หัวข้อประจำปีนี้คือ "กีฬา"
คุณสมบัติของผู้เข้าประกวด
- มีอายุไม่เกิน 15 ปี ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563
- ส่งผลงานประกวดได้ 1 ชิ้น ต่อ 1 คน
- บทกวีไฮกุ : ต้องเขียนบทกวีและวาดภาพประกอบหรือทำงานศิลปะประดิษฐ์(ทั้งบทกวีและภาพวาดจะต้องอยู่ด้านเดียวกัน โดยวาดลงบนกระดาษขนาด A4 ผลงานต้องไม่ลอกเลียนแบบมาจากผลงานใด ๆ ทั้งสิ้นและผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน)
- ติดใบสมัครด้วยกาวที่ด้านหลังของผลงาน
**ปิดรับสมัคร 29 กุมภาพันธ์ 2563 โดยถือตราไปรษณีย์ที่ประทับบนซองเป็นสำคัญ**
**ประกาศผล เดือนมิถุนายน 2563 ที่เว็บไซต์แจลฟาวน์เดชั่น**
รางวัลในการประกวด : เจ้าของบทกวีที่ได้รับรางวัลดีเด่นที่สุด จะได้รับโล่รางวัลประทานจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และเจ้าของบทกวีที่ได้รับการคัดเลือกรางวัลดีเด่น รวมทั้งรางวัลดีเด่นที่สุด จะได้รับรางวัลอันได้แก่ ทุนการศึกษา, ใบประกาศเกียรติคุณจากสายการบินเจแปนแอร์ไลน์ และ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ พร้อมของที่ระลึกจากประเทศญี่ปุ่น
การส่งผลงาน : สามารถนำส่ง"ด้วยตนเอง"หรือ"ส่งผ่านโรงเรียน" โดยสามารถส่งทางไปรษณีย์ไปที่
บริษัท เจแปนแอร์ไลน์ จำกัด
ห้อง จี 2-076 ชั้น 2 คอนคอร์ส จี สนามบินสุวรรณภูมิ
ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทปราการ 10540
หรือ
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์
159 ถนนสุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110
เลือกส่งไปเพียงที่ใดที่หนึ่งเท่านั้นค่ะ โดยวงเล็บมุมซองว่า "ประกวดบทกวีไฮกุ"
สามารถโหลดเอกสารอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www.jal-foundation.or.jp/wch/16th/poster/thai.pdf
สามารถโหลดใบสมัครได้ที่
http://www.jal-foundation.or.jp/wch/16th/form/thai.pdf
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณสุภิลักษณ์ ควรอักษรพันธ์ บริษัทเจแปน แอร์ไลน์จำกัด โทร 02-134-2122
คุณศุภวัฒน์ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ โทร 0-2260-8560-3
-----------------------------------------------------
ไฮกุ เป็นลักษณะคำประพันธ์ของญี่ปุ่นที่อาจกล่าวได้ว่าสั้นที่สุดในโลก เพราะใน 1 บทประกอบด้วยถ้อยคำจำนวน 17 พยางค์ โดยแบ่งออกเป็น 3 บรรทัด บรรทัดละ 5, 7 และ 5 พยางค์ตามลำดับ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติ โดยหลักการของการเขียนไฮกุที่ดีนั้นมีอยู่ 4 ข้อคือ
1.ควรกล่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง หรือชั่วขณะหนึ่ง ไม่ควรกล่าวถึงช่วงเวลายาวนาน
2.เลือกใช้คำที่กระชับ ได้ใจความไม่ใช่คำเยิ่นเย้อ หรือคำขยายความ
3.ไม่พยายามใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย นอกจากคำเหล่านั้นจะช่วยเพิ่มความไพเราะในบทกลอน
4.วรรคสุดท้ายของไฮกุ มักจะมีถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกนึกคิดชั่วขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือจินตนาการของผู้ประพันธ์ก็ตาม
สรุปรวมแล้วก็คือ ไฮกุ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสองสิ่ง คือข้างนอกกับข้างใน ข้างนอกก็คือ การสัมผัสกับธรรมชาติ ข้างในก็คือ อารมณ์ความรู้สึกอันถ่องแท้ขณะสัมผัสกับธรรมชาตินั้น เมื่อใดก็ตามที่ผู้ประพันธ์สามารถหยิบคำมาได้ตรงกับความรู้สึกภายในที่จริงแท้ เมื่อนั้นบทกลอนไฮกุจะกินใจมากค่ะ
ถึงแม้ว่าบทกวีไฮกุเป็นของญี่ปุ่น! แต่ว่า...เราสามารถเขียนเป็นภาษาไทยได้ค่ะ!
บทกวีต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างผลงานที่ได้รับการคัดเลือกว่าดีเด่นในการประกวดที่ผ่านมาค่ะ
หัวข้อ "บ้าน"
หลังคาบ้านมุงแฝก
ลมพัดหลุดเปิดเป็นช่องโหว่
ฉันใช้แอบดูดาว
หัวข้อ "ลม"
พ่อนอนหลับตานิ่ง
หนูกับแม่กอดพ่อไว้แน่น
ลมหายใจหยุดแล้ว
หัวข้อ "โรงเรียน"
โรงเรียนเปิดวันแรก
พ่อเดินเข้าโรงรับจำนำ
หมูน้อยฉันถูกทุบ
หัวข้อ "เทศกาล"
ผีตาโขนน่ารัก
หวดน้อยแปลงร่างอยู่บนหัว
วันนี้งดนึ่งข้าว