อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ยุคดิจิทัล หันพึ่งโรบอท ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ

ศุกร์ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๕:๐๔
ซีทีไอ โลจิสติกส์ บริษัทแถวหน้าของคนไทย จับมือ บริษัทฟูจิซีร็อกซ์ นำเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงปฏิบัติการงาน ลดต้นทุน ลดปัญหาความผิดพลาด

นายพสุ อุณหะนันทน์ หัวหน้าผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัทซีทีไอ โลจิสติกส์ จำกัด กล่าวว่า "ปัจจุบัน ระบบออโตเมชั่นกำลังเข้ามาเปลี่ยนโฉมการทำงานของมนุษย์ การนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในองค์กรไม่ได้เป็นแค่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย ล่าสุด บริษัท ฯ ร่วมมือกับบริษัทฟูจิซีร็อกซ์ นำเอาเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) มาใช้ในการทำงาน ซึ่ง RPA ถือว่าเป็น Technology ใหม่อันดับต้นๆ ที่มาแรงในยุคดิจิทัล โดยเป็นหุ่นยนต์ที่อยู่ในรูปแบบของซอฟท์แวร์ที่เหมาะสำหรับงานอะไรที่ต้องทำซ้ำๆ ต้องการความถูกต้องและรวดเร็ว เช่น งานทางด้านป้อนข้อมูลเข้าระบบ งานบัญชี เป็นต้น ซึ่งงานเหล่านี้ปัจจุบันยังทำโดยมนุษย์เป็นส่วนมาก และมีข้อผิดพลาดอยู่เรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการทำงาน ดังนั้นทางบริษัทจึงเห็นว่า RPA สามารถเข้ามาสนับสนุนการทำงานในส่วนนี้ได้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ การนำ RPA มาใช้จะช่วยให้พนักงานมีเวลาไปทำงานในเชิงคิดวิเคราะห์ หรืองานที่เพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพได้อีกด้วย

นายพสุ กล่าวต่อว่า "ปัจจุบันอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคต เป็นรากฐานสำคัญ ของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกลไกที่ส่งผ่านมูลค่าของสินค้าและบริการจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค การบริการขนส่งและกระจายสินค้าทำให้โลจิสติกส์เป็นจิ๊กซอว์สำคัญ ที่ไทยจะชิงความได้เปรียบจากทำเลที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์อันเป็นศูนย์กลางที่พร้อมจะพัฒนาเพื่อก้าวสู่การเป็นฮับโลจิสติกส์ รุกตลาดอาเซียนและจีน หากจะกล่าวถึงเรื่องของการขนส่งและโลจิสติกส์นั้น ต้องถือว่ามีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่มีปัจจัยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ในขณะเดียวกันทั่วโลกก็เกิดความเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ ซึ่งนับเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ เช่น Digital disruption ที่ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับธุรกิจประเภทใด การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการเติบโตของE-Commerce ที่เปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งสินค้า นำมาซึ่งการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรง ทำให้บริษัทที่ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการลดต้นทุนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อที่จะดำรงค์ความสามารถในการแข่งขันได้ในสภาวะปัจจุบัน ในขณะที่ต้องพยายามลดต้นทุนนั้น ความต้องการของลูกค้าก็มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจแต่ละประเภทมีความต้องการหรือรูปแบบในการดำเนินงานที่แตกต่างกันไป จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งที่จะต้องตามให้ทันความต้องการที่หลากหลายไปพร้อมๆกับลดต้นทุนในการทำงาน ซึ่งปัจจุบันใครสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้เร็ว สามารถนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับงานได้เหมาะสม ก็จะสามารถปรับปรุงการให้บริการและสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า นำไปสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจอย่างแท้จริง"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ