เผยทิศทางบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลไทย แนะคนไอทีอัพสกิลบล็อกเชน – ปลดล็อกกฎหมาย กลต.กำกับดูแลเพิ่มเติม – แชร์ลูกโซ่ยังเป็นปัญหาใหญ่

ศุกร์ ๐๖ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๔:๒๑
ผ่านพ้นอย่างยิ่งใหญ่สมการรอคอยสำหรับการจัดงาน Blockchain Thailand Genesis 2019 มหกรรมงานบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในไทย นำทีมโดยนายกานต์นิธิ ทองธนากุล เลขาธิการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และนายสัญชัย ปอปลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คริปโตมายด์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้งาน ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำมาใช้ เพื่อยกระดับในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เข้ากับระบบการเงิน (Fintech) เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการให้บริการทางการเงิน ภายใต้ตีมงาน "The Future of Financial Disruption" ซึ่งภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานในปีนี้กว่า 3,000 คน

ดีป้า แนะ คนไอทีอัพสกิลบล็อกเชน

ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงาน กลุ่มสังคมและกำลังคนดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) ที่มาพูดในหัวข้อ แนวทางการส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรด้านบล็อกเชน กล่าวว่า อีก 3-5 ปี บล็อกเชนจะเข้ามามีบทบาทในการบังคับใช้สัญญาต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบันมีบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกด้านไอทีที่ก้าวมาสู่การพัฒนาธุรกิจบล็อกเชนมากขึ้น อีกทั้งอุตสาหกรรมต่างๆก็เริ่มนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการท่องเที่ยว กล่าวได้ว่าเป็นช่วงเติบโตขาขึ้นของบล็อกเชน หรือ Growth Stage จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้พร้อม ทั้ง Non-Technical Developer หรือนักพัฒนาที่ไม่ต้องทำงานเชิงเทคนิค ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นความรู้เชิงธุรกิจ และความเข้าใจในลักษณะการทำธุรกิจบล็อกเชน อีกกลุ่มคือ Technical Developer หรือโปรแกรมเมอร์ที่สามารถทำงานในเชิงเทคนิคได้

ปัจจุบันโลกกำลังเปลี่ยนไปแล้ว การเรียนรู้การศึกษาไม่จำเป็นต้องอยู่แค่ในมหาวิทยาลัย ต้องให้เยาวชนไปเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจากการทำงาน ไปเผชิญกับปัญหาจริงๆในอุตสาหกรรม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาควบคู่ไปด้วย การศึกษานับจากนี้จะต้องเป็นการศึกษาให้ได้งาน ไม่ใช่แค่ใบปริญญาอีกต่อไป

ปริญญ์ แนะผู้มีอำนาจปลดล็อกบล็อกเชน

นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์ ที่มาแชร์ประสบการณ์ในหัวข้อ GovTech และ Blockchain: อนาคตแห่งโลกนวัตกรรมดิจิทัล การนำบล็อกเชนเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลของภาครัฐ จะทำให้เกิดความสะดวกและโปร่งใสมากขึ้น ปัจจุบันข้อมูลต่างๆนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล ยกตัวอย่างสิงคโปร์ ที่รัฐให้นำข้อมูลการจราจรกับเอกชน เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโมเดลใหม่ๆ และนำมาแก้ไขปัญหารถติดได้

GovTech หรือ เทคโนโลยีบริหารจัดการภาครัฐ เป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่าจะต้องเกิดขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเทคโนโลยีบล็อกเชนเท่านั้น แต่หมายรวมถึงทุกๆเทคโนโลยี ในทุกยุคทุกสมัย อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ในเมืองไทย ก็คือการตัดสินใจของผู้มีอำนาจ จึงอยากฝากให้ผู้มีอำนาจ ปลดล็อกกำแพงต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย ก. กฎหมาย เรามีกฎหมายมากมายที่ไม่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยี และมีความล้าหลัง ในบางอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ควรตั้งหน่วยงานกำกับดูแลแทนการใช้กฎหมายบังคับ ข. แข่งขัน พบว่ามีสตาร์ทอัพจำนวนมากที่ขาดศักยภาพในการแข่งขัน เพราะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ขณะที่ธนาคารที่มีสภาพคล่องจนล้น ก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ แต่ก็เป็นเป็นที่น่ายินดีที่ระบบบล็อกเชน ได้ก่อให้เกิดมีการปล่อยกู้แบบ Peer-to-peer หรือการทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านตัวกลางเกิดขึ้น รวมถึงการพิจารณาให้เครดิต โดยไม่ยึดเฉพาะธุรกรรมทางการเงินหรือ Alternative Credit Scoring โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์แทน ค. ความคิด การปลดล็อกความคิดเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมองให้เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี ที่มาช่วยในเรื่องความโปร่ง (Transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับได้ (Traceability) ซึ่งหลายหน่วยงานภาครัฐก็เริ่มมีความเคลื่อนไหวแล้ว เช่น กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ที่วางแผนบริหารจัดการข้อมูล Big Data ของสินค้าเกษตรร่วมกัน

กลต. เล็งกำกับดูแลเพิ่มเติม

ดร.นภนวลพรรณ ภวสันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน สำนักงาน ก.ล.ต. ขึ้นพูดในหัวข้อ สินทรัพย์ดิจิทัล และการกำกับดูแลในประเทศไทย จาก พรก. สินทรัพย์ดิจิทัลที่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2561) เกิดขึ้นจากการที่ผู้ลงทุนให้ความสนใจในเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัลมีเพิ่มมากขึ้น กลต.จึง ต้องเข้ามากับกำดูแล เพื่อให้นักลงทุนมีความรู้ ความเข้าใจ และออกกฎหมายมาเพื่อรองรับและคุ้มครอง รวมไปถึงเรื่องการปราบปรามการฟอกเงินด้วย โดยเร็วๆนี้ กลต. จะขยายการกำกับดูแลจากเดิมที่มี Exchange Broker Dealer และ ICO Portal ไปสู่การกำกับดูแล ที่ปรึกษาสินทรัพย์ดิจิทัล (Advisor) และผู้จัดการกองทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (Fund Manage) ด้วย

นอกจากนี้ยังได้กล่างถึงสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ก่อนการลงทุน ก็คือ 1.ต้องรู้ราคาและรู้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นมีความผันผวนสูง 2.สินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงทางด้านระบบไอที 3.ผู้ประกอบการต้องได้รับการอนุญาตจาก กลต. ตามที่มีประกาศในเว็บไซต์ พร้อมกับย้ำว่าในกรณีที่ผู้ลงทุนลงทุนในต่างประเทศ กลต. ไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนได้

ห่วงแชร์ลูกโซ่ ทำประเทศชาติสูญงบประมาณ

ปิดท้ายที่วงเสวนา Fireside Chat : ชำแหละกลโกง ที่ทุกคนต้องรู้ก่อนลงทุนคริปโต! โดย พ.ต.ท.ปองพล เอี่ยมวิจารณ์ นักวิชาการด้านอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายนันทวัจน์ เหลืองอรุณ นักจิตบำบัด นักลงทุนอิสระ เจ้าของเพจลิงรู้เรื่อง และพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Blockchain Review ต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าแชร์ลูกโซ่ ยังเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยคาดว่าคดีเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่ในปัจจุบัน มีมูลค่าความเสียหายนับแสนล้านบาท ซึ่งในกระบวนการทำคดีมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก รัฐต้องสูญเสียงบประมาณเป็นเงินหลายล้านไปจนถึงหลักสิบล้านบาทในการบริหารจัดการคดี เงินดิจิทัลเป็นของใหม่เป็นของที่ยากจะเข้าใจฟังดูดี ฟังดูน่าตื่นเต้น แต่ไม่ได้แปลว่าทุกตัวมันจะดีหมด เช่นเดียวกับคนที่จัดตั้งบริษัท คนสามารถจัดตั้งบริษัทขึ้นมาได้ แต่ไม่ได้แปลว่าบริษัทเขาจะมีผลประกอบการที่ดี จึงอยากเตือนให้ผู้ที่สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลโปรดใช้ความระมัดระวังและเช็คข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบ จากกรณีที่เกิดการหลอกลวงลงทุนในช่วงปีที่ผ่านมาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เร็วๆนี้จะมีกฎหมายเกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่โดยตรง ออกมาบังคับใช้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ