เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้บริหารจากวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ และเครือข่ายเยาวชน นำโดยสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) พร้อมด้วยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกัน แถลงข่าวโครงการจัดประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์รณรงค์ป้องกันนักพนันหน้าใหม่และลดผลกระทบ จากการพนันออนไลน์ หัวข้อ "รู้เท่าทันพนันรอบตัว" เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้เยาวชนใน สถานศึกษา และเครือข่ายอาชีวะสร้างสรรค์ ได้ตระหนักรู้ถึงสถานการณ์การพนันในสื่อออนไลน์ ปัจจัย เสี่ยงและผลกระทบจากการพนันออนไลน์ โดยมี พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อานวยการสถาบันราชานุ กูล และนายธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่ง เป็นโครงการที่ สสส. สนับสนุนให้สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายเยาวชนและ หน่วยงานภาครัฐจัดขึ้น โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) และมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เป็นสถาบันการศึกษานำร่อง
นายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการผลิตสื่อสร้างสรรค์ "รู้เท่าทันพนันรอบตัว" ว่า "ด้วยภารกิจและหน้าที่ของ สสส. ใน การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้สังคม เรามีการสื่อสารรณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยงหลักทางสุขภาพ ทั้งเรื่อง แอลกอฮอล์ ยาสูบ และสารเสพติดต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ และในปัจจุบันก็มุ่งเน้นการรณรงค์เรื่องการพนันและการพนัน ออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่ส่งผลกระทบอย่างมากในหลายด้าน ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต เสียการเรียน และนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาชญากรรม สสส. จึงสนับสนุนให้เครือข่ายเยาวชนเข้ามามีบทบาทและเป็นกลไกสำคัญในการร่วมรณรงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนักพนันหน้าใหม่เช่นกัน การประกวดสื่อสร้างสรรค์ในครั้งนี้จะเป็นเครื่องมือ ที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการสื่อสารกับเพื่อนเยาวชนในวัยเดียวกัน เพราะการให้ผู้ใหญ่หรือใคร ๆ มา บอกเยาวชนก็สู้เพื่อนๆ รุ่นราวคราวเดียวกันช่วยกันบอกต่อแนะนำตักเตือนกันเองไม่ได้ สสส. หวังว่า กิจกรรมนี้จะได้ผลงานสื่อสร้างสรรค์ประเด็นพนันที่สร้างการรู้เท่าทันให้กับเด็กและเยาวชนในวงกว้าง"
ด้านเรืออากาศเอก ดร.สุริยะ ศึกษากิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง สาธารณสุข กล่าวถึงผลกระทบจากการพนันในเด็กและเยาวชนที่รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลอย่างจริงจังว่า "วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความสุ่มเสี่ยงและตกเป็นเหยื่อของการพนันได้ง่าย องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า พฤติกรรมการติดการพนันเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Pathological Gambling หรือ โรคเสพติดพนัน กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าการพนันเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ที่รัฐบาลไม่ควร ปล่อยผ่าน เพราะถ้าสถานการณ์การติดพนันในกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าบุคลากรของ ประเทศในอนาคตจะมีคุณภาพที่แย่ลง และจากข้อมูลทางสาธารณสุขพบว่า เยาวชนที่ติดการพนันมี ภาวะเสี่ยงสูงในการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีปัญหาทางจิต ซึมเศร้า ครอบครัวแตกแยก ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายเยียวยาเยาวชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการพนัน โดยสามารถ ปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิตได้ที่ โทร. 1323 "กระทรวงศึกษาธิการได้ให้การสนับสนุนเด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงนอก ห้องเรียน โดยกิจกรรมการผลิตสื่อเผยแพร่ในโลกออนไลน์จะมีส่วนสาคัญในการที่เด็กจะลงไปเรียนรู้และ ลงมือผลิตสื่อด้วยตนเอง และนาประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เด็กนักเรียนคุ้นชินกันอยู่แล้ว มาสร้างองค์ ความรู้เผยแพร่ไปยังสถาบันการศึกษาอื่น ๆ เพื่อช่วยกันรณรงค์ในมิติป้องกันปัญหาการพนันในเด็กและ เยาวชนได้" นายกนัติพจน์ สิริภักดิสกลุ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว
สำหรับนายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) กล่าวว่า "ในปี 2563 เยาวชนต้องเผชิญความเสี่ยงจากพนันออนไลน์ในเทศกาลฟุตบอลยูโร 2020 กันอีก ครั้ง การผลิตสื่อรู้เท่าทันพนันรอบตัว ร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) และ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพในครั้งนี้ จะทำให้น้อง ๆ ได้ตระหนักและเฝ้าระวังตนเองไม่หลงเป็นเหยื่อของ การพนันออนไลน์ เพราะผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะต้องคิดวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะ ดิจิทัลในการสื่อสารข้อมูลนั้นออกด้วยตนเองได้อย่างน่าสนใจ และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย นับเป็นการ สื่อสารแบบที่เพื่อนเตือนเพื่อนด้วยกัน ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ" กิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์ "รู้เท่าทันพนันรอบตัว" เปิดรับผลงานตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. 2562 ถึง 29 ม.ค. 2563 โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ประเภทสื่ออินโฟกราฟิก หรือภาพนิ่ง และประเภท สื่อวิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเยาวชนผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tyithailand.or.th หรือ โทร. 02 120 7290