ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ ตรวจเยี่ยมสหกรณ์โคนมลำพูน

จันทร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๐๙:๐๑
กระทรวงเกษตรฯ ชี้ โครงการธนาคารโคนมทดแทนฝูงของสหกรณ์โคนมลำพูน ทำให้โคมีความอุดมสมบูรณ์พันธุ์ สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค การผลิตน้ำนมดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ น้ำนมมีคุณภาพสูง และน้ำนมที่ได้มีคุณภาพ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับราคาที่ดี

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมสหกรณ์โคนมลำพูน ณ จังหวัดลำพูด ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จึงได้มีการจัดสรรงบประมาณของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในปี 2560 ให้สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด ตามโครงการพัฒนาการดำเนินธุรกิจและสินค้าของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ภายใต้การเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและการตลาดภายใต้ห่วงโซ่การผลิตนมทั้งระบบ จำนวน 5.950 ล้านบาท เพื่อการดำเนินการโครงการธนาคารโคนมทดแทนฝูง เพื่อรับฝากลูกโคเพศเมีย และถอนคืนเป็นโคสาวท้อง เพื่อให้เกษตรกรสมาชิกลดภาระการเลี้ยงลูกโคในฟาร์ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจากการจัดการด้านอาหารที่เหมาะกับโคตามช่วงวัย ให้เกษตรกรสมาชิกมีแม่โคที่มีคุณภาพไปทดแทนโคนมปลดระวาง และลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น และในปีงบประมาณ 2561 ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 2.934 ล้านบาท ในโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสนับสนุนเครื่องจักรกลทางการเกษตรให้กับสถาบันเกษตรกรเพื่อให้บริการแก่สมาชิก 2) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสถาบันเกษตรกรในการบริหารจัดการ และอำนวยความสะดวกในการให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรแก่สมาชิก โดยจัดหาอุปกรณ์พร้อมเครื่องผลิตอาหาร TMR ให้แก่ลูกโคสาวในโครงการธนาคารโคนมทดแทนฝูง

การดำเนินการของสหกรณ์ ทำให้เกษตรกรสมาชิกมีรายได้จากการขาย/ฝากลูกโคให้แก่ธนาคาร เฉลี่ยตัวละ 18,388 บาท โคที่นำมาฝากธนาคารให้น้ำนมเร็วขึ้น 105 วัน ๆ ละ 14 กก.ๆ ละ 18 บาท เป็นเงิน 26,460 บาท มีรายได้จากการจำหน่ายน้ำนมวันละ 14 กก. ๆ ละ 18 บาท ระยะเวลา 200 วัน เป็นเงิน 50,400 บาท รวมรายรับทั้งสิ้น 95,248 บาท สูงกว่าเกษตรกรที่เลี้ยงโคในฟาร์มของตนเองถึง 14,368 บาท และในด้านของรายจ่าย เกษตรกรสมาชิกมีรายจ่ายจากการถอนคืนโคสาวท้อง 5 เดือน จากธนาคารโคในราคาเฉลี่ย 45,114 บาท/ตัว เลี้ยงต่ออีก 4 เดือน มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 8,197 บาท รวมค่าใช้จ่าย 53,311 บาท/ตัว ซึ่งหากเปรียบเทียบการเลี้ยงโคในฟาร์มของเกษตรกรจนถึงผสมเทียมแล้วคลอด รวม 30 เดือน เกษตรกรจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 60,000 บาท/ตัว จะเห็นว่าสมาชิกที่นำโคมาฝากเลี้ยงในธนาคาร มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเกษตรกรที่เลี้ยงโคในฟาร์มตนเองถึง 6,689 บาท/ตัว อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการเลี้ยงโคในธนาคารโคนมทดแทนฝูง ทำให้โคมีความอุดมสมบูรณ์พันธุ์ สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค การผลิตน้ำนมดีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ น้ำนมมีคุณภาพสูง และน้ำนมที่ได้มีคุณภาพ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับราคาที่ดีตามไปด้วย

ทั้งนี้ สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด ได้เข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ แปลงใหญ่โคนมตำบลห้วยยาบ ในปี 2561 มีจำนวนประชากรโคทั้งหมด 4,796 ตัว ประกอบด้วย โครีดนม 1,915 ตัว ปริมาณน้ำนมเฉลี่ย 12 - 13.05 กก./ตัว/วัน มีสมาชิกที่ส่งน้ำนมดิบให้สหกรณ์ จำนวน 91 ราย ได้รับมาตรฐานฟาร์ม (GAP) จำนวน 72 ราย สหกรณ์จะดำเนินการทำมาตรฐานฟาร์มให้แล้วเสร็จภายใน 30 เมษายน 2563 ปริมาณน้ำนมดิบที่รวบรวมได้ 23 - 25 ตัน/วัน สหกรณ์มีการทำ MOU ที่จะจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นม ในปี 2562 - 2563 จำนวน 24.208 ตัน/วัน ได้แก่ บริษัทแดรีพลัส จำกัด 20 ตัน/วัน บริษัทซีพี เมจิ จำกัด 2.208 ตัน/วัน องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือตอนล่าง (อ.ส.ค.) สุโขทัย 2 ตัน/วัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ