สถาบันวิจัยยาง กยท. ยกทัพ! ทีมนักวิจัย พนักงาน และลูกจ้าง ประจำการ ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

พฤหัส ๒๓ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๕:๒๗
สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (สวย./กยท.) นำโดยหัวเรือใหญ่ส่วนงานวิจัยยางพาราของ กยท. ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย พร้อมทีมนักวิชาการ นักวิจัย พนักงาน และลูกจ้างจากสถาบันวิจัยยาง (เฉพาะส่วนกลาง) ย้ายที่ทำการเดิมจากพื้นที่เขตบางเขน พร้อมบริการ ณ ที่ทำการใหม่ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กยท. เปิดเผยว่า เดิมสถาบันวิจัยยางใช้พื้นที่ของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่บางเขน ในการปฏิบัติงานมาโดยตลอด จนเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีสำนักงานใหญ่ของ กยท. อยู่ที ถนนบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ดังนั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สถาบันวิจัยยาง จึงย้ายที่ทำการมาปฏิบัติงาน ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตั้งเดือนมกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

สถาบันวิจัยยางมีบทบาทภารกิจหลัก ได้แก่ งานด้านวิชาการ การค้นคว้า การศึกษาวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านยางพาราอย่างครบวงจร อาทิ การปรับปรุงพันธุ์ยาง เทคโนโลยีชีวภาพยาง การพัฒนาระบบกรีดยาง การเขตกรรมและการปลูกสร้างสวนยาง การจัดการธาตุอาหารพืช การอารักขาพืช การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการทำสวนยางพารา หรือ Good Agricultural Practices (GAP) การปลูกพืชผสมผสาน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช

การบริหารเงินทุนวิจัยของกองทุนพัฒนายางพาราตามมาตรา ๔๙ (๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และขยายผลในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น

ดร. กฤษดา กล่าวย้ำว่า "สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางหรือผู้ที่สนใจ ต้องการติดต่องานหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ สถาบันวิจัยยาง พร้อมให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยยางพารา ติดต่อได้ที่การยางแห่งประเทศไทย ชั้น 5 อาคาร 50 ปี ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ หรือศูนย์วิจัยยางภูมิภาคทั้ง ๕ แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยยางสงขลา ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ และศูนย์วิจัยยางหนองคาย ซึ่งยังคงตั้งอยู่ที่ทำการเดิม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ