'เส้นใยธรรมชาติ’ เพิ่มมูลค่าใบสับปะรด สร้างรายได้เกษตรกร จ.ราชบุรี

อังคาร ๐๗ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๑:๒๘
นายพลเชษฐ์ ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าปัจจุบัน ผลผลิตโดยตรงจากอุตสาหกรรมเกษตรส่วนใหญ่ จะใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยวัตถุดิบทางการเกษตรบางส่วน จะเหลือทิ้ง ซึ่งวัตถุดิบเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นได้ เช่น ใบสับปะรด เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่เหลือทิ้ง ในภาคการเกษตร ในการปลูกสับปะรดรุ่นหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี หลังจากนั้นเกษตรกรจะรื้อถอนแปลงออกด้วยการถอนต้นแล้วเผาซึ่งเป็นการสร้างมลพิษทำลายสิ่งแวดล้อม หรือใช้วิธีปั่นต้นแล้วตากให้แห้งและไถฝังกลบ เป็นปุ๋ยทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ โดยภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้นำวัตถุดิบเหลือทิ้งเหล่านี้มาทำเป็นเส้นใยธรรมชาติ เป็นการสร้างมูลค่าให้กับใบสับปะรด

จากการสำรวจของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 10 จังหวัดราชบุรี (สศท.10) ในพื้นที่ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โดยสัมภาษณ์นายสมชาย อุไกรหงสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา พบว่า เกษตรกรในพื้นที่มีการร่วมกลุ่มผลิตเส้นใยธรรมชาติจากใบสับปะรดมาตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 22 ราย ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจฯ จะนำใบสับปะรดที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ประมาณ 5,000 กก./ไร่ มาผลิตเส้นใยสับปะรด โดยจะรับซื้อใบสับปะรดจากสมาชิกกลุ่ม ในราคากิโลกรัมละ 2 บาท จำนวน 700 – 1,000 กก./วัน จากนั้นจะนำมาคัดแยกใบ ที่มีขนาด 50 ซม. ขึ้นไป แล้วตัดแต่งส่วนโคนและปลายใบออกเพื่อนำเข้าเครื่องรีดเอากากของใบออกจนเหลือแต่เส้นใย แล้วพักไว้ 1 คืน จึงนำมาซักน้ำเปล่าจนสะอาดนำไปตากแดดประมาณ 2 วัน หรือตากในร่มที่มีอากาศถ่ายเทประมาณ 3 วัน หลังจากนั้นนำมาเข้าเครื่องรีดเพื่อแยกเส้นใยอีกครั้ง จะได้เส้นใยพร้อมส่งจำหน่าย ซึ่งจุดเด่นของผลผลิตอยู่ที่การเป็นเส้นใยธรรมชาติ ปราศจากสารเคมี ไม่ใช้สารฟอกขาว ผงซักฟอก หรือเคมีอื่นๆ

สำหรับด้านการตลาด ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 260 – 300 บาท/กก. ร้อยละ 50 ขายส่งและขายปลีกตลาดในประเทศ ได้แก่ ตลาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มแม่บ้าน และลูกค้าทั่วไป ส่วนร้อยละ 50 ส่งออกตลาดต่างประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย นอกจากนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ อยู่ในช่วงของการทดลองนำเส้นใยมาทอเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อนำไปตัดเย็บเสื้อผ้า กระเป๋า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้า และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย

ด้านนางจินตนา ปัญจะ ผู้อำนวยการ สศท.10 กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันกลุ่มผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา สามารถผลิตเส้นใย ได้ 300 กก./เดือน แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทางกลุ่มฯ จึงมีแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่ม เพื่อให้ได้ผลผลิต ที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในอนาคต นอกจากนี้ ทางกลุ่มฯ กำลังทดลองและพัฒนาเครื่องรีดแบบอัตโนมัติเพื่อลดปัญหาด้านแรงงานอีกด้วย ซึ่งหากมีการขยายกำลังผลิตได้ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มจากการขายใบสับปะรด ประมาณ 8,000 – 10,000 บาท/ไร่ ซึ่งขณะนี้ มีกลุ่มพ่อค้าและกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่สนใจเข้ามาติดต่อขอรับซื้อล่วงหน้าจำนวนหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ เกษตรกรหรือท่านใดที่สนใจข้อมูลการผลิตเส้นใยจากใบสับปะรด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายสมชาย อุไกรหงสา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเส้นใยธรรมชาติบ้านคา ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โทร. 08 9837 9257

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๔ EXIM BANK ร่วมประชุมประจำปีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าในเอเชีย ครั้งที่ 29 สานพลังองค์กรพันธมิตรส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ
๑๐:๔๐ GUNKUL ท็อปฟอร์ม! เสิร์ฟกำไรQ3/67 โตทะยาน 12.17% มั่นใจอนาคตธุรกิจแข็งแกร่ง อานิสงส์แผน PDPหนุน เดินหน้าลุยโครงการพลังงานทดแทนต่างประเทศต่อยอดธุรกิจติดปีก
๑๐:๐๖ AIS โชว์ศักยภาพความเชื่อมั่นนักลงทุน ประสบความสำเร็จการขายหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน มูลค่ารวม 25,000 ล้านบาท
๑๐:๓๔ เปิดตัว สี่หยางหยาง-เล่อหรงหรง คู่หูมาสคอตสุดคิ้วท์ประจำการแข่งขันกีฬาแห่งชาติจีน ครั้งที่ 15
๑๐:๕๑ คาด ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพ-ปริมณฑล ปี 67 ลบ 10%-40%(YoY)
๑๐:๐๐ โรงแรมแคนทารี บ้านฉาง สนับสนุนรางวัลการจัดงานวิ่ง ระยอง แฟนซีรัน
๑๐:๕๗ แคนนอนบุกตลาดงานบรอดคาสต์และโปรดักชันระดับมืออาชีพ ยกทัพกลุ่มผลิตภัณฑ์ Professional VDO Broadcasting พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ กล้องถ่ายภาพยนตร์ EOS C400 และ EOS
๐๙:๐๐ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ เชลล์ชวนชิม สานต่อเทศกาลอาหารสุดยิ่งใหญ่ จัด IMPACT X เชลล์ชวนชิม 2 ยกขบวนกว่า 60 ร้านดังทั่วประเทศ ปรุงเมนูเด็ด ณ ลานหน้าอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เริ่มวันที่ 29
๑๐:๐๘ PRINC เทิร์นอะราวน์ รายได้ Q3/67 ทะลุ 1,600 ล้าน ผลจากผู้ป่วยโตทุกกลุ่ม - ทุกรพ. กำไรพุ่ง 748 ล้าน หลังรับรู้กำไรขายอสังหาฯ
๑๐:๐๕ 15-17 พ.ย. นี้ เตรียมพบกับมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการอุตสาหกรรมเกมไทย ในงาน Thailand Game Festival 2024