รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนั้น สำนักงานเขตคลองสาน ยังได้ลงพื้นที่เพื่อควบคุม ป้องกันโรคทุกสัปดาห์ รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พร้อมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชุมชน จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม รณรงค์สัปดาห์ฆ่ายุงลาย และจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ในซอยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณซอยเจริญรัถ พบที่พักอาศัยจำนวนมากยังมีภาชนะขังน้ำ มีลูกน้ำยุงลาย และบ้านบางหลังมีสภาพรกรุงรัง เจ้าหน้าที่จึงได้ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยแนะนำเจ้าของบ้านให้ปรับปรุงสถานที่ คว่ำภาชนะขังน้ำ พร้อมฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ซึ่งทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่จะเข้าฉีดพ่นสารเคมีฯ ได้มีการให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะและโทษจากสารเคมีที่ใช้ในการฉีดพ่นหมอกควันทุกครั้ง
- ๒๔ พ.ย. ทิศทาง EIA กทม. 2024
- พ.ย. ๒๕๖๗ จัดบริการเชิงรุก - ตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มคนไร้บ้าน
- พ.ย. ๒๕๖๗ รณรงค์ผู้ขับขี่รถสาธารณะสวมหน้ากากอนามัยตลอดการให้บริการ