ภาพรวมเศรษฐกิจโลก และกลยุทธ์การลงทุนปี 2020 ในยุค New Normal

อังคาร ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๓:๓๐
คุณศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านการลงทุนและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Chief Investment Office) กล่าวถึง "ภาพรวมเศรษฐกิจโลก พร้อมกลยุทธ์การลงทุนปี 2020 ในยุค New Normal" ดังนี้

ปัจจุบันเศรษฐกิจโลก ยังคงอยู่ในช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจ (Late Cycle) โดยผลของสงครามทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าหลักๆ โดยเฉพาะจีน ได้ทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยการที่เศรษฐกิจโลกเติบโตอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างนานมากขึ้น และอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ต่ำอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความปกติในรูปแบบใหม่ (New Normal) ขณะที่เรายังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจนของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ในระยะ 1 ปีข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบัน ธนาคารกลางประเทศต่าง ๆ ได้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และมีแนวโน้มที่จะยังคงผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องในปี 2020 ทำให้อัตราดอกเบี้ยยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตลอดทั้งปีหน้า

แต่อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกมาก มีน้อยลงเช่นกัน เพราะเริ่มมีข้อจำกัดในการส่งผ่านนโยบายการเงินที่ต้องระมัดระวังเรื่องวินัยทางการเงิน เห็นได้จากการที่หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภาคสถาบันการเงินที่เป็นตัวกลางก็ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่นกัน และธนาคารกลางหลายแห่งยังต้องการที่จะเก็บกระสุนอัตราดอกเบี้ยที่มีจำกัดไว้เพราะปัจจุบันดอกเบี้ยก็อยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์อยู่แล้ว เพื่อรองรับความเสี่ยงหากเกิดในอนาคต นอกจากนี้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ก็มีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการคลังแบบขาดดุลควบคู่กับนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนโยบายการคลังดังกล่าวก็มีข้อจำกัดจากการมีหนี้สาธารณะสะสมซึ่งอยู่ในระดับสูงเช่นกัน

ทั้งนี้ มองว่า ผลจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งจากสหรัฐฯ และจีนได้ช่วยเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ ประกอบกับความตึงเครียดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่เริ่มผ่อนคลายลง โดยคาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์ น่าจะมีท่าทีที่อ่อนลงในประเด็นสงครามการค้าในช่วงปีหน้า ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐฯ โดยปัจจัยดังกล่าวจะส่งสัญญาณเชิงบวกให้กับตลาดการเงินการลงทุนมากขึ้น

SCB CIO Office มีมุมมองว่า แม้เศรษฐกิจภาพใหญ่ยังดูไม่สดใส แต่ตลาดสินทรัพย์เสี่ยงได้ตอบรับปัจจัยนี้เข้าไปแล้ว การลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงเป็นเรื่องการมองอนาคต ดังนั้นหากเริ่มจับสัญญาณการกลับตัวที่จะบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีชี้วัดภาคการผลิต (PMI) ปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory Stock) และการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน (EPS Growth) ซึ่งหาก PMI เริ่มปรับเพิ่มมากขึ้น ปริมาณสินค้าคงคลังปรับลดลง และกำไรของบจ.เริ่มมีเสถียรภาพหรือไม่ปรับลดลง ถือเป็นสัญญาณ Bottom Out ที่ควรจะเริ่มเข้าลงทุนใน early stage นี้

กลยุทธ์การลงทุนในปี 2020 คือหาจังหวะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้น โดยเลือกลงทุนในตลาดหุ้น หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ราคามีการปรับลดลงมามาก จนถือว่าต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน หรืออัตราผลตอบแทนในช่วงที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนของตลาด (Laggard) เพื่อให้ได้รับประโยชน์เมื่อเงินลงทุนกลับมาไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง ขณะที่ หลีกเลี่ยงการเข้าลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ต่ำกว่าที่ลงทุนได้ (High Yield) และเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน ที่มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับที่ลงทุนได้ (Investment Grade) ในช่วงปีหน้าที่เศรษฐกิจยังขยายตัวช้าอยู่

ตลาดหุ้นที่น่าสนใจลงทุน ได้แก่

- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในกลุ่มธุรกิจสุขภาพ (Health care) ซึ่ง Valuation อยู่ในระดับต่ำ Earning มีแนวโน้มที่ออกมาดี และLaggard กว่า MSCI World โดยควรรอเข้าลงทุน หลังมีความชัดเจนของนโยบายเกี่ยวกับ Health care ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

- ตลาดหุ้น Asia Emerging Market ในภาพรวม เพราะการส่งออกควรจะส่งสัญญาณ bottom out หลัง trade war มีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น

- ตลาดหุ้นจีน ซึ่งจะได้รับแรงหนุนจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาและในอนาคต

- ตลาดหุ้นฮ่องกง (HSI Index) ซึ่ง Valuation มีการปรับลดลงมามากหลังเกิดเหตุการณ์ประท้วงอย่างรุนแรงภายในประเทศ โดยเรื่องเฉพาะกลุ่มหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดีในระยะยาว เช่น property และ infrastructure บางตัว

สินทรัพย์ทางเลือก แนะนำให้เข้าลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา Yield ของ REITs ในไทยและต่างประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้น จากการที่ถูกเทขาย หลังนักลงทุนเริ่มเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น (Risk on) จากการคลายความกังวลต่อประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน คลายความกังวลต่อการเกิด Recession และจากการคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยจะไม่ถูกปรับลดลงอีกแล้วในปีนี้ ทำให้ Yield เกิดการปรับฐานขายทำกำไร จึงแนะนำให้รอและทยอยเข้าลงทุน เมื่อ Yield ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับประมาณ 5.4-6.0% จะเป็นผลตอบแทนที่น่าสนใจลงทุนระยะยาวได้

สินค้าโภคภัณฑ์ แนะนำลงทุนใน ตลาดน้ำมัน และหลีกเลี่ยงการลงทุนใน ตลาดทองคำ หลังความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนมีแนวโน้มผ่อนคลายลงในปีหน้า

โดยการจัดสัดส่วนสินทรัพย์ต่าง ๆ มีดังนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ