สกสว.ประกาศพร้อมหนุนหน่วยงานในระบบววน. เดินหน้าวิจัย 63-64

พุธ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๓:๐๙
สกสว. แจงแนวทางปฏิบัติเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ 63 และ 64 แก่หน่วยงานในระบบ ววน. ประกาศพร้อมเดินหน้าการสนับสนุน ส่งเสริม และขับเคลื่อน ววน. อย่างเป็นระบบ และเห็นผลเชิงรูปธรรม ตาม OKRs

ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงระบบ และแนวทางปฏิบัติเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ สำหรับหน่วยงาน ที่มีภารกิจเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ราชปรารภ กรุงเทพฯ โดยมีหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) 171 หน่วยงาน เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพียง

โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผอ.สกสว. บรรยายเรื่อง "การขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม" ตอนหนึ่งว่า การจัดงานในวันนี้มีขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในการยื่นขอเสนองบประมาณด้าน ววน.ในปีงบประมาณ 2564 ให้กับหน่วยงานใน ววน.ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศความเปลี่ยนแปลง โดยมีการจัดตั้งสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานอื่นๆ ในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) และ มีการจัดตั้ง สกสว. โดยบทบาทของ สกสว. คือ มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ขับเคลื่อน ระบบ ววน.ให้หน่วยงานต่างๆ นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานของตนอย่างเต็มศักยภาพ โดยกระบวนการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ งานวิจัยต่อยอด (Translational) ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ผลักดันไปสู่การสร้างผลกระทบอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ และ สอดคล้องยุทธศาตร์ชาติ

ในส่วนของกรอบงบประมาณนั้น สกสว. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) ที่แบ่งย่อยออกเป็น 1.1 Basic Research Fund & Institution Capacity Building Fund ที่จะจัดสรรงบประมาณให้กับ หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรมที่ชื่อ "พีเอ็มยู" (PMU มาจากคำว่า Program Management Unit) เพื่อนำไปสนับสนุน แก่โครงการวิจัยพื้นฐาน และ สร้างความเข้มแข้งของงานวิจัยและการบริหารงานวิจัยของสถาบันความรู้ และ สถาบันวิจัยในหน่วยงาน 1.2 Basic Function Fund ที่จะจัดสรรงบประมาณตรงตรงไปยังหน่วยงานเฉพาะด้าน ววน. และ ดำเนินการงานตามภารกิจของตนเอง ซึ่งอาจรวมโรงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. ระดับชาติ และ โครงการริเริ่มที่สำคัญของประเทศ 2. ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ (Strategic Fund) ตาม 4 Platforms 16 Programs ที่จะมีการจัดสรรงบประมาณให้กับ หน่วยงานบริหารจัดการโปรแกรม เพื่อนำไปสนับสนุนให้แก่หน่วยงานระดับปฏิบัติ

ด้าน รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รอง ผอ. สกสว. ด้านการพัฒนาระบบ ววน. และเครือข่าย บรรยายเรื่อง "ระบบงบประมาณและการบริหารโปรแกรมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ใหม่ของประเทศ" ตอนหนึ่งว่า หลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา มีกฎหมายเกิดขึ้น 10 ฉบับที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในระบบ ววน. ของประเทศ โดยกฎหมายสำคัญคือ พรบ.สภานโนบายฯ โดยมีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้น 2 หน่วยงาน คือ สอวช. และ สกสว. และ มี พรบ.ส่งเสริมระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประธานสภานโยบายฯ และคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรม (กสว.) ทำหน้าที่สำคัญในการดูแลกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มี สกสว. ทำหน้าที่บริหารการดำเนินงานจัดสรรงบประมาณวิจัยของหน่วยงานทั้งหมดในหน่วยงานในระบบ ววน. เพื่อ ส่งเสริมการพัฒนากำลังคน ทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตร และบริการ รวมถึงภาคธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีทั้งงานวิทยาศาสตร์ งานโครงสร้างพื้นฐาน

โดยการปรับโครงสร้างในระบบ ววน.ที่เกิดขึ้น แบ่งชั้น (Tiers) ของการทำงานออกเป็น 5 Tiers คือ Tiers ที่ 1 หน่วยงานด้านนโยบายคือ สอวช. และ สกสว. Tiers ที่ 2 คือ หน่วยงานให้ทุนวิจัย อาทิ วช. สวรส. NIA Tiers ที่ 3 คือหน่วยงานที่ทำวิจัยเอง Tiers ที่ 4 หน่วยงานที่ทำวิจัย เรื่องการตรวจสอบ และ มาตรฐาน อาทิ มาตรวิทยา Tiers ที่ 5 หน่วยงานทางด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงมีหน่วยงานในระบบ ววน.หลายหน่วยงาน นอกจากนี้ยังหน่วยบริหารและจัดการทุนใหม่ในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ มีมติให้จัดตั้งขึ้น ประกอบด้วย 1) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) 2) หน่วยบริหารและจัดการทุน ด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และ 3) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัย และนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) อีก 3 หน่วยงาน เพื่อให้ดำเนินงานล้อตามยุทธศาสตร์อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ที่แบ่งเป็น 4 แพลตฟอร์ม 16 โปรแกรม

ขณะที่ ศ.ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง รอง ผอ.สกสว. ด้านการบริหารงบประมาณ บรรยายเรื่อง "งบประมาณ ววน. กลุ่ม Fundamental Fund" ด้าน Basic Function และกำหนดการสำคัญ ตอนหนึ่งว่า หน่วยงานในระบบ ววน. จะต้องแบ่งคำของบประมาณออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ถ้าเป็นงบบริหารจัดการด้านงานวิจัย รายจ่ายพื้นฐานมาตรา 17 (1) ขอที่สำนักงบประมาณ ส่วนที่2 งบประมาณด้านการวิจัย Basic Function Fund ตามข้อกฎหมายมาตรา 17 (2) ขอที่ สกสว. ทั้งในแบบทุนสนับสนุนงานพื้นฐาน ที่ประกอบด้วย 1.1) Basic Research Fund & Institutional Capacity Building Fund ที่สนับสนุนทุนแก่โครงการงานวิจัยพื้นฐาน และสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยและการบริหาร งานวิจัยของสถาบันความรู้และสถาบันวิจัยในหน่วยงาน สัดส่วน 15 % 1.2) Basic Function Fund เป็นการจัดสรรงบประมาณตรงไปยังหน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะด้าน ววน. และดำเนินการตามพันธกิจของตนเอง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. ระดับชาติ และโครงการริเริ่มสำคัญของประเทศ สัดส่วน 35 % และ 2. Strategic Fund ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ เป็นลักษณะ Competitive Funding ที่สนับสนุนทุนแก่หน่วยงานระดับปฏิบัติ โดยต้องเป็นการทำวิจัย ที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน. ของประเทศ สัดส่วน 50 %

ในส่วนของการดำเนินการผ่านกลไกการทำงานร่วมกับหน่วยงานในกลุ่ม Basic Function รอง ผอ.สกสว. ด้านการบริหาร งบประมาณ อธิบายว่า ระบบการจัดสรรงบประมาณและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่มุ่งสนับสนุน การบริหารจัดการงานวิจัย ตั้งแต่ ต้นน้ำ – กลางน้ำ- ปลายน้ำ โดยมีการติดตามและประเมินผล และ การทำงานผ่านแพลตฟอร์ม 4 แพลตฟอร์ม

1) การ Empowerment

2) ระบบ IT (EPMS/TIRAs)

3) Training Course

4) ระบบเครือข่าย หรือ Ecosystem ผ่านการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

จากนั้น รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล รอง ผอ.สกสว. ด้านนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ บรรยายเรื่อง "งบประมาณ ววน. กลุ่ม Strategic Fund และกำหนดการสำคัญ" โดยยกตัวอย่างแผนงานเชิงกลยุทธ์ด้าน ววน. 4 แพลตฟอร์ม 16 โปรแกรมตอนหนึ่งว่า เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และ ยุทธศาสตร์ของกระทรวง อว. ภายใต้การดำเนินการของ 7 พีเอ็มยู ประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(NIA) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) นอกจากนี้ยังมี 3 หน่วยบริหารและจัดการทุนน้องใหม่ในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ดำเนินการภายใต้ สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประกอบด้วย พีเอ็มยู "A" มาจาก Area - based หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) พีเอ็มยู "B" มาจาก Brain Power, manpower หรือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ พีเอ็มยู "C" มาจาก Competitiveness หรือ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

ตาม OKRS ที่กำหนดไว้ เช่น แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ (ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญภายในปี พ.ศ. 2570)

1. พัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง

2. นักวิจัยและพัฒนาเพิ่มเป็น 30 คนต่อประชากร 10,000 คน

3. สัดส่วนแรงงานที่ได้รับการยกระดับทักษะขั้นสูงที่จำเป็นต่องานในปัจจุบันและอนาคตร้อยละ 20 ของแรงงาน ในภาคอุตสาหกรรมและการบริการทั้งหมด

4. สัดส่วนบัณฑิต/ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

5. สัดส่วนบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม (STEM degrees) เพิ่มเป็นร้อยละ 60

แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม (ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญภายในปี พ.ศ. 2570) ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่ดี

1. ความเสียหายจากน้ำท่วมและน้ำแล้งลดลงร้อยละ 50

2. คะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI) เพิ่มสูงขึ้นและติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน

3. มีการแก้ปัญหาภาระโรคที่เป็นปัญหา 1 ใน 3 ของประเทศ

4. มูลค่าเพิ่มภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น

5. ประชากรอายุเกิน 60 จำนวนร้อยละ 80 มีสุขภาพดีและพึ่งพาตัวเองได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ