นายณรงค์ กล่าวต่อไปว่า ได้เดินทางไปเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ต่อเนื่อง 5 ปี) ตามมาตรฐาน KOSEN ที่วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี พบว่าวิทยาลัยมีความพร้อมอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตร KOSEN สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม) และ ตั้งเป้าหมายว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สอศ.จะมีช่างฝีมือคุณภาพที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีสมรรถนะสูง ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาก็เป็นคนที่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และฟิสิกส์ ประกอบกับนักเรียนและผู้ปกครองมองเห็นว่าตลาดแรงงาน หรือโลกในอนาคตอันใกล้นี้จะใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมแทนการใช้แรงงานคน คนก็จะตกงานมากขึ้น แต่ถ้าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการควบคุมหุ่นยนต์ ก็จะมีโอกาสในอนาคตมากกว่าคนอื่นๆ และสาขาวิชาสาขาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์นี้ก็สามารถพัฒนาต่อยอดได้ในหลาย ๆ ด้าน หลาย ๆ อาชีพ หรือไปศึกษาต่อเพิ่มเติมในสาขาอื่นได้อีกด้วย ทั้งนี้ สอศ. มีเป้าหมายให้ผู้ที่เรียนจบได้ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทย และตอบโจทย์การลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งผู้เรียนทุกคนจะได้รับความรู้และทักษะตรงกับความต้องการที่เป็นปัจจุบันของภาคอุตสาหกรรมไทย
- ๑๖ พ.ย. สจล. จับมือ ม.กรุงเทพ รวมพลังกับ 34 โรงเรียนปูทางสู่อนาคตสร้างบัณฑิตสองศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์และผู้ประกอบการ
- ๑๖ พ.ย. มูลนิธิ วิชัย ศรีวัฒนประภา สนับสนุนทุนการศึกษา ให้แก่ สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ต่อเนี่องเป็นปีที่ 7
- ๑๖ พ.ย. KBTG จับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย เปิดตัวหลักสูตรระดับปริญญาโทร่วมกับ KBTG Kampus ต่อยอดการศึกษาด้านเทคโนโลยีแบบเชิงลึก ยกระดับงานวิจัยระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาของไทย