ภาพข่าว: ก.เกษตรฯ เตรียมพร้อมรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่คาดว่าจะเกินความต้องการในปี 2563 จัดตั้งโรงแปรรูปผลิตภัณฑ์นมและศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

จันทร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๐:๓๓
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมโครงการจัดตั้งโรงแปรรูปผลิตภัณฑ์นมและศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ว่า ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา) ที่มีความห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม จึงได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ที่มอบหมายให้มาขับเคลื่อนนโยบายเพื่อดูแลพี่น้องเกษตรกรโคนมให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมขนาดใหญ่ และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมครบวงจร เพื่อรองรับปริมาณน้ำนมดิบที่คาดว่าจะเกินความต้องการในปี 2563 จึงได้มอบหมายองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 1) การจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม ที่ดำเนินการโดย อ.ส.ค. เพื่อรองรับผลผลิตน้ำนมดิบที่เพิ่มขึ้นตามที่รัฐบาลได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของเกษตรกรเป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ และ 2) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมครบวงจร ที่ประกอบด้วย ศูนย์ Feed Center เพื่อเป็นแหล่งสนับสนุนอาหารโคนมในราคาต้นทุนต่ำ ศูนย์เลี้ยงโคนมทดแทน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในการนำโคทดแทนมาเลี้ยงยังศูนย์แทน ตามข้อจำกัดด้านแรงงาน สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่สานต่ออาชีพของครอบครัว และการสร้าง Smart Farm เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานด้านกิจการโคนมระดับนานาชาติ

สำหรับการดำเนินการที่ผ่านมา ได้มีการแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบโครงการจัดตั้งโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมและศูนย์เรียนรู้กิจการโคนมแบบครบวงจรภาคเหนือตอนบน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง" โดยมีที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา (นายวิเชียร ผลวัฒนสุข) เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการพิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งโครงการบริเวณเดียวกัน การศึกษาทบทวนโครงการพร้อมออกแบบโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมฯ อีกทั้งยังได้มีการรับมอบสัญญาเช่าที่ราชพัสดุจากกรมธนารักษ์ โดยมีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมพัฒนาที่ดิน กับ อ.ส.ค. เมื่อวันที 26 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ การเลี้ยงโคนมในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง ที่เป็นฐานการผลิตน้ำนมดิบที่สำคัญและคุณภาพดีที่สุดของประเทศไทย มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม 18 สหกรณ์ บริษัทเอกชน 4 แห่ง โรงงานนม 5 แห่ง มีเกษตรกรรวม 1,403 ราย จำนวนประชากรโดนมทั้งหมด 64,147 ตัว และมีปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้ 8,990 ตันต่อเดือน หรือ 299.7 ตันต่อวัน และมีแนวโน้มปริมาณน้ำนมดิบของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปีในปี 2559 เฉลี่ย 350 ตันต่อวัน โดยมีอัตราการเติบโตของน้ำนมดิบปริมาณในปี 2558 และ 2559 ประมาณ 5 - 6% คาดว่าในปี 2563 จะมีปริมาณน้ำนมดิบประมาณ 400 ตันต่อวัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ