สวนสามพราน-มูลนิธิสังคมสุขใจ จัดงานครบรอบ 9 ปี ตลาดสุขใจ เผย 9 ปี สร้างเงินหมุนเวียนเป็นรายได้เกษตรกรอินทรีย์ และชุมชนมากกว่า 214 ล้านบาท เริ่มเปิดโซนวันธรรมดา ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

อังคาร ๑๒ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๐๗:๕๓
ตลาดสุขใจ ในสวนสามพราน ภายใต้มูลนิธิสังคมสุขใจ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดงาน"ครบรอบ 9 ปี ตลาดสุขใจ" พร้อมเปิดแนวคิดการยกระดับตลาดสะท้อนการรวมกลุ่มของเกษตรกรอินทรีย์อย่างเข้มแข็งภายใต้ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม (PGS) การบริหารจัดการตลาดอย่างมีระบบและมีส่วนร่วม และสะท้อนการเติบโตของสังคมอินทรีย์โดยเฉพาะความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการวัตถุดิบอินทรีย์และการเรียนรู้มากขึ้น รวมถึงสะท้อนความต้องการของผู้ประกอบการ องค์กร ที่ต้องการมาเรียนรู้วิถีการดำเนินธุรกิจเกื้อกูลสังคม หรือสามพรานโมเดล ที่มีการเชื่อมโยงห่วงโซ่ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ของสวนสามพราน ที่นำไปสู่การเปิดตลาดสุขใจ การขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่องรวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Thai Organic Platformเชื่อมโยงห่วงโซ่อินทรีย์ทั้งระบบ และให้ผู้บริโภคเข้าถึงสังคมอินทรีย์ และเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น

ในงานครบรอบ 9 ปี ตลาดสุขใจ ที่จัดขึ้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์และราษฎรอาวุโส มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยมีคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานมูลนิธิสังคมสุขใจ รายงานถึงความเป็นมาและก้าวสำคัญของตลาดสุขใจ

นายอรุษ นวราช เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล เปิดเผยว่า ตลาดสุขใจเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2553 จนถึงวันนี้เป็นระยะเวลา 9 ปี แล้ว มีจำนวนผู้บริโภค มาจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสุขใจมากขึ้นทุกปี โดยรวมระยะเวลา9 ปี จำนวนกว่า 833,000 คน สร้างรายได้ให้เกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 16 กลุ่ม 180 ครอบครัว และชุมชนที่ได้เปิดพื้นที่เข้ามาจำหน่ายอาหารอย่างต่อเนื่อง รวมเป็นเงิน หมุนเวียนในตลาดและเป็นรายได้ตรงถึงเกษตรกรอินทรีย์และชุมชนตลอดระยะเวลา 9 ปี รวมมูลค่าประมาณ 214 ล้านบาท

เลขานุการมูลนิธิสังคมสุขใจ ยังได้ เล่า ถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดสุขใจ ในปี 2562 ซึ่งมีการปรับพื้นที่ตลาดสุขใจใหม่ และดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ว่านอกจากการปรับพื้นที่แล้ว ในส่วนคุณภาพมีการยกระดับความเป็นอินทรีย์ และการจัดพื้นที่เพื่อสะท้อนการทำงานร่วมกันของกลุ่มเกษตรกรภายใต้ระบบการรับรองอย่างมีส่วนร่วม

"เราปรับพื้นที่บริเวณตลาดสุขใจใหม่ ให้เชื่อมโยงกับโซน Patom Organic Village และกิจกรรมในสวนสามพราน ซึ่งมีการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล เพื่อให้ทุกคนเห็นความเชื่อมโยงของเส้นทางวัตถุดิบและอาหารตั้งแต่ต้นทางการผลิต การแปรรูป และมาสู่ผู้บริโภคที่ตลาดสุขใจ โดยจากการปรับปรุงนี้ทำให้ผู้บริโภค ได้รับความสะดวกในการซื้อสินค้า รวมถึงได้เห็นการขับเคลื่อนเกษตรกรอินทรีย์ ที่แต่ละร้านจะมีป้ายชื่อกลุ่มเกษตรกร รวมถึงใบประกาศข้อตกลงร่วม (PGS) ของทั้งตลาดสุขใจและของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนร้านค้าทั้งสิ้นจำนวน 53 ร้าน และมีการกำหนดให้อาหารที่จำหน่ายในตลาดให้มีวัตถุดิบอินทรีย์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป"

ตลาดสุขใจยังมีนโยบายGo Green มีการจัดการขยะอย่างครบวงจร และงดการใช้ถุงหิ้วพลาสติด หลอดพลาสติก ขวดพลาสติก พร้อมส่งเสริมให้ผู้บริโภคนำถุงผ้า ตะกร้า มาช้อปด้วย โดยตลาดสุขใจเปิดทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. อย่างไรก็ตามในโอกาสครบรอบ 9 ปี และจากความต้องการผลผลิตอินทรีย์ของตลาดที่มีมากขึ้น นายอรุษ นวราช เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จะมีการเปิดตลาดสุขใจในวันธรรมดาด้วย เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นต้นไป โดยในช่วงแรก จะเป็นการเปิดในส่วนของศูนย์อาหาร ส่วนขนม ของฝาก เสื้อผ้า และผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ที่มีความพร้อม และร้านวิสาหกิจเพื่อสังคมสุขใจออร์แกนิกโดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลาเวลา 10.00– 16.00 น.

ทั้งนี้ยังมีการเปิดร้านจำหน่ายสินค้า Patom Shop บริเวณตลาดสุขใจ เพื่อให้ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ได้มีแหล่งซื้อผลิตภัณฑ์และขนมของฝาก ที่ใช้วัตถุดิบอินทรีย์จากการขับเคลื่อนสังคมอินทรีย์ ที่มีการลงพื้นที่ไปทำงานและวางแผนร่วมกับเกษตรกรอินทรีย์ในเครือข่ายสามพรานโมเดลเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายและการจัดการผลผลิตให้เกษตรกรรวมถึงยกระดับคุณค่า ประโยชน์ ของพืชผักสมุนไพรอินทรีย์ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถติดตามข่าวสารความคืบหน้า รายละเอียดเกี่ยวกับตลาดสุขใจ หรือติดต่อเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการขับเคลื่อนสามพรานโมเดล ธุรกิจเกื้อกูลสังคม และการเปิดตลาดสุขใจวันธรรมดาได้ทาง Face book ตลาดสุขใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ