ติวเข้ม “ทายาท SME” เพิ่มทักษะ เสริมแกร่ง ทันยุค 5 จี

ศุกร์ ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๐:๐๔
ซีพี ออลล์ ติดปีกทายาทธุรกิจ SME ดึงวิทยากรชื่อดังถ่ายทอดองค์ความรู้ติวเข้มผู้ประกอบการไทยหลายแขนง เสริมแกร่งทักษะและไหวพริบรอบด้าน เพราะยุค 5 จี ค้าขายต้องเร็วรอนานไม่ได้ หวังเตรียมความพร้อมให้นักธุรกิจเจเนอเรชั่นใหม่ต่อยอดและพัฒนากิจการให้เติบโต มั่นคง และยั่งยืน

นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวว่า ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ก่อตั้งมานานกว่า 30 ปี มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าของผู้ประกอบการไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำหน่ายผ่านหน้าร้าน และนิตยสารทเวนตี้โฟร์ แคตตาล็อก มีสินค้าเอสเอ็มอีรวมทั้งสิ้นกว่า 10,000 รายการ และมีการพัฒนา SME ให้เจริญก้าวหน้าเพื่อเติบโตเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามปณิธานของบริษัท "ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน"

ล่าสุด ซีพี ออลล์ ติดอาวุธทางปัญญาให้ทายาทและผู้ประกอบการ SME รุ่นใหม่ จัดโครงการอบรม "ซีพี ออลล์ ปั้นทายาท SME รุ่น 2" หวังถ่ายทอดองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน

นายณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง ผู้ก่อตั้ง dots academy เจ้าของบล็อกและเพจ nuttaputch.com – บล็อกการตลาดชื่อดัง ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันเจ้าของธุรกิจมักสร้างช่องทางการตลาดไว้มากมาย ยกตัวอย่าง เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ แต่ในมุมของลูกค้าความต้องการสูงสุด คือ คุณภาพสินค้าที่ดี รวมถึงการเอาใจใส่จากพนักงาน เพราะหลายครั้งพนักงานเป็นตัวการทำลายแบรนด์และชื่อเสียงของบริษัท ฉะนั้นก่อนใช้เครื่องมือการตลาด สิ่งที่ควรทำ คือ สร้างทัศนคติที่ดีแก่คนในองค์กรก่อน

ลำดับต่อมา นายณัฐพัชญ์ ให้ข้อมูลว่า "คอนเทนต์" ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเป็นคอนเทนต์ที่ดัง ไม่ต้องภาพสวย หรืออาร์ตเวิร์คเลิศหรู เพราะคนตามเฟซบุ๊กเยอะ แต่ถ้าสินค้าขายไม่ได้ก็จบ อย่าคำนึงถึงแต่ปริมาณคนที่เข้ามาดู เพราะคอนเทนต์ หรือ เนื้อหาที่ดีนั้นต้องสื่อสารชัดเจน ควรจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายไปเลย ยกตัวอย่าง สตาร์บัคซื้อ 1 แถม 1 อาจจะแค่บอกปากเปล่ากับลูกค้าเท่านั้น ส่วนข้อควรระวัง เจ้าของสินค้าต้องไม่ยัดเยียดความรู้สึก หรือความต้องการของตัวเองใส่ลงไปแทนลูกค้า เพราะคนซื้อไม่ได้มีความชอบเหมือนเจ้าของ

"ในยุคดิจิทัล หรือ marketing communication ใครๆ ก็มีสื่อในมือ ฉะนั้นถ้าคอนเทนต์ไม่ตรงความต้องการ ไม่มีคุณค่าพอ ไม่สร้างประสบการณ์ร่วมให้คนดู คนดูก็เขี่ยทิ้ง ต่างจากเมื่อก่อน ใครซื้อสื่อได้เยอะ คนนั้นชนะ ฉะนั้น คอนเทนต์ มาร์เก็ตติ้งที่ดี ลำดับแรกต้องกระตุ้นความอยากได้ ต่อมาสร้างความทรงจำให้ลูกค้าไปหาซื้อ สร้างประสบการณ์ร่วมจนลูกค้าอยากบอกต่อ"

ด้านอาจารย์พีรวงศ์ จาตุรงคกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวว่า 4 ปัจจัยที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าในครั้งแรกจะถูกกำหนดด้วย ราคา หน้าตา คุณภาพ ยี่ห้อ หากมีการซื้อซ้ำ จะเลือกจากคุณภาพ และยี่ห้อ ก่อนเสมอ

"แบรนด์ คือ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงที่ลูกค้ารู้จักและจดจำ ซึ่งมีการวิจัยออกแล้วว่า สมองคนเราจะสามารถจำ แบรนด์ในสินค้าประเภทเดียวกันได้เพียง 7 แบรนด์เท่านั้น แบรนด์ที่ดีคนจะบอกต่อ 3 คน แบรนด์ไม่ดีคนบอกต่อ 12 คน และแบรนด์ไหนที่เลวร้ายมาก คนบอกต่อ 144 คน และคนที่ทำลายแบรนด์ 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคนในองค์กร"

สำหรับการตั้งชื่อแบรนด์ที่ดี อาจารย์พีรวงศ์ บอกว่า ไม่ควรเกิน 1 - 3 พยางค์ ไม่เกิน 7 ตัวอักษร อ่านง่าย ออกเสียงง่าย ทันสมัย สื่อความหมายได้ดี โดย 7 ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่คนจำง่าย มี A G I M S T V

ส่วนแบรนด์ที่ดีควรมีโลโก้จำง่ายใช้ 2-3 สีเท่านั้น สีที่เหมาะทำโลโก้ ได้แก่ สีดำ สีน้ำเงิน สีแดง สีเหลือง สีม่วง สีเขียว และสีส้ม หลีกเลี่ยงโลโก้รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงข้าวหลามตัด นอกจากนั้นแบรนด์ดี ควรมีคำขวัญหรือสโลแกน สั้น จำง่าย โดนใจ ลูกค้าอ่านแล้วเข้าใจทันที

ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้น อาจารย์พีรวงศ์ แนะว่า บรรจุภัณฑ์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งหัวใจสำคัญ ต้องแตกต่าง ต้องดีกว่าเดิม ต้องโดนใจ ต้องชัดเจน สวย สื่อสารได้ตรง มีเสน่ห์ดึงดูด

อย่างไรก็ตามในปี 2030 ประเทศสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ และ 5 แนวโน้มบรรจุภัณฑ์ที่จะได้รับความนิยมนับจากนี้ คือ เรียบง่าย สะอาดโทนสีขาวและสีพาสเทลกำลังเป็นเทรนด์ ใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ๆ รูปทรงโดดเด่น ใช้ภาพถ่ายเก๋ๆ และแนววินเทจย้อนยุค

ทางด้านของผู้ร่วมเข้าสัมมนา นายนิธิกร สิงห์สัตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีสตางค์มีทรัพย์ จำกัด เจ้าของเครื่องสำอางแบรนด์ "โซลูชั่น" กล่าวว่า จะนำความรู้ด้านการเขียนคอนเทนต์ มาร์เก็ตติ้ง และการออกแบบโลโก้ไปปรับใช้ เพราะธุรกิจดำเนินมานานกว่า 8 ปี ต้องมีการปรับโฉมหรือเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย

น.ส.สุพิชชา กอเจริญพาณิชย์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องหอมโดยนำยักษ์มาเป็นเอกลักษณ์เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ "ANONA" กล่าวว่า ขอบคุณทางซีพีออลล์ ที่ให้คำแนะนำมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นคู่ค้า กระทั่งปัจจุบันสินค้าวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น นานกว่า 3 ปีแล้ว ซึ่งสิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้จะนำความรู้เรื่องการตั้งชื่อแบรนด์ การออกแบบเครื่องหมายการค้า และการเขียนคอนเทนต์ไปปรับใช้ เพราะยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล การตลาดแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้ผลแล้ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ