มูลนิธิแอมเวย์สร้างรอยยิ้มสดใสให้เด็กไทยในโครงการ “One by One: ยิ้มสยาม ครั้งที่ 9”

อังคาร ๒๘ มีนาคม ๒๐๐๖ ๑๕:๐๘
กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
เป็นอีกครั้งหนึ่งแล้วที่ผู้ด้อยโอกาสซึ่งป่วยเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่จะได้ยิ้มออก กับรอยยิ้มใหม่ที่จะเกิดขึ้น จากคณะแพทย์ พยาบาล และผู้ใจบุญหนุนนำโอกาสดีๆ ในการรักษามาให้ โดยมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย นักธุรกิจแอมเวย์ ร่วมกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้มและโรงพยาบาลจังหวัดยโสธร จัดโครงการ One by One: ยิ้มสยาม ครั้งที่ 9 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน 2549 ที่โรงพยาบาลจังหวัดยโสธร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ให้มีรอยยิ้มที่สดใสกันอีกครั้ง
นายปรีชา ประกอบกิจ ประธานมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทย กล่าวว่า “แอมเวย์ประเทศไทย มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาตลอดระยะเวลา 19 ปี ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่แอมเวย์ประเทศไทย ได้จัดทำเพื่อคืนคุณค่าให้สังคมไทยมาตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมาคือการจัดทำโครงการ ”One by One: ยิ้มสยาม” ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 9 ที่เราได้ดำเนินการรักษาเด็กและเยาวชนผู้มีความพิการบนใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการอื่นๆ เพื่อที่จะได้มีรอยยิ้มที่สดใสอีกครั้ง โดยร่วมกับมูลนิธิสร้างรอยยิ้มและโรงพยาบาลจังหวัดยโสธร ซึ่งโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2540 จวบจนปัจจุบัน”
“โครงการยิ้มสยามได้ดำเนินการมาแล้วทั้งสิ้น 8 ครั้ง และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ มีเด็กและเยาวชนได้รับการผ่าตัดให้มีรอยยิ้มใหม่ รวมทั้งสิ้นแล้วกว่า 1,061 คนทั่วประเทศ จำได้ว่าเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โครงการยิ้มสยามครั้งที่ 8 ได้ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยไปจำนวน 91 คน ซึ่งครั้งนั้นทำให้พวกเขาได้มีรอยยิ้มที่สดใส และอยู่ในสังคมได้อย่างไม่อายใครอีกต่อไป นี่จึงเป็นความภูมิใจของเราทุกคน”
นายปรีชา ประกอบกิจ กล่าวต่อไปว่า “ในปี 2549 นี้ เราได้กำหนดจัดโครงการ One by One: ยิ้มสยาม ครั้งที่ 9 ขึ้นระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน 2549 ณ จังหวัดยโสธร เพื่อมอบโอกาสให้แก่เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาสได้มีรอยยิ้มใหม่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังเช่นโครงการในอดีตที่ผ่านๆ มา โดยคณะแพทย์และพยาบาลอาสาสมัครจากโรงพยาบาลต่างๆของส่วนกลางจะเป็นผู้ทำการรักษา ซึ่งเราคาดว่าจะมีผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาประมาณ 80 คนในครั้งนี้”
สำหรับสถานที่ในการจัดทำโครงการ One by One: ยิ้มสยาม ครั้งที่ 9 จะจัดขึ้นที่โรงพยาบาลยโสธร ระหว่างวันที่ 22-28 เมษายน 2549 โดยจะมีการคัดกรองผู้ป่วยในวันที่ 24 เมษายน ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. ก่อนจะเข้ารับการผ่าตัดในวันที่ 25-27 เมษายน โดยผู้ป่วยต้องเตรียมบัตร 30 บาท หรือ บัตรประชนชน มาเป็นเอกสารประกอบการคัดกรองดังกล่าว
“เราไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการคัดกรองผู้ป่วย ไม่จำกัดฐานะ เพศ และวัย แต่ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยใน 3 ประการ คือ หนึ่งผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่และผู้ป่วยที่มีแผลจากการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ สอง ผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณใบหน้า ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดทางมูลนิธิแอมเวย์เพื่อสังคมไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด และขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ที่ต้องการเข้ารับการรักษาในครั้งนี้ เข้ารับการคัดกรองอาการเบื้องต้นได้ ณ สถานีอนามัยทุกแห่งในจังหวัดยโสธร หรือที่โรงพยาบาลยโสธร“ นายปรีชากล่าวทิ้งท้าย
เป็นอีกครั้งที่ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่จะได้รับการเติมเต็มในชีวิตเติมรอยยิ้มพิมพ์ใจให้ใบหน้าของพวกเขาได้แจ่มใส และยิ้มได้อย่างเต็มที่ ในทุกการจ้องมองของคนในสังคม!
###
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์:
พรชนันท์ มงคลกุล (กิฟท์) โทร.0-2204-8223,01-755-1105
รสวันต์ ดวงสร้อยทอง (โอ๋) โทร. 0-2204-8224, 09-665-6819
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ