ครั้งแรก! สจล. ผนึก NICT ประเทศญี่ปุ่น จัดตั้ง “สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ” ณ สจล.ชุมพร หนุน “ระบบนำทาง GPS –GNSS” เพื่ออุตสาหกรรมการบิน การระบุตำแหน่งแม่นยำสูง พร้อมแจ้งเหตุผิดปกติก่อนใคร!

อังคาร ๒๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๙ ๑๕:๔๓
- สจล. ชี้ "พลาสมาบับเบิล-ความผิดปกติชั้นบรรยากาศ" หนักข้อ! เสี่ยงกระทบต่อการลดคุณภาพระบบGPS/GNSS

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ผนึก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่นเตรียมจัดสร้าง "สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ" แห่งแรกของไทย ณ สจล. วิทยาเขตชุมพรฯ รุกตรวจจับพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ พร้อมแจ้งเหตุถึงสถานีทั่วโลก-เครื่องรับสัญญาณ GNSS ก่อนใคร! ด้วยโลเคชั่นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรโลกอันดับหนึ่ง หนุนลดความเสียหายทั้งในชีวิต ทรัพย์สินและอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ เครื่องบินแลนด์ดิ้งผิดตำแหน่ง อากาศยานไร้คนขับเคลื่อนที่ผิดเส้นทาง ฯลฯ

โดยชุมพรเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกในการติดตั้งเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ เนื่องจากพื้นที่กว้างพร้อมอุปกรณ์ครบครัน มีที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก และมีเครื่องข่ายสถานีสังเกตการณ์สภาพอวกาศที่ลองติจูดเดียวกัน โดย สจล. มีแผนจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้าน GNSS และสภาพอวกาศในปี 2020

ทั้งนี้ สจล. และสถาบัน NICT ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมจัดงานแถลงข่าวเตรียมจัดตั้ง "สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ" ครั้งแรกของไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล. กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/kmitlofficial หรือเว็บไซต์ www.kmitl.ac.th

รศ.ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนรองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายบริหารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จากความแปรปรวนของสภาพอวกาศ เช่น พลาสมาบับเบิล และความผิดปกติอื่นๆ ภายในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ บริเวณเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก กำลังทวีความรุนแรงขึ้น สิ่งนี้ส่งผลโดยตรงในการลดประสิทธิภาพของเครื่องรับ GNSS บนเครื่องบิน ระบบนำทาง และอากาศยานไร้คนขับ นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดการสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเปนจำนวนมาก อาทิ ในกรณีทที่เครื่องบินลงจอด (Landing) ผิดตำแหน่ง อากาศยานไร้คนขับเคลื่อนที่ผิดเส้นทาง เป็นต้น

"โดยที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลก ต่างตระหนักถึงผลกระทบ พร้อมทั้งเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการติดตั้งสถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการมอนิเตอร์ การแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องโดยทันที และถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการเชื่อมโยงงานวิจัย สู่การใช้งานของบุคคลทั่วไป ซึ่งเป็นแผนการดำเนินงานในอนาคต ที่ สจล. และ NICT ประเทศญี่ปุ่น ตั้งใจให้เกิดขึ้นในอนาคต แต่ทั้งนี้ การติดตั้งสถานีเรดาห์ดังกล่าว จำเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลกให้ได้มากที่สุด"

ทั้งนี้ "ประเทศไทย" จึงกลายเป็นหมุดหมายสำคัญของการติดตั้ง "สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ" ในย่านความถี่สูงมาก เป็นครั้งแรก ณสจล. วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานระดับโลกอย่าง "สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่น" และหน่วยงานพันธมิตร เพื่อตรวจจับโครงสร้างโดยรายละเอียดของพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ พร้อมแจ้งเตือนไปยังสถานีต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเครื่องรับสัญญาณGNSS ที่ใช้งานในขณะนั้นได้ทราบล่วงหน้า ตลอดจนลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในชีวิต ทรัพย์สินจากความผิดพลาดในการระบุตำแหน่ง GPS และการสื่อสารดาวเทียม นอกจากนี้ ยังเป็นการศึกษาคุณลักษณะของพลาสมาบับเบิล เพื่อนำไปพัฒนาเป็น นวัตกรรมแจ้งเตือนภัยพิบัติแก่ผู้ใช้งานเช่น เครื่องบิน เรือรถยนต์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้การนำร่อง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้

ผศ.ดร.วัฒนชัย พงษ์นาครอง อธิการบดีกำกับวิทยาเขตชุมพรฯ กล่าวต่อว่า สถานีเรดาร์ฯ ดังกล่าวจะมีศักยภาพในการตรวจจับพลาสมาบับเบิลและสภาพอวกาศที่ผิดปกติ ตั้งแต่มหาสมุทรอินเดียด้านตะวันตก ไปจรดตอนใต้ของเวียดนามด้านตะวันออก ซึ่งโดยปกติแล้วพลาสมาบับเบิล จะเกิดขึ้นบริเวณเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลกและเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก ขณะเดียวกันจะขยายตัวสู่ละติดจูดที่สูงขึ้น ทั้งทางซีกโลกเหนือด้านบนและซีกโลกใต้ด้านล่าง เมื่อตรวจพบแล้ว สถานีเรดาห์สามารถแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้ GNSS ได้ทันที เนื่องจากเรดาห์จะถูกติดตั้งในพื้นที่กว่า 7 ไร่ของ สจล. วิทยาเขตชุมพรฯ ซึ่งเหมาะสมและมีตำแหน่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลกมากที่สุด โดยเฉพาะในเอเชีย

ดังนั้น ­จึงทำให้สถานีเรดาห์ฯแห่งนี้ เป็นสถานีที่สามารถมอนิเตอร์และแจ้งเตือนนานาประเทศก่อนใครจึงนับเป็นการบันทึกอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของไทย กับการเป็น "สถานีเรดาห์ตรวจจับสภาพอวกาศ" ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบภัยพิบัติทางอวกาศที่อาจจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต ที่เทคโนโลยีการขับขี่แบบอัตโนมัติด้วย GNSS จะกลายเป็นที่นิยม อย่างไรก็ดี ในอนาคตเมื่อดำเนินการติดตั้งสถานีเรดาห์ฯ เป็นที่เรียบร้อยภายในต้นปี 2563 ทีมวิจัยคาดจะมีผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางด้านอวกาศตีพิมพ์และเผยแพร่ออกมาสู่สาธารณชนอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในอนาคต ทีมวิจัยยังเตรียมตกแต่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านอวกาศมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก อีกทั้งมีการจัดอบรมให้ความรู้ การจัดประชุมวิชาการเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมแก่เยาวชน รวมถึงคณาจารย์ และนักวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ด้าน ดร.คะซุมะ สะทะอิระ ผู้อำนวยการใหญ่ สถาบันวิจัยแม่เหล็กไฟฟ้าประยุกต์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ (NICT) ประเทศญี่ปุ่นกล่าวเสริมว่า "พลาสมาบับเบิล" ถือเป็นความแปรปรวนชนิดหนึ่งในชั้นบรรยากาศ ที่ส่งผลกระทบให้สัญญาณดาวเทียมที่ต้องส่งผ่านพลาสมาบับเบิลถูกลดทอนคุณภาพ และในกรณีเลวร้ายที่สุด จะไม่สามารถใช้งาน GPS ได้เป็นเวลานาน ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้ไม่จำกัดเฉพาะในแถบเส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลกอย่าง "ประเทศไทย" เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงเขตละติจูดกลางอย่าง "ประเทศญี่ปุ่น" อีกด้วย โดยในสังคมสมัยใหม่ การนำทางด้วย GPS เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ขาดไม่ได้ ดังนั้น การติดตั้งเรดาห์ดังกล่าว จะทำให้สามารถตรวจจับพลาสมาบับเบิลได้เป็นประจำ ซึ่งส่งผลดีต่อความสำเร็จในการใช้ระบบนำร่องหรือนำทางด้วย GPS โดยไม่มีข้อผิดพลาด หรือลดความผิดพลาดน้อยที่สุด

NICT เป็นองค์กรระดับชาติแห่งเดียวในญี่ปุ่น ที่ทำการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT อย่างเต็มรูปแบบ งานวิจัยและพัฒนาของเรานั้น ครอบคลุมเทคโนโลยีในหลายด้าน อาทิ การตรวจจับระยะไกลโดยใช้สัญญาณวิทยุ (Remote Sensing)เครือข่ายการสื่อสารทั้งแบบมีสายและไร้สาย เทคโนโลยีการแปลคำพูดและความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศสภาพอวกาศ (Space Weather) ถือเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่เรามีความเชี่ยวชาญด้วยประสบการณ์กว่า 70 ปี ดร.คะซุมะสะกล่าวสรุป

ทั้งนี้ สจล. และสถาบัน NICT ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมจัดงานแถลงข่าวเตรียมจัดตั้ง "สถานีเรดาห์ตรวจสภาพอวกาศ" ครั้งแรกของไทย เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สำนักหอสมุดกลาง สจล. กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงาน และหน่วยงานพันธมิตรร่วมงานจำนวนมาก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักบริหารงานทั่วไปและประชาสัมพันธ์ สจล. โทรศัพท์ 02-329-8111 เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/kmitlofficial หรือเว็บไซต์www.kmitl.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version