กลุ่มเหล็กเชียร์รัฐใช้มาตรการทันเกม เข้มสู้สินค้าเหล็กทุ่มตลาด-หนุนใช้สินค้าผลิตในประเทศ

อังคาร ๐๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๕:๓๑
สงครามการค้าป่วนตลาดเหล็กโลกรุนแรง กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กสนับสนุนภาครัฐเร่งใช้มาตรการทางการค้า ควบคู่ Thai First ป้องกันประเทศไทยเป็นหลุมดำโดนทุ่มสินค้าเหล็กจากต่างชาติ

สงครามการค้าโลกที่ยังลุกลามขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกีดกันการค้าสินค้าเหล็กในประเทศต่างๆ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงมาก โดยล่าสุดสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังรายงานว่าเศรษฐกิจไทยปี 2562 จะมีอัตราเติบโตชะลอตัวเพียง 2.8% (ปี 2561 GDP เติบโต 4.1%) ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กของประเทศไทย ปี 2562 มีราว 19.1 ล้านตัน ในขณะที่ผู้ผลิตเหล็กจากต่างประเทศซึ่งเจอปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศของตน และไม่สามารถส่งออกสินค้าเหล็กไปยังประเทศอื่นๆ ที่ใช้มาตรการกีดกันต่างๆ อย่างเข้มข้น ต่างพากันเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดสินค้าเหล็กในประเทศไทย โดยใน 9 เดือนแรกของปี 2562 สินค้าเหล็กนำเข้ามีส่วนแบ่งตลาดในประเทศไทยเพิ่มขึ้น มากถึง 67%

นายวิกรม วัชระคุปต์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากความต้องการใช้เหล็กของโลกในปี 2561 ที่มีอัตราเติบโต 4.6% แต่ในปี 2562 จะเติบโต 3.9% และในปี 2563 อัตราการเติบโตจะเหลือเพียง 1.7% เท่านั้น โดยสวนทางกับการเพิ่มกำลังการผลิตเหล็กของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน อินเดีย อิหร่าน จน Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) ได้แสดงความกังวลว่าภาวะ Over Supply ของสินค้าเหล็กจะกลับเข้าสู่ภาวะวิกฤตสูงอีกแล้ว เพราะกำลังการผลิตเหล็กทั่วโลกมีมากเกินความต้องการใช้เหล็กถึง 440 ล้านตันต่อปี

สำหรับการแก้ไขปัญหาสินค้าเหล็กทุ่มตลาดจากต่างประเทศนั้น กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กมั่นใจในการทำงานแบบ "ทำได้ไว ทำได้จริง" ของท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ซึ่งได้รับทราบปัญหาวิกฤติอุตสาหกรรมเหล็กไทยแล้ว โดยขอให้พิจารณา (1) เร่งรัดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ที่รอการพิจารณาของคณะกรรมการ ให้มีความรวดเร็วและทันการณ์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าท่อเหล็กจากเวียดนาม และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนจากจีน ซึ่งเพียง 9 เดือนแรกของปี 2562 มีปริมาณนำเข้าสินค้าดังกล่าวรวมกันมากกว่าล้านตัน จนส่งกระทบต่อโรงงานผลิตท่อ และโรงงานผลิตเหล็กเคลือบสังกะสีในประเทศไทย ต้องลดการผลิตหรือทะยอยปิดงานไปบ้างแล้ว (2) บังคับใช้ พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเรื่องตอบโต้การหลบเลี่ยง (Anti Circumvention) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 นี้ อย่างเข้มงวดจริงจัง เพื่อเอาผิดผู้หลบเลี่ยงอากรทุ่มตลาด แม้จะมีผู้นำเข้าบางรายที่มีพฤติกรรมหลบเลี่ยงอากรทุ่มตลาด ร้องขอให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายนี้ออกไปเพราะเกรงกลัวความผิด ในขณะที่ผู้นำเข้าส่วนใหญ่ซึ่งดำเนินธุรกิจโดยสุจริต ไม่ได้ตื่นตระหนกกับกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด

นายวิกรมกล่าวว่า "อย่างไรก็ตาม การใช้เพียงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ไม่สามารถแก้ปัญหาความเสียหายทางเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างระดับที่กว้างขวางต่ออุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทย อันเนื่องมาจากกำลังการผลิตเหล็กของโลกที่มีมากเกินความต้องการ และการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ จนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยมีการใช้กำลังการผลิตถดถอย เหลือเพียง 33% เท่านั้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่สำคัญอีกแนวทาง คือ การสนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ที่จะมีการใช้งบประมาณหลายล้านล้านบาทในระยะเวลาข้างหน้านี้"

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก (1) สนับสนุนนโยบาย Thai First ที่รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ประกาศและให้กระทรวงคมนาคมเร่งทำ workshop กับกลุ่ม 7 สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กไทย ศึกษาแนวทางนำร่องเพื่อส่งเสริมการใช้สินค้าเหล็กที่ผลิตในประเทศ (2) ขอให้หน่วยงานรัฐอื่นๆ โดยเฉพาะกรมบัญชีกลาง ภายใต้กระทรวงการคลังที่เป็นหน่วยงานดูแลกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พิจารณากำหนดนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรม หรือผู้ประกอบการในประเทศ เช่น เดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลกดังเช่น สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย มีการที่มีการกำหนดนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม หรือแม้แต่มาเลเซียที่มีการใช้โปรแกรมการจัดซื้อของรัฐเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Industrial Collaboration Program (ICP) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ

กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก เชื่อว่าหากภาครัฐดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างมีบูรณาการ นอกจากจะช่วยรักษาพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กอันเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศที่ได้มีการลงทุนไปหลายแสนล้านบาท และมีการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมนับแสนรายได้แล้ว จะมีส่วนช่วยภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวอย่างชัดเจน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ