- ๒๒ พ.ย. บางจากฯ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “นวัตกรรมสารเติมแต่งน้ำมันเชื้อเพลิง ลด PM 2.5 และควันดำจากรถยนต์” กับกรมวิทยาศาสตร์บริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
- พ.ย. ๒๕๖๗ CHO ร่วมกับ มทร.อีสาน เปิดศูนย์แปลงยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาระบบโครงข่ายขนส่งสาธารณะเมืองโคราช
- พ.ย. ๒๕๖๗ กรมพัฒน์ ชวนชมงาน Skill Expo ขอนแก่น อัพสกิลแรงงานไทย สู่โลกยุคใหม่ในอนาคต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เปิดเผยว่า ภารกิจหนึ่งของ มทร.อีสาน คือการทำงานที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ของคนโคราช อาทิเช่น การเปิดหลักสูตรระบบราง เพื่อตอบรับเส้นทางเดินรถระบบความเร็วไปยังจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านการคมนาคมที่จะเป็นประโยชน์และเป็นการอำนวยความสะดวกของคนภาคอีสาน และเมื่อเกิดเส้นทางขนส่งทางรางและรถไฟความเร็วสูงที่ตัดผ่านจังหวัดนครราชสีมา มทร. อีสาน โดย ศูนย์บริการวิชาการด้านบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ จึงได้จัดทำผลสำรวจเกี่ยวกับความคิดของคนโคราชต่อระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 23 มีความต้องการใช้เส้นทางรถไฟรางคู่ จากชุมทางถนนจิระ ไปขอนแก่น ในขณะที่ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูงต้องการใช้เส้นทาง กรุงเทพ โคราชกว่าร้อยละ 36.4 นอกจากนี้ยังอยากให้มีการสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้คลอบคลุมทั้งประเทศ มากกว่าร้อยละ 70 และคิดว่าหากก่อสร้างเสร็จจะทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น สำหรับปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคิดว่าอาจเกิดปัญหาระหว่างการก่อสร้างและจุดคุ้มทุนจากการดำเนินโครงการ และสุดท้ายในภาพรวมความคิดเห็นคนโคราชส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางรางกว่าร้อยละ 67.6 และอยากให้มีการศึกษาถึงความคุ้มค่าและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการ โดยผมอยากให้ทุกภาคส่วนเข้ามีส่วนร่วมกับเทคโนโลยีการคมนาคมมากขึ้น เพราะโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่ดี เป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นศักยภาพของจังหวัดนครราชสีมารวมถึงภาพจากสายตาชาวต่างชาติด้วยครับ