“นายกฯ” คิกออฟแคมเปญ “ยุวชนสร้างชาติ” เปิดทำเนียบรับ 500 ยุวชนไทย นำพลังเยาวชนไทยขับเคลื่อนประเทศสู่ศตวรรษที่ 21

พุธ ๑๕ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๕:๐๖
"นายกฯ" คิกออฟแคมเปญ "ยุวชนสร้างชาติ" เปิดทำเนียบรับ 500 ยุวชนไทย นำพลังเยาวชนไทยขับเคลื่อนประเทศสู่ศตวรรษที่ 21 ผ่าน 3 โครงการหลัก ยุวชนอาสา-บัณฑิตอาสาและกองทุนยุวสตาร์ทอัพ ด้าน"สุวิทย์" ขานรับนโยบาย ชูแนวคิดปฎิรูปการเรียนรู้สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน ใช้นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำชุมชน นำร่องยุวชนลงพื้นที่พัฒนา จ.กาฬสินธุ์ 1 ใน 4 จังหวัดยากจนของประเทศ

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดตัวแคมเปญ "ยุวชนสร้างชาติ" ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พร้อมให้โอวาทนักศึกษาที่เข้าร่วมจากโครงการยุวชนอาสา จำนวน 500 คน จาก 7 มหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมกันนี้ยังได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานโครงการยุวชนอาสาระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ 7 มหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า โครงการยุวชนสร้างชาติ นับเป็นหนึ่งในยุธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศและเป็นโครงการสำคัญในการปฎิรูปประเทศไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการใช้พลังเยาวชนไทยเป็นกุญแจหลักในการขับเคลื่อนประเทศ พร้อมทั้งปฏิรูประบบการเรียนรู้สร้างประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้ยุวชนนำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีไปพัฒนาพื้นที่ชนบท พร้อมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์และผู้ประกอบการยุคใหม่อีกด้วย

ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนและจริงจัง คือ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีทั้ง "ทักษะทางวิชาการ (Hard Skill)" และ "ทักษะทางอารมณ์และสังคม (Soft Skill)" รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคม และศักยภาพที่จะดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น กระทรวง อว. นับถือเป็นกระทรวงสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เนื่องจากเป็นการหลอมรวมหน่วยงานวิจัยของประเทศและสถาบันอุดมศึกษามาเพิ่มพลังทวีคูณในการเติมเต็มศักยภาพของคนไทยให้สามารถเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมและความรู้เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน

ด้าน ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยว่า โครงการยุวชนสร้างชาติ ประกอบด้วย 3 โครงการหลัก ได้แก่ 1. โครงการยุวชนอาสา: สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 กลุ่มละ 8-10 คนแบบคละศาสตร์ (วิทย์-สังคม) เรียนรู้และพักอาศัยในชุมชนเป็นเวลา 1 ภาคเรียน (4-5 เดือน) และได้รับหน่วยกิตเทียบเท่าการเรียนในชั้นเรียนทั้งภาคเรียน 2. โครงการบัณฑิตอาสา: สำหรับบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 ปี กลุ่มละ 8-10 คนแบบคละศาสตร์ (วิทย์-สังคม) ลงพื้นที่พักอาศัยและทำโครงการในชุมชนเป็นระยะเวลา 12 เดือน และ ¬3.โครงการกองทุนยุวสตาร์ทอัพ : สำหรับนักศึกษาและบัณฑิตจบใหม่ที่มีความสนใจเป็นผู้ประกอบการ และต้องการรวมกลุ่มกันจัดตั้ง Start-up

โดยโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้วคือ โครงการยุวชนอาสา ซึ่งได้เลือกจังหวัดกาฬสินธุ์ถือเป็นจังหวัดนำร่องในการดำเนินโครงการนี้ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ติด 1 ใน 4 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศ มีสัดส่วนคนยากจนสูงถึง 31.99 % ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษาผ่านการคัดเลือก จำนวน 83 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 83 ตำบล ใน 15 อำเภอ จาก 134 ตำบล ใน 18 อำเภอ ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน 1 ภาคการศึกษา โดยประเด็นการพัฒนา คลอบคลุม 4 ด้านได้แก่ 1.พัฒนาศักยภาพที่มุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย 2. ยกระดับคุณภาพและรายได้ด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมการค้า การลงทุน 3. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4.การพัฒนาทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมที่มีความมั่นคงและสงบสุข

นอกจากนี้ ภายในงานนักศึกษายังได้นำเสนอผลงานในการร่วมพัฒนาชุมชนต่อนายกรัฐมนตรีฯ จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย 1. การสร้าง Smart Farmer ไทยด้วย IoT (Internet of Thing) : โครงการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยีอบพริกแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบ IoT โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2. การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ : การบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3. โครงการสู่ 'นาบอนโมเดล' การท่องเที่ยวชุมชนเทคโนโลยี 4.0 โดย มหาวิทยาลัยศรีปทุม 4. จากขยะสู่หนอนสู่โปรตีนเลี้ยงสัตว์คุณภาพสูง : โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากหนอนแมลงวันลาย (ย่อยขยะอินทรีย์) ให้เป็นโปรตีนเลี้ยงสัตว์คุณภาพสูง โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร และ 5. หมู่บ้านต้นแบบผ้าทอพื้นเมืองตามอัตลักษณ์ผู้ไทเพื่อสุขภาพ โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย