แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ร่วมกับ เอ็มเอ็กซ์ดี และกลุ่มพันธมิตรกว่า 30 ราย ศึกษาวิจัยเจาะลึกทักษะแรงงานใหม่ในโรงงานแห่งอนาคต ทั้งต่างประเทศ สู่ไทย “เตรียมพร้อมรับมือระบบอัจฉริยะโลก สู่รุ่นผลิตแห่งยุคที่ 3”

จันทร์ ๒๓ ธันวาคม ๒๐๑๙ ๑๖:๕๔
ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม หรือ งานโรงงาน ถือเป็นกลไก เครื่องจักรสำคัญระดับประเทศ ระดับโลก ซึ่งกลไกด้านการผลิต โรงงาน คือ ส่วนขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจระดับโลก ระดับประเทศ ซึ่งหากย้อนไปในแต่ละยุคสมัย งานด้านการผลิตของกลุ่มโรงงาน มีบทบาทแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอ อุตสาหกรรมด้านรถยนต์ อุตสาหกรรมด้านอุปโภคบริโภค ล้วนแต่เกิดจากงานด้านโรงงาน ระบบดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ การเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยีใหม่มีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม มักก่อให้เกิดความต้องการทักษะใหม่ สร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ มากมาย

ดังนั้น การผลิตถือเป็นด่านแรกของการเปลี่ยนผ่าน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในความต้องการทักษะการทำงานใหม่ ลดบทบาทของทักษะไร้ประโยชน์ ผู้ผลิตมักขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะสูง ไม่สามารถค้นหาบุคลากรที่มีทั้งทักษะด้านเทคนิค ทักษะการประสานงานที่ผสานเข้ากันได้อย่างลงตัวเหมาะสมกับตำแหน่งงานใหม่ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี บุคลากร ให้เกิดทักษะที่ลงตัวตอบโจทย์สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง การค้นหาทางออกที่เหมาะสม สำหรับการขาดแคลนทักษะที่เป็นที่ต้องการ ในกลุ่มภาคการผลิตถึง 2 ล้านตำแหน่ง เพื่อไม่ให้ขาดแคลนแรงงาน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ร่วมกับ เอ็มเอ็กซ์ดี พร้อมร่วมกับพันธมิตรทางวิชาการ รัฐบาล และอุตสาหกรรมกว่า 30 ราย รวมถึงซีเมนส์ ไมโครซอฟท์ แคทเธอร์พิลลาร์ และเจเนอรัล อิเล็กทริค ได้ศึกษา พร้อมสำรวจถึงภาคการผลิตดิจิทัลในอนาคต เพื่อวิเคราะห์ระบุถึงทักษะและหน้าที่ในอนาคต ถึงขีดความสามารถในเครื่องมือสนับสนุนองค์กรของภาคการผลิต เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมที่แน่นอน ต้องเข้าสู่สังคมแห่งดิจิทัลเต็มรูปในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รีเบคก้า โควาลสลกี้ รองประทานบริษัทแมนพาวเวอร์ อเมริกาเหนือ ให้นิยามโรงงานแห่งอนาคตว่า "ศักยภาพของการผลิตในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตไม่เคยยิ่งใหญ่เท่านี้มาก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เราสามารถเข้าถึงศักยภาพเหล่านี้ได้ด้วยทักษะใหม่ๆ ที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อกำลังคนของเราในปัจจุบันและอนาคตสู่พันธกิจอันสำคัญของเรา เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนพันธมิตรของเราเสมอมา"

ดังนั้น เส้นทางสู่การเปลี่ยนแปลงของการผลิต ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงมากมาย สู่ความล้ำสมัย ของสังคมแห่งดิจิทัลและการเชื่อมต่อ จากรุ่นที่ศูนย์จนถึงรุ่นที่สามในปัจจุบันนี้ โลกได้เข้าสู่การผลิตรุ่นที่สามอย่างสมบูรณ์ ปี 2563 รุ่นที่สามจะกลายเป็นกระแสหลัก เนื่องจากเทคโนโลยีมีความแพร่หลายมากขึ้น และเครื่องจักรมีความฉลาด สามารถสอนและเรียนรู้จากกันและกันได้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้บุคลากรรุ่นใหม่ที่มีหน้าที่จัดการระบบการเชื่อมต่อระหว่างองค์กรเหล่านี้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

รุ่นการผลิตมักสอดคล้องกับยุคสมัยต่าง ๆ ของเครื่องมือการผลิต เทคโนโลยี และงานแต่ละรุ่นมีดังนี้ รุ่นที่ศูนย์ คือ การผลิตแบบดั้งเดิมในช่วงทศวรรษที่เจ็ดสิบ และศตวรรษที่ 20 รุ่นที่หนึ่ง ใช้เวลา 35 ปี ตั้งแต่ปี 2513 ถึง 2548 ใช้ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ในการผลิตผ่านระบบอัตโนมัติ ปัจจุบัน เราอยู่ในช่วงปลายของรุ่นที่สอง ในการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาซอฟต์แวร์ การผลิตที่ทันสมัย รุ่นที่สาม นับจากปี 2563 เป็นยุคแห่งดิจิทัล จะก้าวอย่างรวดเร็ว ภาคการผลิต แรงงาน ต้องตามให้ทัน และคาดว่าจะเข้าสู่การผลิตรุ่นที่สามอย่างเต็มรูปแบบในไม่ช้า

ประเทศไทยในปี 2563 และในอนาคต ต้องเผชิญกับความล้ำหน้าโลกของเชื่อมต่อแบบไร้พรมแดน ด้วยอินเทอร์เน็ตในภาคอุตสาหกรรม ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ การพิมพ์สามมิติ ยุคแห่งดิจิทัล การผลักดันให้เกิดโรงงานแห่งอนาคต นับจากวันนี้ ถึง 5 ปีข้างหน้า การเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ ภาพรวมของประเทศ อีกทั้งการเปิดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC จะเป็นจุดสำคัญในการก้าว โรงงานแห่งอนาคตของประเทศ เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยให้ภาคการผลิตและระบบการผลิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอีกห้าถึงสิบปีข้างหน้า การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลนี้เป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้ทั่วโลกเชื่อมต่อกันอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้เกิดความต้องการทักษะใหม่ และเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจเพื่อสร้างความเติบโตและมูลค่าของตนเอง เราพบว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กรภาคการผลิตเกือบครึ่งของหน้าที่ทั้งหมดในภาคการผลิต (ร้อยละ 49) ต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในสามถึงห้าปีข้างหน้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านทางอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ การวิเคราะห์กำลังคนของเราระบุตำแหน่งหน้าที่ใหม่ 165 ตำแหน่งใน 7 สาขาความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ซึ่งเราเรียกว่า "ขอบเขต" ดังนี้ การผลิตดิจิทัล ร้อยละ 28 เดิมรู้จักในชื่อพื้นที่การผลิต เครือข่ายดิจิทัล ร้อยละ 21 การจัดการข้อมูลของสินทรัพย์สำหรับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ บริษัทดิจิทัล ร้อยละ 16 ความเป็นผู้นำ กลยุทธ์ และธรรมาภิบาลระดับองค์กร ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ร้อยละ 8 บริการสนับสนุนหลังการตลาดและข้อเสนอแนะการออกแบบดิจิทัล ร้อยละ 10 เครื่องมือ เทคนิค และแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ในการออกแบบ จำลอง และวางแผนผลิตภัณฑ์เครือข่ายการจัดหา ร้อยละ 11 เทคโนโลยีและสมรรถนะที่ส่งเสริมการจัดหาและการจัดส่งทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ การผสมผสาน ร้อยละ 6 สาขางานที่กว้างขวางและครอบคลุมหลากหลายขอบเขตมากขึ้น

เราพบว่า ทักษะ เครื่องมือ และสาขาความรู้ที่ส่งเสริมอาชีพของบุคลากร การดำเนินงานของบริษัท และการเพิ่มมูลค่าการพัฒนาตำแหน่งหน้าที่ทำให้เกิดความหลากหลายและมีความสำคัญอย่างมาก ตำแหน่งหน้าที่ในอนาคตมีมากมายและครอบคลุมสาขาต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น เจ้าหน้าที่เทคนิคบริการ ผู้เชี่ยวชาญการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ วิศวกรหุ่นยนต์ สถาปนิกทางด้านข้อมูล นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการการผลิตแบบดิจิทัล นักวางแผนกลยุทธ์ห่วงโซ่อุปทาน ผู้จัดการสื่อสารโครงการ สถาปนิกสำเนาข้อมูล ผู้จัดการรายการเครือข่ายดิจิทัล นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ผู้จัดการชุมชนนักปฏิบัติ ผู้ฝึกสอนด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ผู้ดูแลองค์ความรู้และนักจริยธรรม แต่ละงานในอุตสาหกรรมการผลิตที่ล้ำหน้าทำให้เกิดงานเพิ่มเติมอีกสามถึงห้าตำแหน่งในเครือข่ายการจัดหา ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของแต่ละขอบเขตทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอย่างมากระหว่างพื้นที่ผลิตและขอบเขตการผลิตแบบดิจิทัล ร้อยละ 28 ของตำแหน่งหน้าที่ใหม่จาก 165 ตำแหน่งอยู่ในขอบเขตนี้

ผลกระทบต่อแรงงานในการปรับตัวสู่การเปลี่ยนผ่านในขณะที่ขอบเขตต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อองค์กร แรงงานจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในภาคการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ภายในขอบเขตทั้งเจ็ดประเภท เราสามารถสร้างแผนผังตำแหน่งหน้าที่เฉพาะได้จากผลกระทบที่ขอบเขตนั้น ๆ มีต่อองค์กรและวิธีการที่แต่ละขอบเขตเชื่อมโยงกัน อุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องมีแรงงานที่เป็นผู้บุกเบิกเกือบหนึ่งในสี่เพื่อนำเสนอแนวคิดและกระบวนการที่จะกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงได้ เกือบหนึ่งในห้าจะทำหน้าที่เป็นหลักสำคัญที่จะนำกระบวนการมาใช้สร้างกลยุทธ์ ในขณะที่ร้อยละ 60 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดจะเป็นผู้ผลิตซึ่งรับผิดชอบผลิตผล ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและการดำเนินงานในชีวิตประจำวัน 5 ตำแหน่งหน้าที่ของผู้ผลิตมีอยู่ในทุกขอบเขตนับตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงไอทีและพื้นที่การผลิต ภายในขอบเขตทั้งเจ็ดประเภท เราสามารถสร้างแผนผังตำแหน่งหน้าที่เฉพาะได้จากผลกระทบที่ขอบเขตนั้น ๆ ที่มีต่อองค์กรและวิธีการที่แต่ละขอบเขตเชื่อมโยงกัน

เพื่อให้การเพิ่มทักษะให้แก่บุคลากรสายงานผลิตในอนาคตทั้งในแง่ความเร็วและความกว้างขวาง เราจำเป็นต้องใช้วิธีฝึกอบรมรูปแบบใหม่ จากประสบการณ์ของเรา การพัฒนาทักษะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะได้รับจากหลักสูตรการรับรองที่มีระยะเวลาสั้นประมาณหกเดือนหรือน้อยกว่า ผู้ได้รับการฝึกจะสามารถรักษาทักษะไว้ได้มากยิ่งขึ้นหากทำการฝึกควบคู่ไปกับการฝึกงานจริง จากกรณีศึกษา การปฏิบัติการเพิ่มทักษะเพื่อช่วยให้อดีตทหารผ่านศึกสามารถใช้ทักษะทางการทหารของตนในตำแหน่งหน้าที่ที่นายจ้างไม่สามารถหาได้ แมนพาวเวอร์กรุ๊ปและร็อกเวล ออโตเมชั่นได้เปิดหลักสูตรใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในปี พ.ศ. 2560 สถาบันการผลิตขั้นสูง (เอเอเอ็ม) เพื่อพัฒนาทักษะให้แก่ทหารผ่านศึกสหรัฐฯกว่า 1,000 นายในแต่ละปีเพื่อทำงานในสายงานผลิตดิจิทัลที่มีความต้องการและต้องใช้ความเชี่ยวชาญในระดับสูง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ทักษะเพิ่มขึ้นจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับการเรียนรู้ มีการฝึกอบรมจากการทำงานจริง รวมถึงฝึกฝนทักษะการสื่อสารและประสานงาน หลังสิ้นสุดระยะเวลา 12 สัปดาห์ หลักสูตรให้การรับรองและทำให้เกิดการจ้างงานที่ให้ค่าตอบแทนเป็นที่น่าพอใจและยั่งยืนในตำแหน่งเจ้าหน้าที่เทคนิคควบคุมระบบอัตโนมัติและเครื่องมือ จากผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามรุ่นนับตั้งแต่เริ่มหลักสูตรเอเอเอ็ม ทหารผ่านศึกกว่าร้อยละ 95 สำเร็จหลักสูตรและกว่าร้อยละ 80 ได้รับข้อเสนอการจ้างงานจากนายจ้างบริษัทชั้นนำทันที รูปแบบนี้ถือเป็นต้นแบบการพัฒนาทักษะของบุคลากรเพื่อให้สามารถหางานได้ในระยะยาว

ส่วนอีกกรณีศึกษาหนึ่งเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพสำหรับตำแหน่งหน้าที่ที่เป็นที่ต้องการ แมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้เปิดสถาบันพัฒนาทักษะผู้เชี่ยวชาญในตอนเหนือของประเทศอิตาลีชื่อว่า เอ็กซ์พีริส เทค อคาเดมี เพื่อสร้างทักษะใหม่ให้แก่บุคลากรที่ถูกให้ออกจากงานในภาคการผลิตสิ่งทอเพื่อให้พวกเขาได้มีทักษะการทำงานที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์หรูต้องการ เอ็กซ์พีริส เทค อคาเดมี ถูกพัฒนาขึ้นร่วมกับดัลลาร่า ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำในยุโรป หลักสูตรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาแรงงานในภาคการผลิตสิ่งทอให้มีทักษะในการเคลือบเส้นใยคาร์บอน จากนั้นได้ขยายออกไปเป็นหลักสูตรการพัฒนาทักษะทดแทนเพื่อตำแหน่งหน้าที่อื่นที่เป็นที่ต้องการ เช่น นักออกแบบ CAD วิศวกรอากาศพลศาสตร์ นักวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของพาหนะ ผู้สร้างเครื่องยนต์ โปรแกรมเมอร์ ผู้จัดการโครงการ และผู้เชี่ยวชาญด้านไอที จากการศึกษา พบว่า การฝึกอบรมดำเนินการร่วมกับการฝึกงานจริงและการเรียนรู้เสมือนจริงและในห้องเรียน เส้นทางการเรียนรู้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของแต่ละบุคคลโดยผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถลงทะเบียนเรียนในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์หรือช่วงค่ำเป็นระยะเวลา 3-6 เดือนเพื่อเพิ่มทักษะด้านเทคนิคให้รวดเร็วขึ้นได้

ระบบดิจิทัลและระบบอัตโนมัติมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่ในทุกภาคส่วนและภาคอุตสาหกรรม เพื่อช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตัวได้ แมนพาวเวอร์กรุ๊ปมีพันธสัญญากับพันธมิตรของเราหลายแสนรายเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาทักษะของพวกเขาผ่านโครงการมายพาธ ในการสร้างเส้นทางอาชีพที่สามารถปรับเปลี่ยนได้สำหรับพันธมิตรของเราแต่ละกลุ่มเพื่อช่วยเพิ่มทักษะและส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพและความเติบโตด้านอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงไอที การผลิต และการดำเนินธุรกิจ การผสมผสานการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การได้รับเกียรติ และการฝึกฝนเป็นการรับรองว่าทักษะด้านเทคนิคและการทำงานจะให้รางวัลคุ้มค่าแก่พนักงานในอนาคต มายพาธเริ่มต้นในสหรัฐฯ และขยายออกไปในประเทศอื่น ๆ เช่น ฝรั่งเศสและอินเดีย ซึ่งช่วยให้บุคลากรหลายพันคนได้เพิ่มพูนทักษะและมีรายได้ที่สูงขึ้น ดังนั้น บุคลากรต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอเพื่อให้มีทักษะความรู้ที่เป็นที่ต้องการและสามารถอยู่ในตลาดงานได้ต่อไป

การเป็นโรงงานแห่งอนาคต ไม่ได้เป็นเพียงการพัฒนา ปรับเปลี่ยนภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว หากแต่จะเป็นการปลดล็อคของประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาด้านภาคอุตสาหกรรมการผลิต การพัฒนาด้านแรงงาน ให้เป็นแรงงานที่มีทักษะคุณภาพตรงตามความต้องการ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในเชิงเศรษฐกิจ หากแต่วันนี้ต้องขับเคลื่อนเดินหน้าไปด้วยกัน ทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนภาคการศึกษาที่ต้องมองแผนการพัฒนาในระยะยาว ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ต้อง!!!

- พัฒนากลยุทธ์เชื่อมโยงแรงงาน แรงงานที่มีทักษะ ที่เหมาะสม สร้างแรงงานคุณภาพเหมาะสำหรับภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และมีการวางแผนต่อยอด

- ระบุทักษะที่จะมีความสำคัญในระยะสั้น, กลาง และยาว สร้างแผนผังตำแหน่งขอบเขตที่ชัดเจน เหมาะสมกับตำแหน่งงาน สามารถใช้ข้อมูลในการระบุทักษะตามความต้องการ

- ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการทำงานในอนาคต ทั้งในด้านของภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ ด้านแรงงาน และเศรษฐกิจของประเทศ

เกี่ยวกับงานวิจัย

เอ็มเอ็กซ์ดี ชื่อเดิม ดีเอ็มดีไอไอ โดยความร่วมมือของแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้ทำการวิจัยภาคการผลิตโดยรวมเพื่อระบุสาขาที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะมากที่สุดและรวดเร็วที่สุด และจัดทำเครื่องมือพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับอนาคตดิจิทัลของตนได้ เรายินดีที่สามารถแบ่งปันข้อมูลนี้ให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตเมื่อไม่นานมานี้ ความท้าทายที่สำคัญสำหรับภาคการผลิตคือกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งต้องใช้เงินทุนมหาศาล ต้องใช้ในการกำหนดเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้และวิธีจัดการการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน อันที่จริงแล้วคณะกรรมการบริหารยังคงหารือเรื่องการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติ และการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเต็มรูปแบบอยู่ในการสร้างมูลค่าจากเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้อย่างกว้างขวางนั้นองค์กรต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะ และทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีแบบใหม่และการฝึกอบรมที่รวดเร็วเพื่อเพิ่มทักษะทดแทนให้แก่แรงงานทั่วโลก

เกี่ยวกับแมนพาวเวอร์กรุ๊ป

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป(R) (ชื่อในตลาดหลักทรัพย์: เอ็มเอเอ็น) เป็นผู้นำด้านโซลูชั่นแรงงานระดับโลกที่ช่วยให้องค์กรก้าวเข้าสู่โลกแห่งงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยการค้นหา ประเมิน พัฒนา และจัดการบุคลากรผู้มีทักษะสูงเพื่อให้องค์กรได้รับผลประโยชน์สูงสุด เราพัฒนาโซลูชั่นแบบใหม่เพื่อองค์กรหลายแสนแห่งในแต่ละปี จัดหาบุคลากรที่มีทักษะความสามารถสูง ในขณะที่ค้นหาการจ้างงานที่มีความเหมาะสมและยั่งยืนให้แก่บุคลากรหลายล้านรายในทุกอุตสาหกรรมและทักษะ กลุ่มบริษัทของเราประกอบด้วย แมนพาวเวอร์(R) เอ็กซ์พีริส(R) ไรท์ แมเนจเม้นท์(R) และแมนพาวเวอร์กรุ๊ป(R) โซลูชั่น ซึ่งสร้างมูลค่าให้แก่ผู้สมัครและลูกค้าของเราในกว่า 80 ประเทศและอาณาเขตมาเป็นเวลากว่า 70 ปี ในปี พ.ศ. 2562 แมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่น่าชื่นชมที่สุดของฟอร์จูนเป็นปีที่สิบเจ็ดและเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีจริยธรรมสูงสุดในโลกเป็นปีที่สิบ ซึ่งเป็นการยืนยันว่าเรามีสถานะที่น่าเชื่อถือที่สุดในอุตสาหกรรม

เกี่ยวกับเอ็มเอ็กซ์ดี

เอ็มเอ็กซ์ดี (แมนูแฟคเจอริ่งและดิจิทัล) เป็นที่ที่ผู้ผลิตเชิงสร้างสรรค์มาค้นหาอนาคตของตนเอง โดยความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม เอ็มเอ็กซ์ดี ได้จัดหาเครื่องมือและความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลให้แก่โรงงานของกองทัพเพื่อก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พันธมิตรของเรากว่า 300 รายมีความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น มีการเติบโตทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น และสร้างนักรบที่เข้มแข็งให้กับประเทศ เอ็มเอ็กซ์ดีได้ลงทุนมูลค่ากว่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกว่า 60 โครงการในสาขาต่าง ๆ เช่น การออกแบบ การพัฒนาการผลิต วิศวกรรมระบบ โรงงานในอนาคต ห่วงโซ่อุปทานที่รวดเร็วและมั่นคง รวมถึงการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ สถาบันดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมที่มีพื้นที่เกือบ 100,000 ตารางฟุต พื้นที่โรงงานมีอุปกรณ์การผลิตที่ล้ำสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งพันธมิตรสามารถใช้เพื่อทำการทดลองและฝึกอบรมเสมือนจริงรวมถึงการใช้เทคนิคจำลองสถานการณ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี