สถาบันวิจัยยาง กยท. ยกทัพ! ทีมนักวิจัย พนักงาน และลูกจ้าง ประจำการ ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

พฤหัส ๒๓ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๕:๓๑
สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย (สวย./กยท.) นำโดยหัวเรือใหญ่ส่วนงานวิจัยยางพารา ของ กยท. ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย พร้อมทีมนักวิชาการ นักวิจัย พนักงาน และลูกจ้างจากสถาบันวิจัยยาง (เฉพาะส่วนกลาง) ย้ายที่ทำการเดิมจากพื้นที่เขตบางเขน พร้อมบริการ ณ ที่ทำการใหม่ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

ดร. กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กยท. เปิดเผยว่า เดิมสถาบันวิจัยยางใช้พื้นที่ของ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่บางเขน ในการปฏิบัติงานมาโดยตลอด จนเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ให้เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยมีสำนักงานใหญ่ของ กยท. อยู่ที ถนนบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ดังนั้น เพื่อเพิ่มศักยภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สถาบันวิจัยยาง จึงย้ายที่ทำการมาปฏิบัติงาน ณ กยท. สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตั้งเดือนมกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

สถาบันวิจัยยางมีบทบาทภารกิจหลัก ได้แก่ งานด้านวิชาการ การค้นคว้า การศึกษาวิจัย และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านยางพาราอย่างครบวงจร อาทิ การปรับปรุงพันธุ์ยาง เทคโนโลยีชีวภาพยาง การพัฒนาระบบกรีดยาง การเขตกรรมและการปลูกสร้างสวนยาง การจัดการธาตุอาหารพืช การอารักขาพืช การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการทำสวนยางพารา หรือ Good Agricultural Practices (GAP) การปลูกพืชผสมผสาน ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช การบริหารเงินทุนวิจัยของกองทุนพัฒนายางพาราตามมาตรา ๔๙ (๔) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ การสร้างนวัตกรรม รวมถึงการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และขยายผลในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น

ดร. กฤษดา กล่าวย้ำว่า "สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางหรือผู้ที่สนใจ ต้องการติดต่องานหรือสอบถามข้อมูลต่างๆ สถาบันวิจัยยาง พร้อมให้บริการด้านวิชาการและงานวิจัยยางพารา ติดต่อได้ที่ การยางแห่งประเทศไทย ชั้น 5 อาคาร 50 ปี ถนนบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ในวันและเวลาราชการ หรือศูนย์วิจัยยางภูมิภาคทั้ง ๕ แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยยางสงขลา ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ และศูนย์วิจัยยางหนองคาย ซึ่งยังคงตั้งอยู่ที่ทำการเดิม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025