นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวว่า สนอ. มีแนวทางการเฝ้าระวังโรคในแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 โรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ.2558 โดยติดตามสถานการณ์ของโรคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินความเสี่ยง และจัดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ จากนั้นจะนำข้อมูลรายงานผู้บริหาร กทม. เพื่อพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน Emergency Operation Center รวมทั้งจัดทำหนังสือแจ้งเตือนหน่วยงานและเครือข่าย ขณะเดียวกันจะดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมโรคตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 หมวด 5 การเฝ้าระวังโรคติดต่อ และหมวด 6 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ สำหรับกลุ่มที่ 2 โรคติดต่อที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ จะดำเนินการเฝ้าระวังตามระบบรายงาน 506 มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินความเสี่ยง จัดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ และทำหนังสือแจ้งเตือนหน่วยงานและเครือข่าย พร้อมทั้งรายงานให้ผู้บริหารกทม. ทราบ เพื่อพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน และกลุ่มที่ 3 โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (เชื้อไวรัส 600 ชนิดที่ไม่ทราบชื่อ) มีการประสานงานหน่วยงานข้อมูลการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินความเสี่ยง และจัดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ก่อนทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานและเครือข่าย รวมถึงรายงานผู้บริหาร กทม. เพื่อพิจารณาเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินต่อไป
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กทม.เปิดศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอุบัติใหม่ พร้อมติดตามสถานการณ์โควิด 19 สายพันธุ์ XBB ใกล้ชิด
- ธ.ค. ๒๕๖๗ กทม.เน้นย้ำกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วยลดความรุนแรงของโรค
- ธ.ค. ๒๕๖๗ รพ.กทม.เตรียมพร้อมมาตรการป้องกันควบคุมโรคฝีดาษลิง - เฝ้าระวังการแพร่ระบาดในสวนสัตว์อย่างใกล้ชิด