โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เผยผลสำรวจการจ้างงานในประเทศไทยยังพิจารณาจากประสบการณ์ มากกว่าศักยภาพ

พฤหัส ๐๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๗:๕๖
- บริษัทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่คัดเลือกผู้สมัครจากการประเมินด้านศักยภาพมากกว่าประสบการณ์ จะได้ผู้สมัครทีมีคุณภาพถึงร้อยละ 94 นอกจากนี้ร้อยละ 42 ของผู้ว่าจ้างทั่วภูมิภาค ยังไม่เคยคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพเนื่องจากยังขาดประสบการณ์ตรง

- เกือบร้อยละ 52 ของการจ้างงานในประเทศไทยเป็นการพิจารณาจากศักยภาพผู้สมัคร และพบว่าร้อยละ 48 ยังไม่เคยพิจารณา โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 16 ผู้ว่าจ้างที่ทำการสำรวจยังไม่ได้เปิดรับวิธีดังกล่าว และกว่าร้อยละ 44 ปฏิเสธการจ้างผู้สมัครที่มีศักยภาพแต่ขาดคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่เหมาะสม

- ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานยังคงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในกระบวนการสรรหา อย่างไรก็ตามความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วถือเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส ที่ปรึกษาด้านการสรรหาชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ว่าจ้างที่ใช้แนวทางการคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเติบโตระยะยาว รายงานผลสำรวจ "พัฒนาคนเก่ง เฟ้นหาจากศักยภาพ" (Grow your Talent, Hire Based on Potential) จากโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ฉบับล่าสุดที่ได้มีการเผยแพร่ในเดือนพฤจิกายนนี้ ได้รวบรวมไว้ด้วยข้อมูลเชิงลึกจากผู้ว่าจ้างกว่า 3,000 คนทั้งจากประเทศไทยและอีก 5 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และเวียดนาม

จากรายงานดังกล่าวพบว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 94 ของผู้สมัครที่ถูกคัดเลือกจากศักยภาพนั้นยังคงทำงานอยู่กับองค์กร อย่างไรก็ตามเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ42) ของผู้ว่าจ้างในภูมิภาคยังคงลังเลที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การสรรหาบุคลากรที่ใช้แนวทางประเมินจากประสบการณ์แค่เพียงปัจจัยเดียว ทั้งๆที่วิธีดังกล่าวถือเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลา บุคลากรในการสรรหา การประเมินและการบริหารจัดการพนักงาน ที่ท้ายสุดแล้วไม่ได้เหมาะสมกับองค์กร

ความลังเลที่จะปรับใช้การสรรหาจากศักยภาพซึ่งเป็นประเด็นที่ได้ถูกให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในขณะนี้ ได้สะท้อนออกมาจากผลสำรวจในกลุ่มผู้เข้าร่วมการสำรวจในประเทศไทยเช่นกัน ดังนั้น การปรับใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อกลยุทธ์การสรรหาในอนาคต จากความเห็นของคุณศรีสกุล ทันวุฒิกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด (กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ) บริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส

"คนเก่งถือเป็นทรัพยากรที่เป็นที่ต้องการอย่างมากและเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสำหรับบริษัททั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ด้วยประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน การวางกลยุทธ์ในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อดึงดูดกลุ่มคนที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและผลักดันการเติบโตที่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่การแข่งขันเพื่อแย่งชิงคนเก่งยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น การคัดเลือกพนักงานจากการประเมินศักยภาพเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาพนักงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวม"

ประเทศไทยยังดูที่ประสบการณ์มากกว่าศักยภาพ

ในประเทศไทย กว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสำรวจได้พิจารณาประสบการณ์ผู้สมัคร เป็นหนึ่งในสามปัจจัยแรกในการว่าจ้างผู้สมัคร โดยมากกว่าร้อยละ 46 มุ่งเน้นไปที่ความสามารถของผู้สมัครในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วและมากกว่าร้อยละ 33 ให้ความสำคัญกับทักษะทางด้านบุคคล เช่นการสื่อสาร การทำงานร่วมกัน การบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่จะให้ความสำคัญกับศักยภาพผู้สมัคร แต่ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 44 ระบุว่าพวกเขาปฏิเสธผู้สมัครที่มีศักยภาพมาก แต่ขาดคุณสมบัติหรือประสบการณ์ที่เหมาะสม

ประเทศไทยเริ่มเห็นสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงมีความลังเลที่จะจ้างงานจากศักยภาพผู้สมัคร

ในขณะที่เกือบร้อยละ 52 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจเคยจ้างงานโดยพิจารณาจากศักยภาพผู้สมัครมากกว่าประสบการณ์หรือคุณสมบัติที่เหมาะสม ซึ่งตรงกันข้ามกับกว่าร้อยละ 48 ของผู้เข้าร่วมการสำรวจที่ไม่เคยทดลองวิธีดังกล่าว ซึ่งในจำนวนนี้มีถึงเกือบร้อยละ 16 ที่ตอบว่าจะไม่ลองพิจารณาวิธีดังกล่าวเช่นกัน

คุณลักษณะที่แสดงถึงศักยภาพของผู้สมัครที่มีผลต่อการพิจารณาในประเทศไทย

ในประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุคุณลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการจ้างงานจากการประเมินศักยภาพ สิ่งเหล่านี้ประกอบด้วย ความเต็มใจที่จะเรียนรู้ (ร้อยละ 74.23) แรงจูงใจ (ร้อยละ 64.95) การมีส่วนร่วม (ร้อยละ 34.02) ความคิดสร้างสรรค์ (ร้อยละ 28.87) ข้อมูลเชิงลึก (ร้อยละ 16.49) ความสนใจใคร่รู้ (ร้อยละ 13.40) และเหตุผลอื่น ๆ คิดเป็นกว่าร้อยละ 4 ซึ่ง ร้อยละ 85 ของผู้ที่ได้รับการการจ้างงานเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากทีมว่าได้กลายป็นสมาชิกที่มีความสำคัญโดยที่ร้อยละ 38 ของกลุ่มคนเหล่านี้ได้ถูกประเมินหลังจากที่ได้ใช้เวลาระยะหนึ่งฝึกฝนพวกเขา

ความล่าช้าของการสรรหา

หนึ่งในประเด็นสำคัญของการจ้างงานที่พิจารณาจากประสบการณ์คือความล่าช้าของการสรรหา ในประเทศไทย น้อยกว่าร้อยละ 5 ของตำแหน่งงานจากแบบสอบถามที่ใช้เวลาการสรรหาน้อยกว่า 1 เดือนและเกือบร้อยละ 40 ได้ใช้เวลาการสรรหาระหว่าง 1-2 เดือน และมากกว่าร้อยละ 49 ที่ใช้ระยะเวลานานถึง 2-6 เดือน และมีจำนวนถึงร้อยละ 6 ที่ใช้เวลานานถึงครึ่งปี ซึ่งการปรับใช้กลยุทธ์การสรรหาจากศักยภาพจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาความล่าช้าที่เกิดจากการสรรหาได้

อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหาที่ได้ดำเนินการสำเร็จนั้นมีบางส่วนที่ผลลัพธ์ไม่ได้ตรงกับที่คาดหมาย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 29 พบว่าพนักงานไม่ส่งมอบผลงานตามที่คาดหวัง มากกว่าร้อยละ 19 ถูกประเมินว่าไม่มีทัศนคติในการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ไม่มีทักษะความรู้หรือความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม

เหตุผลที่การจ้างงานจากศักยภาพยังคงไม่ได้รับความนิยม

รายงานในหัวข้อ "พัฒนาคนเก่ง เฟ้นหาจากศักยภาพ" (Grow your Talent, Hire Based on Potential) ได้เปิดเผยว่าผู้ตอบแบบสอบถามทั่วทั้งภูมิภาคมักจะเลือกผู้สมัครที่สามารถปฏิบัติงานได้ทันที ข้อกำหนดเชิงเทคนิคของตำแหน่งงานและการขาดความสามารถในการประเมินศักยภาพผู้สมัครเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การคัดเลือกผู้สมัครจากศักยภาพไม่ได้รับความนิยม ซึ่งหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถาม (ร้อยละ 30) เชื่อว่าผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่ตรงจะแสดงความสามารถในที่สุด

ในประเทศไทยพบว่าเหตุผลสำคัญที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ใช้วิธีการจ้างงานจากศักยภาพ เนื่องจากต้องการพนักงานที่สามารถทำงานได้ทันที (ร้อยละ 44.83) รวมทั้งแต่ละตำแหน่งงานเน้นความรู้ ประสบการณ์ และทักษะเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 44.83) นอกจากนี้บริษัทยังไม่มีเวลา บุคลากรและความเชี่ยวชาญที่จะให้การฝึกอบรมในเชิงลึก (ร้อยละ 41.38) และมีความยากลำบากในการระบุว่าบุคคลนั้นเหมาะสมกับทีมของพวกเขาหรือไม่ (ร้อยละ 37.93) ใช้เวลาและเพิ่มภาระในการฝึกฝนผู้สมัคร (ร้อยละ 37.93) เชื่อว่าคนที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมจะแสดงให้เห็นเองในที่สุด (ร้อยละ 24.14) พบว่าเป็นการยากที่จะประเมินศักยภาพของบุคคล (ร้อยละ 17.24) และกังวลว่าผู้สมัครจะไม่สามารถเรียนรู้ได้เร็วพอ (ร้อยละ 13.79)

การรักษากลุ่มคนที่มีความสามารถ สำหรับทักษะเฉพาะ

รายงานนี้ยังได้นำเสนอแนวทางสำหรับบริษัทที่ต้องการปรับกลยุทธ์การสรรหาให้มีการวัดในเชิงศักยภาพด้วย ซึ่งแนวทางดังกล่าวรวมถึงการระบุข้อกำหนดที่สำคัญหรือข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงาน คำบรรยายลักษณะงานที่ตรงกับความเป็นจริง การมองหาสัญญาณของโอกาสหรือความก้าวหน้าจากประสบการณ์ผู้สมัครและการใช้ความเชี่ยวชาญจากที่ปรึกษาด้านการสรรหาในการคัดเลือก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานหรือบริษัทโรเบิร์ต วอลเทอร์ส ประเทศไทย กรุณาเข้าไปที่ www.robertwalters.co.th

โรเบิร์ต วอลเทอร์ส เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดหางานระดับมืออาชีพที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสรรหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเพื่อดำรงตำแหน่งพนักงานประจำ พนักงานสัญญาจ้างและพนักงานชั่วคราวในทุกระดับตำแหน่ง สำนักงานสาขาประเทศไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการคัดสรรบุคลากรในสายงานด้านต่างๆ อาทิเช่น สายงานบัญชีและการเงิน สายงานธนาคารและสถาบันการเงิน สายงานบริหารและที่ปรึกษา สายงานทรัพยากรบุคคล สายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สายงานการขายและการตลาด สายงานด้านซัพพลายเชนและจัดซื้อรวมไปถึงธุรกิจทางด้านสุขภาพ โรเบิร์ต วอลเทอร์สก่อตั้งในปี 1985 ปัจจุบันมีสำนักงานใน 31 ประเทศทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version