ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตายละจังหวัดเชียงใหม่

จันทร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๖:๑๓
กรมชลประทาน ลุยศึกษาวิเคราะห์ EIA โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตายละ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพิ่มพื้นที่ชลประทานกว่าหมื่นไร่

นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามที่ราษฎรในพื้นที่ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้เสนอแผนงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ตายละผ่านทางที่ว่าการอำเภอพร้าวมายังกรมชลประทานเมื่อปี 2542 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพแหล่งเก็บกักน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรให้แก่ราษฎรในพื้นที่ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ นั้น

ซึ่งปัจจุบัน กรมชลประทานกำลังศึกษาโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อ่างเก็บน้ำแม่ตายละ จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำโครงการอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 จึงเป็นโครงการที่เข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้หัวงานและอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ซ้อนทับป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งัด เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดแนวทางป้องกัน แก้ไขและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ จึงได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัท ซิกม่า ไฮโดร คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท ครีเอทีฟ เทคโนโลยี จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ผ่านมาจึงได้จัดประชุมขึ้นครั้งแรกเพื่อเผยแพร่ข้อมูลความเป็นมา วัตถุประสงค์ แนวทางขั้นตอนแผนการศึกษาโครงการ และจะมีการประชุมร่วมกันรวมทั้งหมด 4 ครั้ง คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ในปี 2563-2564 เร็วกว่าแผนงานที่ตั้งไว้ในปี 2566

โดยโครงการมีแผนดำเนินงานการจัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของการศึกษาด้านต่าง ๆ ได้แก่ ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการที่เหมาะสม และการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ รวมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อห่วงกังวลจากประชาชนในพื้นที่เพื่อนำข้อมูลไปประเมินผลกระทบจากการพัฒนาโครงการ พร้อมเสนอแนะมาตรการป้องกันแก้ไขและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้มีความครบถ้วน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของประชาชน

กรมชลประทานจึงขอเรียนเชิญพี่น้องประชาชนรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2563 เวลา 08.30-12.00 น. ณ หอประชุมวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยสอบถามรายละเอียดติดต่อ ฝ่ายวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ 1 สำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน โทร. 02-241 4421 หรือ มือถือ 064-630 5477

โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตายละ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มีที่ตั้งหัวงานและอ่างเก็บน้ำ อยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเก็บกักน้ำได้ประมาณ 23.99 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่ชลประทานสองฝั่งของลำน้ำแม่ขอดครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรในตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในฤดูฝนประมาณ 8,200 ไร่ ฤดูแล้งประมาณ 3,000 ไร่ นอกจากนั้นจะช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม รวมทั้งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของราษฎร ตลอดจนสัตว์เลี้ยงในฤดูแล้ง ทั้งยังทั้งยังเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๗:๐๐ เกษตรเขต 2 จับมือเกษตรจังหวัด 8 จังหวัด วางแผนขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2568 ในพื้นที่ภาคตะวันตก
๒๑:๔๒ เคาน์ดาวน์หลากบรรยากาศใจกลางกรุงเทพฯ ที่โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร กรุงเทพฯ
๑๙ ธ.ค. หนิง ปณิตา นำทีม Dr.master ปฏิวัติวงการสินค้าดูแลเส้นผม! ปั้น Creator ให้เป็น Hair Master ตัวจริง
๒๐:๔๖ นักศึกษา มจพ.คว้า 2 เหรียญทอง หมากรุกไทยและหมากรุกอาเซียน กีฬาแห่งชาติ จันท์เกมส์ ครั้งที่ 49 ณ จังหวัดจันทบุรี
๑๙ ธ.ค. JAS Group จัดกิจกรรม JAS Virtual Run ก้าวสู่ปีที่ 42 อย่างยั่งยืน
๑๙ ธ.ค. เจียไต๋เดินหน้าจัด เจียไต๋ โซเชียล เดย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมพลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน
๑๙ ธ.ค. กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน อัลตร้า นอริชชิ่ง ลิป แอมพูล มาสก์ เติมความชุ่มชื้นให้ปากฉ่ำในช่วงฤดูหนาวนี้
๑๙ ธ.ค. 3 ร้านอาหารเครืออิมแพ็ค แนะนำเมนู Festive เชิญร่วมฉลองส่งท้ายปีกับเมนูแสนอร่อย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม
๑๙ ธ.ค. กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน กิฟฟี่ ฟาร์ม คิดส์ เจล ทูธเพสท์ สำหรับเด็กๆ
๑๙ ธ.ค. โคคา-โคล่า ไทยน้ำทิพย์ นำโรงงานรังสิตคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงาน ชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืนในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม