โอกาสนี้ สศก. ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ ความรู้ และเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูลทางด้านการเกษตร การขนส่งสินค้าเกษตร และการพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data โดยข้อมูลทั้งหมดจะแสดงให้ถึงความเคลื่อนไหวของทุกสถานการณ์แบบ Real time ทั้งราคา ปริมาณสินค้าเกษตร และสภาพอากาศ ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร ทำให้วางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพ ขณะที่ ภาครัฐ ก็จะสามารถกำหนดนโยบาย เพื่อรักษาสมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ในตลาดสินค้าเกษตรได้อย่างเหมาะสม สามารถเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และแจ้งเตือนล่วงหน้าได้ทันทีหากเกิดความผิดปกติของราคาและปริมาณสินค้าเกษตร ส่วนภาคเอกชน ก็จะสามารถวางแผนการจัดการทางด้านการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯ โดย สศก. ได้ดำเนินการขับเคลื่อน Big Data ตามโครงการพัฒนาฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ และเร็วๆนี้ จะเตรียมลงนาม MOU พร้อมกัน 10 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลด้านการเกษตรแห่งชาติ ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง และคาดว่าระยะต่อไปจะขยายความร่วมมือไปยังภาคเอกชนในอนาคต ทั้งนี้ ฝ่ายจีน ได้นำเสนอถึงแนวนโยบายของรัฐบาลจีน ในการพัฒนา Big Data ด้านการเกษตร การรวบรวมข้อมูลแต่ละประเภท และการใช้แอพลิเคชั่นในการรายงาน พยากรณ์ และเผยแพร่ข้อมูล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยสามารถนำมาปรับเป็นแนวทางในการพัฒนา Big Data ด้านการเกษตรให้เหมาะสมกับการผลิตของประเทศได้อย่างเหมาะสม
เลขาธิการ สศก. กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากนี้ สศก. จะได้พาคณะผู้แทน CAAS ลงพื้นที่โครงการระบบสงเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ณ จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาแนวทางการจัดเก็บข้อมูลในระดับภูมิภาค และการสำรวจโดยวิธีตั้งแปลงเก็บเกี่ยวผลผลิต?(Crop?Cutting) พร้อมทั้งเยี่ยมชม และศึกษาแนวทางการซื้อ-ขาย ณ ตลาดไท ซี่งเป็นตลาดกลางค้าส่งสินค้าเกษตรครบวงจรใหญ่ที่สุดในอาเซียน ระหว่างวันที่ 29 – 30 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเชื่อมั่นว่า การแลกเปลี่ยนความรู้และหารือแนวทางความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการกระชับความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในการพัฒนาภาคการเกษตรให้ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของภูมิภาคอาเซียนบวกสาม และระบบ Early Warning ผ่านกลไกของ APTERR และ AFSIS ร่วมต่อไป