Super Poll ชิมช้อปใช้ ใครว่าได้ประโยชน์

จันทร์ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๐๙:๒๑
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ชิมช้อปใช้ ใครว่าได้ประโยชน์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่าน "เสียงประชาชนในโลกโซเชียล" (Social Media Voice) จำนวน 1,179 ตัวอย่าง และ "เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม" (Traditional Voice) จำนวน 1,080 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 1 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า

เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.4 ได้เข้าใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ ของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 39.6 ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ และเมื่อแบ่งแยกวิเคราะห์กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มพลังเงียบและกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล พบว่า กลุ่มคนทั้งสามกลุ่มใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ เป็นส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 69.6 ของคนสนับสนุนรัฐบาล ร้อยละ 62.7 ของพลังเงียบ และร้อยละ 52.0 ของคนไม่สนับสนุนรัฐบาล ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการชิมช้อปใช้ อย่างไรก็ตามคนที่ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์เพราะเข้าไม่ถึงมาตรการชิมช้อปใช้เป็นกลุ่มคนมีรายได้น้อย ไม่มีช่องทางเข้าถึง ขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ทราบ ไม่รู้เรื่องนี้และอยู่ห่างไกล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ เมื่อวิเคราะห์เสียงของประชาชนในโลกโซเชียล (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ด้วยการประมาณการจำนวนเข้าถึงเรื่อง ชิมช้อปใช้ พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 21,898,746 คน หรือประมาณยี่สิบกว่าล้านคนเศษ เป็นเสียงตอบรับในทางบวก ร้อยละ 67.8 และเสียงตอบรับในทางลบร้อยละ 32.2 อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับในทางลบจะเป็นไปในเชิงวิพากวิจารณ์มาตรการและมีการเผยแพร่กว้างขวางด้วยคำว่า "ล้มเหลว" เป็นคำที่ทรงอิทธิพลในโลกโซเชียล ในขณะที่คำต่าง ๆ ที่เสียงตอบรับในทางบวกคือคำว่า "ท่องเที่ยว" เป็นคำที่ทรงอิทธิพลเช่นกันแต่ถูกกระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยล่าสุดจำนวนคนที่กำลังพูดถึงเรื่องนี้ในโลกโซเชียลตรวจวัดได้ช่วงเช้าที่ผ่านมามีจำนวนทั้งสิ้น 76,695 คนและกำลังพูดถึงเรื่องวิธีการลงทะเบียนมากกว่าเบียดแซงข้อความเชิงลบเรื่องความล้มเหลวของมาตรการชิมช้อปใช้ที่ถูกผลิตออกมาจากฝ่ายตรงข้ามแล้ว

"จากผลโพลนี้อาจฟันธงได้ว่า มาตรการชิมช้อปใช้ ได้ผลในแง่แย่งชิงมวลชนได้สำเร็จในเชิงการเมืองแต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ต้องวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมและเสียงประชาชนในโลกโซเชียลเป็นไปในทิศทางบวก จนทำให้ฝ่ายตรงข้ามออกมาเคลื่อนไหวหนักใช้การสื่อสารเชิงลบเข้าทำลายด้วยเล็งเห็นจุดอ่อนของคนทั่วไปในสังคมที่ขับเคลื่อนข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ทางออกคือ กระทรวงต่าง ๆ ต้องทำงานเป็นหนึ่งเดียวกันเพราะคำว่า "ท่องเที่ยว" ถูกใช้มากแต่กระจายตัวสูงต้องสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้นและทำให้คำว่า "ท่องเที่ยว" รวมพลังกับคำว่า "ชิมช้อปใช้" และจะสามารถทำลายพลังคำว่า "ล้มเหลว" ในเสียงของประชาชนได้สำเร็จ ให้ถือหลัก น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมาเป็นฝ่ายสนับสนุน #ท่องเที่ยว #ชิมช้อปใช้ #น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน" ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ