นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ประเทศสมาชิกสภาไตรภาคียางพารา ประกอบด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ดำเนินมาตราการลดการส่งออก (Agreed Export Tonnage Scheme: AETS) ครั้งที่ 6 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562 จนปัจจุบันเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกประเทศได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน รวมทั้ง 3 ประเทศ สามารถลดปริมาณส่งออกลงได้ 441,648 MT ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดคือ 240,000 MT และไม่ส่งผลให้จำนวนสต็อคคงค้างของ 3 ประเทศเพิ่มแต่อย่างใด
การส่งออกช่วงครึ่งปีแรกในปี 2562 ของทั้ง 3 ประเทศ ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 492,000 MT (10.60%) ในขณะที่จำนวนการส่งออกยางธรรมชาติของประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ไอโวรี่โคต และกัมพูชา มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 106,000 MT (11.56%) ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศสมาชิกสภาไตรภาคียางพารา จะมียอดการส่งออกลดลงในปีนี้ประมาณ 800,000 MT ซึ่งสอดคล้องกับผลผลิตที่ลดลง นายสุนันท์ เปิดเผยเพิ่มเติม
นายสุนันท์ กล่าวถึงโรคใบร่วงชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในพื้นปลูกยางพาราในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ว่า ประเทศสมาชิกสภาไตรภาคียางพารา ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคเชื้อราที่ชื่อว่า Pestalotiopsis ซึ่งพบว่าได้กระจายเข้าไปในพื้นที่เพาะปลูกยางพาราอย่างกว้างขวางในพื้นที่ทั้ง 3 ประเทศ จากข้อมูลวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ปลูกยางพาราที่ได้รับผลกระทบจากโรคเชื้อรานี้ประมาณ 382,000 hectares ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ 2,135 hectares ทำให้ใบยางพาราร่วง 50 - 90 % ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงเดือนกันยายน 2562 สำหรับประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกยางในจังหวัดนราธิวาสได้รับผลกระทบจากโรคเชื้อรานี้ถึง 16,000 hectares และมีอย่างน้อย 50,000 hectares ในพื้นที่บริเวณแนวชายแดน ส่วนในบางพื้นที่ที่เป็นโรครุนแรงจะมีสวนยางพาราที่ได้รับความเสียหาย 80% จึงทำให้ผลผลิตลดลงราว 40 - 60% (ข้อมูลจากเกษตรกร) นับเป็นช่วงฤดูกาล ที่ทำให้กระทบต่อผลผลิตอย่างมากเพราะในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคมเป็นเดือนที่ต้นยางพาราให้ผลผลิตสูงสุด ข้อมูลล่าสุดรายงานว่าโรคเชื้อราดังกล่าวได้กระจายเข้าสู่พื้นที่จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มียางพาราหนาแน่นที่สุดจังหวัดหนึ่ง สาเหตุหลักของการแพร่ระบาดของเชื้อรา Pestalotiopsis นั้น เนื่องจากสภาพของต้นยางพาราที่อ่อนแอ ขาดการดูแลและบำรุงบำรุงต้นยางพารา
"กยท. กำลังดำเนินมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคนี้ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากหลายๆองค์กรทั้งในประเทศและจาก the International Rubber Research Development Board (IRRDB) ส่วนในประเทศมาเลเซีย Malaysian Rubber Board (MRB) ได้ให้คำแนะนำ อบรมและสาธิตวิธีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อราเพื่อกำหนดและควบคุมโรคระบาด เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรชาวสวนยางและผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพารา ประเทศสมาชิก ITRC จะติดตามและดำเนินการตามมาตรการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาโรคยางและช่วยให้ราคายางพาราปรับสู่ระดับราคาที่เป็นธรรมแก่เกษตรกรชาวสวนยางต่อไป"