“ดัชนีฯ เดือนธันวาคม 2562 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ในโซนทรงตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน นักลงทุนคาดหวังการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศผ่อนคลาย และเงินทุนไหลเข้า ขณะที่นักลงทุนกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนและภาวะเศรษฐกิจในประเทศ”

อังคาร ๐๓ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๓๑
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนธันวาคม 2562 ว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว (Neutral) เป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่านักลงทุนคาดหวังการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศคลี่คลายและเงินทุนไหลเข้าเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด และกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และภาวะเศรษฐกิจในประเทศ เป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุน"

ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ประจำเดือนธันวาคม 2562 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้

- ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (กุมภาพันธ์ 2563) อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (Neural) (ช่วงค่าดัชนี 80 - 119) โดยเพิ่มขึ้น 1.72% มาอยู่ที่ระดับ 87.93

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- ดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ใน Zone ทรงตัว (Neutral)

- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ใน Zone ซบเซา (Bearish)

- หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดการท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)

- หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดสื่อและสิ่งพิมพ์ (MEDIA)

- ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

- ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

"ผลสำรวจ ณ เดือนพฤศจิกายน ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ในเกณฑ์ทรงตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน โดยกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นเดิม กลุ่มนักลงทุนต่างประเทศฟื้นตัวโดยอยู่ที่เกณฑ์ทรงตัวเช่นเดิม ขณะที่กลุ่มบัญชีนักลงทุนรายบุคคลลดลงมาอยู่ในเกณฑ์ซบเซาจากเกณฑ์ทรงตัวในเดือนก่อน

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ เคลื่อนไหวในช่วง 1590-1641 จุด โดยดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมาอยู่จุดสูงสุดที่ 1641 จุด จากนั้นทยอยปรับตัวลดลงมาอยู่บริเวณ 1590-1600 ตลอดเดือน แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐและกนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังมีการเติบโตชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯมีการฟื้นตัวขึ้นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายขึ้นมาอยู่ที่ 1610-1620 จุด จากปัจจัยความคาดหวังผลจากการเจรจาการค้าระหว่างประเทศระหว่างสหรัฐและจีนที่คาดว่าจะลงนามข้อตกลงการค้าขั้นที่ 1 ภายในปีนี้ และคาดหวังการเลื่อนหรือยกเลิกกำหนดการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนในกลุ่มที่สองจำนวน 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 15 ธ.ค. โดยทิศทางการลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุดคือความคาดหวังการเจรจาทางการค้าของสหรัฐและจีน รองลงมาคือการไหลเข้าออกของเงินทุน ขณะที่นักลงทุนกังวลผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนเป็นปัจจัยฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด รองลงมาคือผลภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงแม้ว่าภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ สำหรับปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตามได้แก่ความชัดเจนของข้อตกลงการค้าขั้นที่ 1 และแนวโน้มการเจรจาข้อตกลงทางการค้าในขั้นที่ 2 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางในปี 2563 แนวโน้มอุปสงค์โลกชะลอตัว ความไม่แน่นอนของ Brexit ความต่อเนื่องของดัชนีชี้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศหลักของโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นแต่ก็ยังอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามคือทิศทางของผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน และนโยบายภาครัฐในการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม เป็นปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตาม"

ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนธันวาคม 2562

ผลจากดัชนีคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับ 1.25% ในการประชุม กนง. รอบเดือนธันวาคมนี้ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี และอายุ 10 ปีมีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงในอีก 11 สัปดาห์ข้างหน้า นับจาวันที่สำรวจ (15 พ.ย. 62) เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ยังไม่จำเป็นต้องใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation Index) เดือนธันวาคม 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ดัชนีคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม กนง. รอบเดือนธันวาคมนี้ อยู่ที่ระดับ 48 เพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้ว มาอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลง (Unchanged)" สะท้อนมุมมองของตลาดที่ว่าการประชุม กนง. ในเดือนกันยายนนี้ จะยังคงดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.25 ต่อไป โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกที่ทรงตัว และ Fund flow จากต่างชาติที่ลดลง เป็นปัจจัยกำหนดที่สำคัญ

ดัชนีคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปีและ 10 ปี ในรอบการประชุม กนง. กุมภาพันธ์ 2563 (ประมาณ 11 สัปดาห์ข้างหน้า) อยู่ที่ระดับ 64 และ 70 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากครั้งที่แล้วอย่างมากเนื่องจากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีมุมมองว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมีจำนวนมากขึ้น แต่ดัชนีคาดการณ์ยังคงอยู่ในเกณฑ์ "ไม่เปลี่ยนแปลง (Unchanged)" จาก 1.46% และ 1.71% ตามลำดับ ณ วันที่ทำการสำรวจ (15 พ.ย. 62) โดยปัจจัยหนุนสำคัญ ได้แก่ อุปสงค์อุปทานในตลาดตราสารหนี้ที่ทรงตัว การขยายตัวทางเศรษฐกิจในประเทศ แนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยโลกที่ทรงตัว และ Fund flow จากต่างชาติที่ลดลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version