Sea (Group) เผยเทรนด์จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซแบบเจาะลึกครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จากผู้ขาย 7,000 ราย บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ เผยอีคอมเมิร์ซช่วยผู้ประกอบการรายย่อยโตถึง 133%

พฤหัส ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๓:๐๘
Sea (Group) ผู้ให้บริการอินเตอร์เนตชั้นนำใน 7 ตลาดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) เผยเทรนด์จากผลสำรวจอีคอมเมิร์ซแบบเจาะลึกครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จากผู้ขายและร้านค้ารายย่อยราว 7,000 ราย บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ โดยผลสำรวจ 'E-Commerce & SMEs Uncovering Thailand's Hidden Assets' เป็นการสอบถามถึงประสิทธิผลในการดำเนินงาน อัตราการเติบโตของธุรกิจ รายได้ของครัวเรือน และตำแหน่งที่ตั้งของผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) บนช้อปปี้ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการทำผลสำรวจดังกล่าว เพื่อประเมินถึงผลกระทบ ไปจนถึงวิเคราะห์แนวโน้มที่พบหลังจากร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อยหันมาดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือ ช่วง 'Post e-Commerce adoption' โดยผลสำรวจแสดงข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น อีคอมเมิร์ซสามารถเพิ่มการเติบโตทางรายได้โดยรวมให้ผู้ขายถึง 133% โดยเฉลี่ยสำหรับผู้ขายที่มีทั้งช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์ และมากถึง 370% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่ใช้มีช่องทางขายออนไลน์อย่างเต็มที่ (สัดส่วนขายออนไลน์ถึง100%) ผู้ขายถึง 82% ยังตอบว่าอีคอมเมิร์ซทำให้รายได้ของครัวเรือนโดยรวมสูงขึ้นและมอบช่องทางในการดำเนินธุรกิจที่ยืดหยุ่นมากขึ้น นอกจากนี้ อีคอมเมิร์ซ ยังช่วย 'เปิดประตู' ทำให้ผู้ขายสามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยผลสำรวจพบว่า ผู้ขายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ได้รับประโยชน์จากการใช้อีคอมเมิร์ซมากที่สุด

ผลสำรวจ 'e-Commerce & SMEs Uncovering Thailand's Hidden Assets' ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอีคอมเมิร์ซสู่การเป็น 'เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล' สำหรับผู้ขายอย่างเต็มรูปแบบ และเผยให้เห็นถึงบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง เช่นก่อให้เกิด 'การเติบโตแบบทั่วถึง' (Inclusive Growth) เสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของผู้ขาย ไปจนถึงลดข้อจำกัดด้านที่ตั้งของร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย

ภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย เปรียบเสมือนยังอยู่ใน "วัยเยาว์" ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง[i] อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ถึง ปีพ.ศ. 2562 มีอัตราการเติบโตถึง 54% โดยยอดมูลค่าสินค้ารวม (Gross Merchandise Value: GMV) ของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลักดันให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้นอีก 24% ภายในปี พ.ศ. 2568 พร้อมยอดมูลค่าสินค้ารวมที่สูงถึง 18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องแล้ว ประเทศไทยยังนับว่าเป็นประเทศที่มีกลุ่มชาวดิจิทัลโดยกำเนิด หรือ 'Digital Native' มากถึง 38 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 68 ล้านคน อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนสูงถึง 71% จำนวนผู้สามารถเข้าถึงบริการทางธนาคาร (Banked Population) ที่ 78% สูงกว่ากลุ่มประเทศอาเซียน +6 ซึ่งมีเพียง 41% และมี 51% ของผู้บริโภคชาวไทยซื้อของผ่านแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย อีกด้วย อย่างไรก็ตามภาพรวมอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย ยังเปรียบเสมือนอยู่ในช่วงเริ่มต้น เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งมีสัดส่วนของอีคอมเมิร์ซต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกทั้งหมดสูงถึง 30% ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีสัดส่วนเพียง 2% เท่านั้น

ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group) กล่าว "ในช่วงปี 2562 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทย เราได้เห็นแนวโน้มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง Sea Insights หรือหน่วยงานวิจัยของ Sea จัดทำการศึกษา 'E-Commerce & SMEs Uncovering Thailand's Hidden Assets' ในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็น การสำรวจผู้ขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยสำรวจจากผู้ขายและร้านค้าบนช้อปปี้ราว 7,000 ราย เพื่ออยากจะสร้างเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับบทบาทของอีคอมเมิร์ซ ในการสร้าง 'การเติบโตแบบทั่วถึง' หรือ Inclusive Growth ทั้งในเชิงรายได้ การจ้างงาน เชิงโลเคชั่น และประสิทธิภาพในการดำเนินงานทางธุรกิจ โดยผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยความเจริญทางเศรษฐกิจสามช่องทางหลักๆ คือ การเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้ SME การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้คนนอกกรุงเทพ และการเปิดช่องทางคนที่อาจอยู่นอกตลาดแรงงาน เช่น นักเรียน แม่บ้าน ผู้สูงอายุ มีรายได้เสริม หรือกลุ่มที่เราเรียกว่าเป็น 'Hidden Entrepreneurs' ทางทีมหวังว่าองค์ความรู้นี้จะมีประโยชน์ไม่ใช่แค่กับทางบริษัทแต่กับทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีบทบาทในการร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศน์แห่งเศรษฐกิจดิจิทัล เพราะเราเชื่อว่าความร่วมมือระหว่างรัฐ-เอกชน จะมีความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาเศรษฐกิจนี้"

กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม (Traditional SMEs) คือ กลุ่มที่มีร้านค้าออฟไลน์และเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ผ่านอีคอมเมิร์ซ โดยอีคอมเมิร์ซช่วยสร้าง 1) รายได้ อีคอมเมิร์ซสามารถเพิ่มการเติบโตทางกำไรให้ผู้ขายถึง 133% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีทั้งช่องทางขายออนไลน์และออฟไลน์ คิดเป็นค่าเฉลี่ยการเติบโตต่อปีถึง 51% โดยอัตราการเติบโตทางรายได้มีหลายอัตรา เริ่มตั้งแต่ 93% สำหรับผู้ประกอบการที่มียอดขายจากช่องทางออนไลน์เพียง 20% และ สูงถึง 369% สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีช่องทางขายออนไลน์เพียงอย่างเดียว (มียอดขายจากช่องทางออนไลน์มากกว่า 80%) 2) ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานได้มากถึง 128% เพราะผู้ประกอบการรายย่อยสามารถใช้จำนวนแรงงานที่เท่าเดิมหรือน้อยลง ในการดำเนินงานผ่านอีคอมเมิร์ซ และยังสามารถเพิ่ม 'ประสิทธิภาพ' หรือ รายได้ต่อลูกจ้าง ให้มากขึ้นอีกด้วย เนื่องด้วยภาวะขาดแคลนแรงงานในปัจจุบัน อีคอมเมิร์ซจึงกลายเป็นหนึ่งเครื่องมือเศรษฐกิจสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม 3) อัตราการจ้างงาน ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า 46% ผู้ประกอบการรายย่อยบนอีคอมเมิร์ซตัดสินใจใช้กำไรที่ได้ในการจ้างงานเป็นอันดับต้นๆ อีกด้วย

กลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ (Sellers outside Bangkok) อีคอมเมิร์ซสามารถช่วยให้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ที่ไม่ได้กำจัดพื้นที่อยู่แค่ตลาดท้องถิ่นที่ผู้ประกอบการรายย่อยนั้นดำเนินการอยู่ เป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ขายในการเข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ (Market Discovery) โดยผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าก่อนอีคอมเมิร์ซ มีเพียง 45% ของผู้ประกอบการรายย่อยที่สามารถส่งสินค้าออกไปขายนอกต่างจังหวัดตนเอง หลังการเข้ามาของอีคอมเมิร์ซ เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวเพิ่มเป็น 81% อีคอมเมิร์ซไม่เพียงลดข้อจำกัดทางด้านภูมิศาสตร์ให้กับผู้ขาย แต่ยังลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและช่วยกระจายรายได้ โดยเฉพาะผู้ขายในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ หลังจากเริ่มใช้อีคอมเมิร์ซ ผู้ประกอบการรายย่อยในภาคเหนือถึง 92% สามารถส่งสินค้าออกนอกภูมิภาคของตนเองได้ จากเดิมมีเพียง 43% เท่านั้น

กลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs' อีคอมเมิร์ซช่วยให้เกิดกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบใหม่ ที่ไม่ได้มาจากกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม หรือ กลุ่มผู้ขายที่เคลื่อนจากร้านค้าออฟไลน์สู่แพลตฟอร์มออนไลน์เพียงอย่างเดียว กลุ่มดังกล่าวเรียกว่า กลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs' เป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยที่มองหาช่องทางรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น โดยไม่มีข้อกำจัดในการตั้งร้านค้า กลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs' ประกอบไปด้วย 63% เป็นกลุ่มที่เรียกว่า 'Full-time responsibilities' เช่น นักเรียนนักศึกษา แม่บ้าน ซึ่งจากกลุ่มคนเหล่านี้ มีจำนวนถึง 58% ที่ไม่ใช่ผู้ที่มีรายได้หลัก (Primary Earners) และ 75% เป็นเพศหญิง วัตถุประสงค์ในการใช้อีคอมเมิร์ซก็แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs' ในขณะที่กลุ่มแม่บ้านมองเรื่อง 'เวลากับครอบครัว' เป็นปัจจัยสำคัญ กลุ่มนักศึกษามองเรื่อง 'ไอเดียทางธุรกิจ' ที่สามารถทดลองได้บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยสำคัญ ในด้านของการใช้กำไรที่ได้จากอีคอมเมิร์ซ มีความแตกต่างในแต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้าน เลือกที่จะเก็บออมสำหรับดูแลครอบครัว ในขณะที่กลุ่มนักศึกษาเลือกใช้เพื่อการเรียน เป็นต้น

สรุปคืออีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเปรียบเสมือนยังอยู่ใน "วัยเยาว์" ที่ไม่เพียงเติบโตอย่างรวดเร็วแต่มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการอยู่ตลอด ผลสำรวจ 'e-Commerce & SMEs Uncovering Thailand's Hidden Assets' ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของอีคอมเมิร์ซสู่การเป็น 'เพื่อนคู่คิดภาคดิจิทัล' สำหรับผู้ขายอย่างเต็มรูปแบบ และเผยให้เห็นถึงบทบาทของอีคอมเมิร์ซที่มีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในวงกว้าง ผ่านการสร้าง 'การเติบโตแบบทั่วถึง' (Inclusive Growth) ทั้งในเชิงรายได้ การจ้างงาน ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดข้อจำกัดด้านที่ตั้งของร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อย สำหรับสามกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแบบดั้งเดิม กลุ่มผู้ขายที่อยู่นอกกรุงเทพฯ และ กลุ่ม 'Hidden Entrepreneurs'

เกี่ยวกับ Sea (ประเทศไทย)

Sea เป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เนตแพลตฟอร์มทางด้าน ดิจิทัลเอนเตอร์เทนเมนท์ (Digital Entertainment) อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) และ บริการด้านการเงินแบบดิจิทัล (Digital Financial Services) กลุ่มบริษัทในเครือ Sea (ประเทศไทย) ประกอบด้วย บริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด และ ช้อปปี้ ประเทศไทย โดยพันธกิจของ Sea คือการทำให้ชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ Sea ยังเป็นบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดทุน NYSE โดยใช้สัญลักษณ์ SE สำหรับข่าวสารเกี่ยวกับ Sea (ประเทศไทย) ท่านสามารถเยี่ยมชมได้ที่ https://www.seathailand.com/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ