“โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู” ของจริง!!! รัฐบาลเมียนมาประทับตรารับรองการซื้อขายไฟ อย่างเป็นทางการแล้ว

อังคาร ๑๙ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๐๙:๕๑
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู ประเทศสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา (พม่า) ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 220 เมกะวัตต์ (MW) เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ไปแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา โดยได้รับประทับตราลงนามรับรองการซื้อขายไฟฟ้า จากกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานเมียนมา (Ministry of Electricity and Energy : MOEE) อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ทั้งนี้ บริษัทร่วมทุนทั้งสาม SCN-ECF-METAและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการมินบูมีความปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งที่ก่อนหน้านี้ได้รับเกียรติจาก นาง อองซาน ซูจี ที่ปรึกษาประเทศสาธารณรัฐสหภาพเมียนมา เป็นประธานในพิธีเปิดโรงไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ

นายออง ทีฮา ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานเพื่อโลกสีเขียว (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ("GEPT") และกรรมการบริหาร บริษัท เมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า"โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ไปแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาซึ่งโครงการจะรับรู้รายได้ตั้งแต่วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในอัตราค่าไฟที่ 0.1275 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงโครงการโรงไฟฟ้ามินบูเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งแรกของเมียนมาที่ได้รับการออกแบบและดำเนินการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานระดับสากล โดยเป็นโครงการที่ริเริ่มและลงทุนโดยกลุ่มนักลงทุนคนไทย ที่เข้ามาศึกษาถึงความเป็นไปได้และโอกาสในการเข้ามีส่วนร่วมพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญให้แก่ประเทศเมียนมา ซึ่งยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าอีกมาก จึงเป็นที่มาของการได้เข้าก่อสร้างดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู ที่ได้รับสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ Electric Power Generation Enterprise ("EPGE") ภายใต้การดูแลของกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน Ministry of Electricity and Energy ("MOEE") เป็นระยะเวลา 30 ปี โครงการโรงไฟฟ้ามินบูมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 220 เมกะวัตต์ (MW) แบ่งออกเป็น 4 เฟส ซึ่ง 3 เฟสแรกจะมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งเฟสละ 50 MW และ 70 MW สำหรับเฟสสุดท้าย

ปัจจุบันโครงการโรงไฟฟ้ามินบูมีผู้ร่วมลงทุนหลักคือ บมจ. สแกน อินเตอร์ (SCN) ถือหุ้น 30%, บมจ.เมตะ คอร์ปอเรชั่น (META) ถือหุ้น 12%, บมจ. อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) (ECF) ถือหุ้น 20% และ Noble Planet Pte. Ltd. (NP) ถือหุ้น 38% ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติรายแรกที่ได้รับอนุมัติให้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และทำโครงการนี้จนประสบความสำเร็จ

นายออง ทีฮา กล่าวเสริมอีกว่า "ขอขอบคุณคณะกรรมการและทีมงานของบริษัททุกคน รวมถึงผู้ร่วมลงทุนหลักของโครงการนั่นคือ SCN, ECF, และ META ที่มีศักยภาพแข็งแกร่งผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาโครงการและฝ่าฟันอุปสรรคอีกมากมายจนทำให้โครงการโรงไฟฟ้ามินบูเฟส 1 ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายแรกไปได้ด้วยดี อีกทั้งโครงการยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางโครงการยังได้รับการสนับสนุนจากทีมที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ และผู้สนับสนุนทางการเงินอย่างธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export–Import Bank of Thailand) และที่สำคัญที่สุดต้องขอขอบคุณรัฐบาลเมียนมา กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานที่ไว้ใจ สนับสนุน และให้โอกาสในการมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนจำนวนมาก ทั้งนี้เราจะมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโครงการต่อไปให้สำเร็จทั้ง 4 เฟสโดยเร็วที่สุด และไม่หยุดที่จะมองหาโอกาสในการพัฒนาโครงการอื่นๆ ต่อไปในอนาคต"

ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN ผู้นำด้านธุรกิจพลังงาน พลังงานหมุนเวียน และยานยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือก กล่าวว่า "รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มินบู จนประสบความสำเร็จและได้เริ่ม COD อย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ โดยเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้ามาตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่และถือเป็นความภาคภูมิใจของทั้งชาวเมียนมาและพันธมิตรทางธุรกิจทุกคน ซึ่งเป็นโครงการที่บุกเบิกการพัฒนาธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในเมียนมา และพร้อมที่จะนำประเทศเมียนมาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้บริษัทฯมีสัดส่วนการลงทุนในโครงการร้อยละ 30 โดยมีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้นกว่า 292 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 10,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯจะทยอยรับรู้รายได้ส่วนแบ่งตามสัดส่วนการถือหุ้นในไตรมาส 4/2562 นอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายตัวทางด้านธุรกิจพลังงานในประเทศจึงได้เข้าไปศึกษาและลงทุนในธุรกิจโซลาร์รูฟท็อป (สำหรับสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชนหรือ Private PPA) ให้กับผู้ประกอบการรายย่อยโดยมีส่วนลดค่าไฟฟ้าเมื่อเทียบกับค่าไฟฐานโดยลงทุนในบริษัท สแกน แอดวานซ์ เพาเวอร์ จำกัด (SAP) คาดว่าปลายปี 2562 นี้จะมีสัญญา Private PPA รวมกว่า 10 MW ซึ่งตั้งเป้าถึงปี 2565 บริษัทจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าในสัญญา Private PPA รวมทั้งสิ้นกว่า 110 MW คิดเป็นมูลค่าลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาทซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจะเป็นผู้ประกอบการที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันอาทิ ภาคธุรกิจโรงแรม, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล และโรงเรียน เป็นต้น

นายอารักษ์ สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อีสต์โคสท์เฟอร์นิเทค จำกัด (มหาชน) ECF กล่าวว่า บริษัทได้เข้าลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 220 เมกะวัตต์ ที่เมืองมินบู ประเทศเมียนมา โดย ECF ถือหุ้นในสัดส่วน 20% ทั้งนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ทาง EPGE จึงได้ออกหนังสือแจ้งเริ่มวันที่จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date: COD) สำหรับ Phase 1 ซึ่งมีขนาดกำลังการผลิต 50 เมกะวัตต์ พร้อมเริ่มรับรู้รายได้และเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของโครงการโรงไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2562 โดยบริษัทจะทยอยรับรู้กำไรส่วนแบ่งตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างครบทั้ง 4 เฟสแล้ว คาดว่า จะสามารถรับรู้กำไรส่วนแบ่งของโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของรายได้ค่าไฟฟ้า หรือคิดเป็นมูลค่กว่า 60 – 70 ล้านบาทต่อปี สำหรับเฟสที่ 2 3 และ 4 อยู่ระหว่างการปรับแผนงานเพื่อหาทางเร่งการก่อสร้างให้ครบโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้มีการรับรู้รายได้ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเฟส 2 ในช่วงต้นปี 2563

นายศุภศิษฎ์ โภคินจารุรัศมิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือMETA ผู้นำทางด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และผู้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน กล่าวว่า "ในนามของผู้รับเหมาและผู้พัฒนาหลักโครงการโรงไฟฟ้ามินบูนั้น รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่โครงการมินบูได้ดำเนินการจำหน่ายไฟอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ทำให้บริษัททยอยรับรู้รายได้จากการจำหน่ายไฟจากวันดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น 12% โดยโครงการโรงไฟฟ้ามินบูสามารถสร้างรายได้เป็นมูลค่าประมาณ 84.4 ล้านบาท ในไตรมาส 4 ปี2562 และคิดเป็นมูลค่าประมาณ 418.8 ล้านบาท สำหรับ ปี 2563" นายศุภศิษฎ์ โภคินจารุรัศมิ์ ยังกล่าวเสริมว่า "เราได้สร้างประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ให้กับประชาชนชาวเมียนมาและจะไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องสำหรับเฟสถัดๆ ไป นอกจากนี้ยังได้เล็งเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจด้านงานก่อสร้างที่เป็นรายได้หลักของบริษัทให้เติบโตยิ่งขึ้น ทั้งในเมียนมาเองและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค อย่างประเทศฟิลิบปินส์และญี่ปุ่น เป็นต้น สุดท้ายนี้สิ่งที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งนั่นคือปัจจุบันโรงงานไฟฟ้ามินบูได้ผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพได้ดีกว่าที่คำนวณไว้ หากแสงแดดและประสิทธิภาพของโรงงานดีไปเรื่อยๆ จะทำให้บริษัทสามารถสร้างรายได้มากขึ้นกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ แต่ไม่เกิน 105% ของที่ผลิตได้ ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ Electric Power Generation Enterprise ("EPGE")".

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย