'สงขลาเฮอริเทจ’ รูปแบบใหม่ของบริษัทพัฒนาเมืองเก่า

พฤหัส ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๑:๔๒
สถาบันอาศรมศิลป์ เปิดตัวบริษัท สงขลาเฮอริเทจ บริษัทพัฒนาเมืองในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม ที่นอกจากจะหน้าที่ซ่อมแซมและบูรณาอาคารเก่าแล้ว ยังมีรูปแบบการบริหารจัดการที่ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ของเมืองเก่าสงขลา ให้คงอยู่ต่อไป

เมืองเก่าสงขลา เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในฐานะเมืองท่าและศูนย์กลางการเดินทางทางทะเล โดยการอยู่ร่วมกันของคนหลายชาติพันธุ์หลากหลายของวัฒนธรรม ได้สร้างวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่มีเอกลักษณ์ คือ "สามหลักผสานเกลียวเป็นหนึ่งเดียวในบ่อยาง" (ย่านเมืองเก่าสงขลาอยู่ใน ต.บ่อยาง) เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือน แต่การจะรักษามรดกทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมคงอยู่ต่อไปนั้น จะต้องมีกลไกที่ช่วยสร้างความเจ้าของกับคนเมืองเก่าสงขลา ซี่งหนึ่งในนั้นคือ ซึ่งหนึ่งในกลไกที่ได้จากงานวิจัยเชิงพื้นที่ของสถาบันอาศรมศิลป์ก็คือ บริษัท "สงขลาเฮอริเทจ"

"สงขลาเฮอริเทจ เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัย 'โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างพลังของท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสริมสร้างคุณค่า "เมืองเก่าสงขลา" ให้เข้มแข็งสู่การเป็นมรดกโลก' ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560-5261) และระยะที่ 2 (พ.ศ.2561-ปัจจุบัน) ของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่ต้องการยกระดับจากการมีคณะกรรมการชุมชนเก้าห้อง-หนองจิก ที่เกิดขึ้นในการดำเนินโคงการระยะที่ 1 สู่ธุรกิจที่มุ่งสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ ที่ดำเนินการในลักษณะของผู้ประกอบการทางสังคม (Social Enterprise - SE)" อาจารย์ภัทร ยืนยง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยด้านศิลปศาสตร์ สถาบันอาศรมศิปล์ให้ข้อมูลถึงจุดเริ่มต้นของบริษัทแห่งนี้

สำหรับการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนกับตัวบริษัทนั้น อาจารย์ภัทร ให้ข้อมูลว่า เราไม่เน้นคววามเป็นเจ้าของในตัวบริษัท แต่เน้นความเป็นเจ้าของในกิจกรรมที่บริษัทเข้าไปดำเนินการในเมืองเก่าสงชลา จึงกำหนดให้คนในชุมชนสามารถเข้ามาร่วมลงทุนหรือถือหุ้นใน "แผนธุรกิจ"

"การที่งานของบริษัทจะดำเนินการในพื้นที่เมืองเก่า การให้เขามามีส่วนลงทุนร่วมในแผนธุรกิจต่างๆ จะทำให้เกิดการกระจายหุ้นไปสู่คนในชุมชนได้มากกว่าการเป็นหุ้นส่วนในบริษัท เช่น ภายใต้แผนธุรกิจเพื่อการซ่อมแซมอาคารที่เก่าที่บริษัทจะร่วมลงทุนในการซ่อมแซมก่อนเข้าไปดำเนินการสร้างรายได้จากการให้เช่าหรือทำธุรกิจที่เหมาะสม นอกจากเราจะให้เจ้าของอาคารมาถือหุ้นแล้วเรายังเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมาลงทุนเป็นผู้ร่วมถือหุ้นในแผนแหล่านี้ได้อีกด้วย เพราะเราเชื่อว่าการระดมทุนกันคนละเล็กละน้อย คือการแสดงความมีส่วนร่วม แสดงการรับผิดชอบร่วมกันของคนในชุมชน ที่ช่วยกันรักษาคุณค่าของชุมชนตนเองไว้" อาจารย์ภัทร ยืนยง กล่าวให้ข้อมูลเพิ่มเติม

ด้วยรูปแบบที่ชัดเจน ทั้งเรื่องการบริหารจัดการ และแนวทางการดำเนินงานที่จะสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ผ่านการลงทุนในแผนธุรกิจที่น่าสนใจ ทำให้หนึ่งในนักวิจัยภายใต้ชุดโครงการวิจัยนี้ มองเห็นถึงความเป็นไปได้ในการตั้งบริษัทนี้ให้เกิดขึ้น

"การได้มาร่วมทำงานวิจัย ทำให้ตนเองมีความเข้าใจและมั่นใจในรูปแบบและแนวทางดำเนินการของบริษัทที่วางไว้ เพราะนอกจากความเป็นไปได้แล้วในเชิงธุรกิจแล้ว ยังสร้างประโยชน์กับชุมชนได้จริง ซึ่งหลังจากนำความคิดนี้ไปปรึกษากับผู้ใหญ่หลายท่าน ทั้งอาจารย์และผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ จึงดำเนินการขอจดทะเบียนเป็นบริษัทเมื่อเดือนที่ผ่านมา" นส.ดวงใจ นันทวงศ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ ที่ปัจจุบันเป็นผู้จัดการบริษัท สงขลาเฮอริเทจ กล่าวถึงที่มาของบริษัท

สำหรับการทำงานของบริษัทนั้น นอกจากงานด้านการซ่อมแซมอาคารของประชาชนทั่วไปแล้ว บริษัทยังมองถึงการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดเป็นรายได้ ทั้งการพัฒนาผลิตใหม่ๆ การเชื่อมโยงกับโรงเรียนเพื่อสร้างงกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวที่ให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วม รวมถึงอาคารที่เป็นคุณค่าทางจิตใจของคนในชุมชนอีกด้วย

"ตอนนี้เราได้เข้าไปพูดคุยกับทางสมาคมฮกเกี้ยนสงขลา เกี่ยวกับการการบูรณะและซ่อมแซมศาลปุณเถ้ากงในชุมชนหนองจิก ซึ่งเป็นศาลเจ้าเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี ที่คนไทยเชื้อสายจีนในสงขลาเชื่อถือและกราบไหว้ อีกงานหนึ่งคือการเข้าไปช่วยออกแบบพิพิธภัณฑ์ให้กับชุมชนบ้านบน ซึ่งเป็นชุมชนมุสลิมในพื้นที่เมืองเก่าสงขลา"

สำหรับมุมมองของคนในชุมชนต่อการเกิดขึ้นของบริษัทนั้น ดร.ชำนาญ พูลสวัสด์ ในฐานะคนในชุมชนที่ร่วมในกระบวนการวิจัยมาตั้งแต่ต้น กล่าวว่า ที่ผ่านมาตนเองและคนในชุมชนโดยเฉพาะคนรุ่นเก่าๆ ก็มีการร่วมมือเก็บรักษาและสืบทอดมรดกทางสถาปัตยกรรมรวมถึงวัฒนธรรมประเพณีอยู่แล้ว เพียงแต่ทำได้ไม่เต็มที่เพราะภาระรับผิดชอบของแต่ละคน ดังนั้น รูปแบบบริษัท Social Enterprise ที่กำหนดให้ชุมชนร่วมลงทุนผ่านแผนธุรกิจ จึงได้รับเสียงตอบรับจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี

"รูปแบบนี้ทำให้เราสามารถเลือกลงทุนได้ในเวลาที่เราพร้อม และตัวหุ้นในแต่ละแผนก็แตกต่างกันทั้งหุ้นหลักร้อย และหลักพัน แถมยังมีการแนวทางให้มีคนเข้ามาร่วมถือหุ้นให้มาก ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและทำให้บริษัทแห่งนี้ เป็นบริษัทของคนเมืองเก่าสงขลาทุกคนได้จริง"

ด้านนายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ที่ให้เกียรติมาร่วมในงานเปิดตัวบริษัทฯ กล่าวว่า สิ่งที่คนในชุมชนได้แสดงให้เห็นในวันนี้คือ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนด้วยความสมัครใจและพร้อมเพรียง เพื่อทำให้ให้บ้านและชุมชนของตนเองดีขึ้น

"นี่คือการระเบิดจากข้างในของคนเมืองเก่าสงขลา ที่แสดงว่าวันนี้ทุกคนสามารถยืนบนขาตนเองได้ โดยไม่หวังพึ่งภาครัฐ ซึ่งบริษัท ฯ แห่งนี้จะเป็นอีกหน่วยหนึ่ง ที่เข้ามาเติมเต็มตรงนี้ให้ชุมชนได้ เพราะเป็น Social Enterprise ที่มีการคืนกำไรสู่สังคม โดยทางจังหวัดและเทศบาล ก็พร้อมให้การสนับสนุน"

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา รักษาการผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ในฐานะอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกสว. กล่าวว่า การเกิดขึ้นของบริษัท สงขลาเฮอริเทจ คือสิ่งที่สอดคล้องกับแนวทางการการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมางานวิจัยเชิงพื้นที่ มักจะขาดกลไกเข้าทำให้เกิดการการขับเคลื่อนต่อในระยะยาว ทำให้พลังในการทำงานจะลดงลงเมื่อสิ้นสุดงานวิจัย แต่การที่โครงการวิจัยนี้สามารถสร้างความร่วมมือในระดับพื้นที่ผ่ากการ 'สร้างคุณค่า' 'สร้างมูลค่า' และ 'สร้างแรงบันดาลใจ จนเกิดสร้างแนวทางที่ชัดเจน และสามารถต่อยอดเป็นรูปธรรมได้สำเร็จ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version