิดรับสมัครวันนี้ - วันที่ 30 พฤศจิกายน 2562
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นข้อเสนอโครงการได้ที่ : https://www.tmtefund.org
- สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : โทร. 02 610 5330-1
โครงการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Thailand MED TECH Excellence Fund -TMTE Fund) เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของหน่วยงานสนับสนุนการวิจัย 7 หน่วยงานสำคัญ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.), สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (ศลช.), สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม และหน่วยส่งเสริมพัฒนาการวิจัย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมสนับสนุนทุนงานวิจัยด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยมุ่งพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ไทยและการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยในประเทศเพื่อทดแทนสินค้านำเข้า และผลิตนวัตกรรมใหม่สู่ตลาดโลก เพื่อยกระดับเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการแพทย์ไทย การสนับสนุนของโครงการครอบคลุมตั้งแต่การให้ทุนวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ การให้คำปรึกษาและรับรองมาตรฐาน การจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา การขึ้นทะเบียนสิ่งประดิษฐ์ การสนับสนุนทางการตลาด ฯลฯ โดยนอกจากหน่วยงานสนับสนุนทุน (Funding) ยังมีการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีกลไกอื่นๆ (Non-Funding) ซึ่งจะช่วยประสานเชื่อมต่อในกระบวนการพัฒนางานวิจัยจนกระทั้งผลิตออกสู่ตลาด อาทิ องค์การอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มวิชาชีพ ได้แก่ โครงการศูนย์วิจัยทางคลินิกแห่งชาติ (National Clinical Research Center หรือ NCRC) กลุ่มผู้ซื้อและผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ฯลฯ โครงการนี้จึงถือเป็นการบูรณาการรวมหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างครบวงจรนับตั้งแต่การพัฒนางานวิจัยจนถึงการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" เปลี่ยนการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม และเปลี่ยนวิธีการจาก "ทำมาก ได้น้อย" เป็น "ทำน้อย ได้มาก" ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี