มูลนิธิซิตี้ ร่วมมูลนิธิศุภนิมิตฯ หนุนสร้างงานเยาวชน เปิดโมเดล “อาชีพเยาวชน ปี 3” เนรมิต 15 ไอเดียธุรกิจต้นแบบสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว

จันทร์ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๐:๒๙
มูลนิธิซิตี้ จับมือมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เดินหน้าเตรียมความพร้อมเยาวชนไทยกลุ่มเปราะบาง เพื่อก้าวเขาสู่โลกแห่งการทำงานจริง ทั้งทักษะพื้นฐานทางการเงิน การบริหารจัดการ ทักษะชีวิต การบริหารอารมณ์ และทักษะด้านวิชาชีพเฉพาะทาง ผ่าน "โครงการเสริมศักยภาพเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงาน ปีที่ 3"พร้อมจัดงาน "ลานกิจกรรมอาชีพเยาวชน" เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานจากไอเดียธุรกิจ SMEs ฝีมือเยาวชนกว่า 15 ธุรกิจ อาทิ ธุรกิจของว่างไทยโบราณแบบดิลิเวอรี่ ธุรกิจคอลเลกชันเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับกลุ่มครอบครัว ธุรกิจแต่งหน้าแฟนซี ฯลฯ เพื่อให้เยาวชนทุกคนได้รู้จักมองหาโอกาสด้านอาชีพในการสร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ณ ศูนย์ฝึกอบรมมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ถ.ประชาอุทิศ กรุงเทพฯ

นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย และตัวแทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่า มูลนิธิซิตี้ ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จัดงาน "ลานกิจกรรมอาชีพเยาวชน ปี 3" เปิดพื้นที่ให้เยาวชนกลุ่มเปราะบาง อายุระหว่าง 16 – 25 ปี ที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะอาชีพและหลักสูตร SMEs จาก "โครงการเสริมศักยภาพเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงาน ปีที่ 3" โดยในโครงการดังกล่าว ช่วยพัฒนาทักษะเยาวชนในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ทั้งในภาคการผลิตและบริการ กว่า 15 โมเดลธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจของว่างไทยโบราณแบบดิลิเวอรี่ ธุรกิจคอลเลกชันเสื้อผ้าแฟชั่นสำหรับกลุ่มครอบครัว ธุรกิจแต่งหน้าแฟนซี ธุรกิจเสื้อผ้าและฮิญาบสำหรับสาวมุสลิมสมัยใหม่ ธุรกิจร้านอาหารออนไลน์แนวไทยฟิวชั่น ธุรกิจไอทีซัพพอร์ตและผลิตสื่อมัลติมีเดียครบวงจร ธุรกิจคอลเลกชันแฟชั่นจากผ้าไทย ธุรกิจร้านกาแฟสไตล์มินิมอล ธุรกิจร้านตัดแต่งทรงผมชายปิดจุดบอดรอคิวนาน กระเป๋าผ้าแฟชั่นแบบดีไอวาย ฯลฯ

นางสาววันวิสาข์ กล่าวเพิ่มว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญที่เยาวชนจำเป็นต้องใช้ในโลกแห่งการทำงานจริงในอนาคต เนื่องจากช่วงวัยรุ่น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และสังคมอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องวางรากฐานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นทักษะพื้นฐานอย่างความรู้ด้านการเงิน หรือการบริหารจัดการประจำวัน ทักษะชีวิต อย่างการทำงานร่วมกัน การคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการสื่อสาร ตลอดจนทักษะด้านอาชีพ เช่นการฝึกปฏิบัติทักษะด้านวิชาชีพ และการพัฒนาต่อยอดแนวคิดการประกอบอาชีพให้เท่าทันยุคสมัย เพื่อให้เยาวชนทุกคนได้มีพื้นฐาน รู้คิด รู้จักการวางแผน และรู้จักการมองหาโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่ม ซึ่งนำไปสู่การทำมาหากิน สามารถพึ่งพาตนเอง และก้าวต่อไปสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคตได้

"โครงการเสริมศักยภาพเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยทำงาน ปีที่ 3 มีเยาวชนเข้าร่วมฝึกอบรมทักษะกว่า 300 คน หรือเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางมูลนิธิซิตี้รู้สึกยินดี ที่เห็นเยาวชนไทยตื่นตัว มีความใฝ่ฝันอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ และหาลู่ทางในการสร้างรายได้เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น"

ดร.สราวุธ ราชศรีเมือง ผู้อำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าว จัดขึ้นต่อเนื่องนับเป็นปีที่ 3 โดยเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับการฝึกอบรมเพื่อวางพื้นฐานด้านทักษะที่จำเป็นและทักษะชีวิต ผ่านกระบวนการต่างๆ ภายใต้หลักสูตร 'Youth Ready Work' ขององค์กรศุภนิมิตสากล ที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้นำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย โครงการดังกล่าวนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เกิดผลลัพธ์กับเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นเยาวชนที่ไม่ได้รับการศึกษาต่อในระบบ ซึ่งหลังจากผ่านการเข้าร่วมโครงการฯ จะช่วยทำให้เยาวชนมีต้นทุนชีวิต มีทัศนคติและความคิดเชิงบวก มีความมั่นใจในอาชีพและอนาคตของตน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่จะเพิ่มโอกาสให้ได้รับการจ้างงานต่อไปในอนาคต

โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีของการดำเนินโครงการฯ มีเยาวชนผ่านการอบรมหลักสูตร 'Youth Ready Work' แล้วกว่า 500 คน ได้รับการฝึกอบรมอาชีพจากสถาบันวิชาชีพชั้นนำที่ร่วมสนับสนุนโครงการฯ จำนวน 314 คน ในกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ กลุ่มช่างบริการ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเสริมสวย กลุ่มบริการสุขภาพ เป็นต้น ได้รับการจ้างงาน มีอาชีพ และรายได้สามารถเลี้ยงดูตนเอง จำนวน 111 คน ได้พัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 115 คน และศึกษาต่อด้านอาชีพในระดับที่สูงขึ้น จำนวน 88 คน ดร.สราวุธกล่าวสรุป

ด้าน น้องมิ้น – นางสาวธนธรณ์ เอียการนา เยาวชนเจ้าของโมเดลร้าน "เทียนหยด" ธุรกิจของว่างไทยโบราณดิลิเวอรี่ รางวัลชนะเลิศการประกวดแผนธุรกิจ SME ปีที่3 กล่าวว่า ตนได้แรงบันดาลใจมาจากความต้องการอนุรักษ์เอกลักษณ์แบบไทยโบราณให้ยังอยู่ในสังคม และข้อจำกัดในการหาบริโภคขนมไทยโบราณ ซึ่งมักต้องเดินทางไปร้านอาหารไทยที่ค่อนข้างหรูหรา บวกกับความสนใจของตนเองที่ชื่นชอบการทำอาหาร จึงเป็นที่มาของโมเดลธุรกิจที่มีชื่อว่า "เทียนหยด" ซึ่งเป็นไอเดียธุรกิจของว่างไทยโบราณแบบดิลิเวอรี่ โดยมีเมนูนำร่องได้แก่ "ช่อม่วง" ขนมไทยโบราณตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งเป็นขนมที่ต้องใช้ความประณีตในการจับจีบตัวแป้งหลังการห่อหุ้มไส้แล้ว ให้มีลักษณะเป็นรูปดอกไม้ ทำให้มีลักษณะขนมที่ดูนุ่มนวล อ่อนหวาน แฝงความมีศิลปะของขนมไทยชาววัง

ตนกำลังเริ่มลองทำตลาด โดยอาศัยคุณพ่อที่ประกอบอาชีพเป็นแมสเซนเจอร์อาหารดิลิเวอรี่อยู่แล้ว โดยทุกครั้งที่คุณพ่อนำอาหารไปส่งให้กับลูกค้า ก็จะติดขนมช่อม่วงที่ทำเองไปให้กับลูกค้าได้ลองรับประทาน ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณในการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมถึงยังได้นำเสนอสินค้าได้ตรงกับกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมการสั่งอาหารออนไลน์อยู่เป็นประจำอีกด้วย ปัจจุบัน ตนกำลังมองหาและพัฒนาสูตรเมนูของว่างไทยโบราณอื่นๆ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ามากขึ้น โดยจะนำเงินรางวัลที่ตนได้รับไปเป็นทุนสำหรับอุปกรณ์ประกอบธุรกิจ เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และให้รองรับออเดอร์ในปริมาณมากได้ ทั้งนี้ ตนรู้สึกดีใจที่มูลนิธิซิตี้และมูลนิธิศุภนิมิตฯ จัดโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งช่วยให้ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะ ได้เร็วกว่าคนในวัยเดียวกัน และเปิดแนวคิดการทำธุรกิจที่เหมาะสม ก่อนก้าวเข้าสู่โลกการทำงานจริง นางสาวธนธรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ