ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ (CCE) เปิดโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม

จันทร์ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๕:๒๘
บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 มีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 8.63 เมกะวัตต์ ซึ่งรองรับการกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายได้ถึง 400 ตันต่อวัน หรือประมาณ 1 แสนตันต่อปี เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ (CCE) จัดพิธีเปิดโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม อย่างเป็นทางการ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 บนทำเลยุทธศาสตร์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

พิธีเปิดโรงไฟฟ้าครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในพิธี โดยมีแขกผู้มีเกียรติมากมายร่วมแสดงความยินดี ได้แก่ มร. ฌัก ลาปูฌ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย และนายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี

บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (CCE) เป็นการร่วมทุนระหว่างสามบริษัทชั้นนำ ที่ผสมผสานความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านพลังงาน โดยนำเสนอพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่

o บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) (WHAUP) ในเครือดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เป็นผู้ให้บริการด้านการบริหารจัดการแบบครบวงจรครอบคลุมด้านโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม สาธารณูปโภคและไฟฟ้า รวมทั้งดิจิทัลแพลตฟอร์มชั้นนำของประเทศไทย นอกจากนี้ WHAUP ยังเป็นผู้ให้บริการด้าน การผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอุตสาหกรรม การบริหารจัดการน้ำเสีย ตลอดจนผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานหมุนเวียน

o บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือของบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายพลังงานรายใหญ่ในประเทศไทย กลุ่มบริษัทโกลว์มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 3,084 เมกะวัตต์ (โดยเป็นสัดส่วนของโกลว์ 2,268 เมกะวัตต์) และไอน้ำ 1,116 ตันต่อชั่วโมง

o สุเอซ กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการทรัพยากรด้วยระบบอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน มีพนักงานกว่า 90,000 คนในห้าทวีปทั่วโลก ดำเนินธุรกิจครอบคลุมการจัดหาโซลูชั่นด้านการจัดการน้ำและขยะ ช่วยอำนวยความสะดวกแก่เมืองและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมให้เข้มแข็งขึ้นตามมาตรฐานสากลด้านอุตสาหกรรม

โดยในพิธีเปิดโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ ครั้งนี้ มีตัวแทนจากบริษัทร่วมทุนทั้งสามราย ได้แก่ นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม ดับบลิวเอชเอกรุ๊ป นายวิเศษ จูงวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) นายปจงวิช พงษ์ศิวาภัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทโกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) และมร. อองตัวร์ ก๊อร์จ ประธานบริหาร สุเอซ Recycling & Recovery เอเชีย

ด้วยเงินลงทุนราว 1,800 ล้านบาท CCE เป็นโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษของยุโรป ติดตั้งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ภายใต้แนวคิดเพื่อความยั่งยืน การมีเสถียรภาพ และการรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถกำจัดขยะอุตสาหกรรมให้เป็นเชื้อเพลิงได้กว่า 400 ตันต่อวัน หรือราว 100,000 ตันต่อปี โรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมแห่งนี้มีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า 8.63 เมกะวัตต์ โดยจะจำหน่ายเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 6.90 เมกะวัตต์ ภายใต้ข้อตกลงซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เป็นระยะเวลา 20 ปี

CCE ได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาขยะอุตสาหกรรมกับบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด (WMS) บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการจัดเก็บ บำบัด และกำจัดขยะของเสียในไทย เพื่อดำเนินการจัดหาขยะอุตสาหกรรม 100,000 ตันต่อปี จากนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในจังหวัดชลบุรีและใกล้เคียง โดยโรงไฟฟ้าจะนำขยะอุตสาหกรรมเข้าสู่ห้องเผาไหม้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลังจากที่ได้มีการวางแผนและก่อสร้างโรงไฟฟ้า ตลอดจนทดสอบการทำงานตามข้อกำหนดของการเชื่อมต่อเข้าระบบการไฟฟ้าภูมิภาคตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โรงไฟฟ้า CCE ได้เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อตกลง PPA ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562

"โรงไฟฟ้า CCE ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเขตอีอีซี จะสร้างประโยชน์ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมของไทย สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลของประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการจัดการขยะอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน แทนการฝังกลบแบบเดิม" นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการ บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด กล่าว "การจับมือกับหุ้นส่วนและพันธมิตรของ CCE แสดงให้เห็นว่าเรามีศักยภาพในการผลิตพลังงานสะอาดปลอดจากขยะอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมในการผนึกกำลังร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ให้คนรุ่นหลังสืบไป" นางสาวจรีพร กล่าวเสริม

ที่ตั้งของโรงไฟฟ้า CCE อยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ชลบุรี 1 มีพื้นที่ 3,482 ไร่ (1,393 เอเคอร์ หรือ 557 เฮกตาร์) ซึ่งเป็นทำเลยุทธศาสตร์ ห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 19 กิโลเมตร และอำเภอศรีราชา 22 กิโลเมตร ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรวม 115 ราย ด้วยสัญญาจำนวน 160 ฉบับ คิดเป็นเงินลงทุนมูลค่ากว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นหนึ่งในพื้นที่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) พร้อมรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล

เกี่ยวกับดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน)

บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP ในเครือของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ประกอบธุรกิจหลักคือธุรกิจสาธารณูปโภคและไฟฟ้า เป็นผู้ให้บริการจำหน่ายน้ำเพื่ออุตสาหกรรมของไทย ได้แก่ การจำหน่ายน้ำดิบ น้ำประปา น้ำปราศจากแร่ธาตุ น้ำอุตสาหกรรม และบริหารจัดการน้ำเสียให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป รวมถึงผู้ใช้บริการสาธารณูปโภคนอกนิคมอุตสาหกรรม มีกำลังการผลิตน้ำรวม 105 ล้านลูกบาศก์เมตร ในด้านธุรกิจพลังงาน WHAUP ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และโรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทของโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วรวมทั้งสิ้น 554 เมกะวัตต์

ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป เป็นผู้นำธุรกิจแบบครบวงจร ด้านธุรกิจโลจิสติกส์ นิคมอุตสาหกรรม ระบบสาธารณูปโภคและพลังงาน และดิจิทัล แพลตฟอร์ม สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.wha-up.com และดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ได้ที่เว็บไซต์ www.wha-group.com

เกี่ยวกับโกลว์ พลังงาน

บริษัท โกลว์ พลังงาน เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มโกลว์ ซึ่งประกอบธุรกิจด้านพลังงานรายใหญ่แห่งหนึ่งในประเทศ โดยมีกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 3,084 เมกะวัตต์ (ส่วนของโกลว์เท่ากับ 2,268 เมกะวัตต์) และมีกำลังผลิตไอน้ำทั้งสิ้น 1,116 ตันต่อชั่วโมง กลุ่มบริษัทโกลว์ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) รวมทั้งผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมให้แก่บริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดและนิคมอุตสาหกรรมใกล้เคียง โดยมีบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โกลว์ พลังงาน ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มโกลว์ ได้ที่เว็บไซต์ www.glow.co.th สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท GPSC โปรดดูเว็บไซต์ www.gpscgroup.com

เกี่ยวกับสุเอซ กรุ๊ป

สุเอซ กรุ๊ป มีพนักงานประมาณ 90,000 คนในห้าทวีป และเป็นผู้นำระดับโลกด้านการจัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาดและยั่งยืน บริษัทเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นการจัดการน้ำและของเสียที่ช่วยให้เมืองและอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถปรับรูปแบบการจัดการทรัพยากรของตน พร้อมยกระดับประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจที่ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานการกำกับดูแลระดับสากล พร้อมดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการเอาชนะอุปสรรคความท้าทายด้านคุณภาพและความขาดแคลนทรัพยากร บริษัทจึงมุ่งมั่นปฏิวัติการใช้ทรัพยากร ด้วยความสามารถในการดึงศักยภาพอย่างเต็มรูปแบบในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการตอบโจทย์ในเชิงนวัตกรรม ทางกลุ่มบริษัทสามารถนำขยะกลับมาใช้ใหม่ได้ถึงปีละ 45 ล้านตัน ผลิตวัตถุดิบทดแทนได้ถึง 4.4 ล้านตัน และผลิตพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ได้ถึง 7.7 TWh นอกจากนี้ บริษัทยังเป็นผู้จัดหาทรัพยากรน้ำ จากการให้บริการบำบัดน้ำเสียแก่ประชาชนราว 66 ล้านคน และนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 1.1 พันล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ สุเอส กรุ๊ป มีรายได้รวม 1.73 หมื่นล้านยูโรในปี 2561

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุเอซ กรุ๊ป ได้ที่ https://www.suez.com/en หรือ Twitter, LinkedIn, YouTube, Instagram

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ