โอสถสภาเดินหน้าบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตั้งศูนย์รีไซเคิล รับขยะบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วไม่จำกัดแบรนด์

พฤหัส ๑๒ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๓:๒๘
โอสถสภา ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของประเทศไทย เล็งเห็นความสำคัญที่ผู้ผลิตจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการช่วยลดปัญหาขยะ เปิดศูนย์รีไซเคิลในจังหวัดสระบุรี พร้อมพัฒนามาตรการดูแลบรรจุภัณฑ์ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมารีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่

"โอสถสภามุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมาโดยตลอด เพราะเราเชื่อว่าธุรกิจที่ดีต้องไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม เรามีนโยบายและมาตรการดูแลกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงานและการใช้พลาสติกในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์แม้ว่าจะส่งผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคแล้ว โดยได้จัดตั้งศูนย์รีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งพลังในการช่วยลดปริมาณขยะและนำขยะมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค้าและยาวนาน นำไปสู่การสร้างความยั่งยืนให้แก่ประเทศ" นางวรรณิภา ภักดีบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) กล่าว

สำหรับการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนั้น โอสถสภาให้ความสำคัญตั้งแต่การเลือกใช้วัตถุดิบของบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของโอสถสภา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มบรรจุในขวดแก้วกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้น บริษัทฯ เริ่มใช้พลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ อาทิ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค บาย เบบี้มายด์ และยังส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์แบบรีฟีล ซึ่งใช้พลาสติกในการผลิตน้อยกว่าแบบขวด

นอกจากนั้น โอสถสภายังได้จัดตั้งศูนย์รีไซเคิลขึ้นในจังหวัดสระบุรี ที่สามารถคัดแยกบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบขวดแก้วและกระป๋องได้ถึงวันละ 1,000 ตัน โดยเมื่อขยะบรรจุภัณฑ์เข้าสู่ศูนย์รีไซเคิล จะผ่านกระบวนการแยกขยะอย่างเป็นระบบ เพื่อนำขยะที่คัดแยกแล้วแต่ละประเภทไปรีไซเคิลเพื่อนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น ขวดแก้วและเศษแก้วจะถูกส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตขวดแก้ว โดยโรงงานผลิตขวดแก้วของโอสถสภานั้นใช้เศษแก้วเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตได้สูงสุดถึงร้อยละ 90 ช่วยให้สามารถลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตได้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ การใช้เศษแก้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานในเตาหลอมได้ถึงร้อยละ 2.5 ในส่วนของฝาอลูมิเนียมที่คัดแยกออกมานั้นจะนำมารวมกับขยะกระป๋องและส่งให้โรงงานที่เชี่ยวชาญด้านอลูมิเนียมนำไปรีไซเคิลต่อไป นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการทำวิจัยเพื่อนำของเหลวที่คงค้างอยู่ในขยะบรรจุภัณฑ์เหล่านั้น เช่น เครื่องดื่ม ซอสปรุงอาหาร ไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น นำไปผลิตปุ๋ยและสารบำรุงพืช

ศูนย์รีไซเคิลแห่งนี้ได้เปิดใช้งานในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา และถือเป็นความสำเร็จอีกขั้นในการดูแลบรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด นับตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สำหรับผู้ที่สนใจและหน่วยงานในจังหวัดสระบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงที่มีความประสงค์ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยรวบรวมบรรจุภัณฑ์ขวดแก้วที่ใช้แล้วมามอบให้ศูนย์รีไซเคิลของโอสถสภา สามารถติดต่อที่สายด่วนผู้บริโภคของโอสถสภา โทร. 02-351-1111

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ