N-Squared เผยกลยุทธ์เด็ด สร้างการเติบโต ในธุรกิจ E-Commerce

พฤหัส ๑๒ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๐๐
Social Commerce และ E-Marketplace ในปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการวางกลยุทธ์และเทคนิคในการแข่งขันถือเป็นส่วนสำคัญของการทำธุรกิจ หากมีการวางกลยุทธ์ที่ดีและตามทันเกมที่ปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลาก็จะสามารถแข่งขันในธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างแข็งแกร่ง

'นัฐพล บุญภินนท์' Managing Partner, N-Squared eCommerce เปิดเผยถึงกลยุทธ์และเคล็ดลับในการบริหารธุรกิจการขายสินค้าให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ในงาน Priceza E-Commerce Summit 2020 สุดยอดงานอัพเดทเทรนด์ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี จัดโดย Priceza คุณนัฐพลกล่าวว่า ต้องรู้ว่าตัวเราขายอะไร ถนัดในการขายสินค้าประเภทใด รวมถึงการขายสินค้าให้ครอบคลุมทุกช่องทางการจัดจำหน่ายและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Social Commerce หรือ E-Marketplace

จุดเริ่มต้นของธุรกิจ N-Squared

N-Squared เป็น Distributor ของยุคดิจิทัลที่ขายสินค้าเฉพาะออนไลน์เท่านั้น ปัจจุบันมีการขายสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ มากกว่า 50 แบรนด์ ในรูปแบบการทำ OEM (Original Equipment Manufacturer) และการนำเข้าสินค้า โดยสินค้าที่ชำนาญจะอยู่ในหมวด Home & Living เนื่องจากเป็นสินค้าเริ่มแรกของการทำธุรกิจและยังเป็นประเภทสินค้าที่อยู่ได้นาน ไม่เหมือนสินค้าแฟชั่นหรือเทคโนโลยีที่ตกเทรนด์รวดเร็ว โดยขณะนี้มีรายได้ 900 ล้านบาท (ข้อมูล ต.ค.2562) ซึ่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2561 ที่มีรายได้ประมาณ 730 ล้านบาท ในพื้นที่ตลาด 5 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย และกำลังวางแผนขยายตลาดไปยังประเทศเวียดนาม

"สำหรับการขายสินค้าของเราจะอยู่ในทุกแพลตฟอร์มทั้ง Social Commerce ไม่ว่าจะเป็น Facebook LINE Instagram รวมถึง E-Marketplace ผ่าน Lazada Shopee JD Central และ 'HomeHuk' เว็บไซต์ของเราเอง ในรูปแบบเดียวกับ HomePro หรือ Index Living Mall จึงได้มีการพัฒนา Chatbot เองในชื่อว่า 'Chatpify' ที่ทำได้ตั้งแต่การพูดคุยกับลูกค้า ไปจนถึงจบออเดอร์ ส่งไปยัง Warehouse Fulfilment ของเราและสามารถคอนเฟิร์มเลขแทรคกิ้งกับลูกค้าด้วย โดยจะใช้คน 2-3 คนในการซัพพอร์ตการตอบคำถามที่ยาก ซึ่งปัจจุบันรับออเดอร์อยู่ที่ประมาณวันละ 2,000 ออเดอร์"

แนวทางความสำเร็จในการขายบนโซเชียลแพลตฟอร์ม

ในส่วนของแนวทางที่ N-Squared มองเห็นและทำให้การทำธุรกิจบนโซเชียลแพลตฟอร์มต่างๆ ประสบความสำเร็จได้มี 3 ข้อ ได้แก่

- เป็นคนไทย ขายคนไทย

หลายๆ คนอาจจะได้โซลูชันมาจากต่างประเทศและนำมาใช้กับการขายในตลาดไทย แต่ไม่ใช่พฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทย อาทิ การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต QR Payment ซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยโดยส่วนมาก ดังนั้นการชำระเงินที่ดีของคนไทยที่เรามองก็คือ COD (Cash on Delivery) หรือการชำระเงินปลายทางจะตอบโจทย์ลูกค้ามากกว่า ต้องเลือกสิ่งที่ลูกค้าชอบ มากกว่าเจ้าของธุรกิจชอบ

- OMNI-Channel

การขายสินค้าในหลาย Channel อาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่จะสื่อให้เข้าใจ เข้าถึง ครอบคลุม ทำได้ยากมาก เช่น การ Live ขายสินค้าในเฟซบุ๊กกับการขายสินค้าตอบแชทในเฟซบุ๊กก็ถือว่าเป็นคนละช่องทางการขาย บางทีลูกค้าอาจจะดูการขายสินค้าใน Live แต่สั่งซื้อผ่าน Messenger หรือลงสินค้าขายใน Instagram แต่แชทซื้อหรือสอบถามผ่านทาง LINE ดังนั้นไม่ควรมองว่าการขายผ่านโซเชียล คอมเมิร์ซ 1 Channel เท่ากับ 1 Channel ต้องมองเป็นโซเชียล คอมเมิร์ช เป็น OMNI-Channel ไม่เช่นนั้นจะทำให้การขายล้มเหลวได้

- Continuous Improvement

ถ้ามองในมุมของเทคโนโลยีคือต้องมีการพัฒนาบอทที่ใช้อย่างสม่ำเสมอ เช่น คำถามที่ลูกค้าถามบ่อยแต่บอทไม่สามารถตอบได้ ต้องพัฒนาและเก็บข้อมูลว่าลูกค้าต้องการคำตอบแบบไหนและพัฒนาบอทให้สามารถตอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้รูปภาพเพิ่มเติมในการอธิบายเพราะฉะนั้นต้องตระหนักเสมอว่า ไม่ใช่แค่บอทที่ต้องเรียนรู้ เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะปรับความรู้ให้กับบอทเช่นกัน ลูกค้าอาจจะไม่ได้รู้สึกแย่ที่ต้องคุยกับบอท แต่อาจจะแย่ที่คุยกับบอทที่ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นจึงเป็นผลตอบรับระยะยาวที่จะให้ลูกค้าเลือกใช้บริการและซื้อสินค้าจากเรา

การทำ Social Commerce หรือ E-Marketplace ให้ประสบความสำเร็จก็ต้องเรียนรู้และพัฒนาสินค้ารวมถึงธุรกิจอย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและการแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๐๑ วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
๑๘:๐๘ TKS จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2568 ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.33 บ./หุ้น
๑๘:๔๙ STECH จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 แจกปันผลเป็นเงินสดหุ้นละ 0.034 บาท
๑๘:๒๒ SGP จัดประชุมผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติเคาะปันผลครึ่งปีหลัง 0.20 บาท/หุ้น
๑๘:๐๖ ผู้ถือหุ้น FLOYD พร้อมใจเห็นชอบ ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.08 บาท/หุ้น
๑๘:๑๑ TEKA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 พร้อมไฟเขียวจ่ายปันผล 0.155 บาท
๑๘:๒๓ BRR จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นเคาะจ่ายปันผล 0.50 บาท/หุ้น
๑๘:๓๘ กลุ่มเหล็กรุ่นใหม่ เข้าพบ 'เอกนัฏ' ประสานเสียงให้กำลังใจ ดันยกเลิกเหล็ก IF กันเหล็กนำเข้าไร้มาตรฐาน
๑๘:๑๘ ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือ เอเชีย เอรา วัน และกรมป่าไม้ จัดกิจกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๗:๒๘ LPH ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.10 บ./หุ้น