กทม.แนะประชาชนลดปัจจัยเสี่ยง Sick Building Syndrome

อังคาร ๑๔ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๖:๕๔
นายชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวกรณีสื่อมวลชนเสนอบทความ เมืองแห่งโอกาส..แต่ไม่น่าอยู่ (กทม.) ระบุเนื้อหาวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจว่า ปัจจุบันคนในสังคมใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ด้านเกิดความเคร่งเครียดอยู่ตลอดเวลาส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ อีกทั้งประชาชนส่วนใหญ่ทำงานในตึกหรือภายในอาคารที่มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่เหมาะสมรวมทั้งปัจจัยทางจิตสังคมส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับอาคารที่เรียกว่า Sick Building Syndrome (SBS) หมายถึงภาวะผิดปกติด้านสุขภาพ ทางระบบตา ระบบทางเดินหายใจ ระบบผิวหนัง อาการทั่วไปที่เกิดขึ้นคล้ายๆกลุ่มคนทำงานในอาคารที่มีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่อยู่ในอาคาร แต่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้ ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อออกนอกอาคาร โดยมีปัจจัยจากอุณหภูมิ แสง เสียง การสั่นสะเทือน การระบายอากาศ มลพิษเช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัญหาน้ำรั่วซึม ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ไม่เหมาะสม ซึ่งควรเพิ่มอัตราการระบายอากาศ โดยจัดให้มีพัดลมดูดอากาศ จัดผังองค์กร แยกส่วนที่ชัดเจนลดแหล่งกำเนิดพิษ หลีกเลี่ยงการสัมผัส ลดความเครียดจากการทำงานพักสายตา ออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนการเจ็บป่วยที่เกิดจากอาคาร (Building Related Illness) เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานในอาคารที่สามารถระบุสาเหตุของการเจ็บป่วยได้ เช่น วัณโรค เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อแบคทีเรีย ทั้งนี้ เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานในออฟฟิศ ลดการเจ็บป่วยด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม สำนักอนามัยได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคคนวัยทำงานในสถานประกอบการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวปฏิบัติในการป้องกันและลดการเกิดออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนออกหน่วยคัดกรองสุขภาพในสถานประกอบการ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ พร้อมทั้งให้ความรู้ในการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ในส่วนของปัญหามลพิษทางอากาศในอาคารที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยของประชาชนที่ผ่านมาสำนักอนามัยได้จัดบริการตรวจวัดคุณภาพอากาศในอาคารสาธารณะต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข และอาคารสำนักงานต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการในอาคารนั้น ส่วนอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า มีการดำเนินการภายใต้โครงการ Bangkok Clean and Green เพื่อให้อาคารสาธารณะเหล่านี้ มีการจัดการด้านความสะอาด ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดีไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายแก่ประชาชนผู้ใช้บริการในอาคารสาธารณะนั้น นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จะมีการสัมมนาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่กว่า 200 แห่ง เพื่อกำหนดมาตรการในการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมภายในอาคารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เป็นการป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการหม้อไอน้ำเพื่อลดการปล่อยฝุ่นละอองและมลพิษอากาศออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version