ซีอีโอหัวเว่ย: เราพร้อมต้านทานการโจมตีระลอกใหม่จากสหรัฐฯ ในปีนี้

จันทร์ ๒๗ มกราคม ๒๐๒๐ ๐๘:๔๓
ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ย มร. เหริน เจิ้งเฟย แสดงความมั่นใจว่าบริษัทจะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการกีดกันเพิ่มเติ่มจากรัฐบาลสหรัฐฯ ในอนาคต "ด้วยประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รับจากปีที่แล้ว เรามั่นใจว่าจะต้านทานการโจมตีของอเมริกาในปีนี้ได้อีกครั้ง" ซีอีโอของหัวเว่ยกล่าวกับนักธุรกิจและนักการเมืองชั้นนำจากทั่วโลก ในการประชุม เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

มร. เหริน ซึ่งได้ร่วมพูดคุยในเวทีเสวนาเรื่อง "A Future Shaped by a Technology Arms Race" ได้ประกาศว่าการใส่ชื่อหัวเว่ยไว้ในบัญชีดำทางการค้าของสหรัฐฯ (Entity List) ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนักต่อธรุกิจของบริษัท และต้องขอบคุณการแบนของสหรัฐฯ ที่ทำให้บริษัทได้สร้างทีมที่เก่งและเข้มแข็งขึ้นกว่าเคย พร้อมคาดการณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อาจมองหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อขัดขวางการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย แต่บริษัทได้เตรียมการรับมือแผนการโจมตีทุกรูปแบบไว้เป็นอย่างดี "ปีนี้ สหรัฐฯ อาจจะยกระดับการโจมตีหัวเว่ยขึ้นไปอีก แต่ผมมองว่าเราคงไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก" มร. เหริน บอกกับผู้เข้าร่วมงานในเมืองดาวอส

มร. เหรินเผยว่าตนรู้มาตั้งแต่แรกว่าการก้าวเข้ามาในอุตสาหกรรมที่สหรัฐฯ ครองแชมป์อยู่เป็นเวลานาน เป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยนัก เมื่อ 20 ปีก่อน หัวเว่ยจึงได้ทุ่มเงินทั้งหมดที่เหลืออยู่ของบริษัท ณ ตอนนั้น ไปกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีแผนสำรองมารองรับอยู่เสมอหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น "เราใช้เงินไปหลายแสนล้านหยวนเพื่อการเตรียมตัวและตั้งรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และสิ่งที่เราได้กลับมาจากความทุ่มเท คือการรอดพ้นจากการโจมตีครั้งแรกของสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว" ผู้ก่อตั้งวัย 75 ปีกล่าว

ตัวเลขการเติบโตขึ้นถึง 18 % ของหัวเว่ยในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทไม่ได้แค่อยู่รอด หากแต่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์อันยากลำบาก ปัจจุบันหัวเว่ยเป็นผู้นำด้านธุรกิจ 5G ของโลก และเป็นเพียงบริษัทเดียวในโลกที่ผลิตทั้งโทรศัพท์มือถือ สถานีฐาน ไฟเบอร์ออฟติก ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของCore Network สำหรับ 5G และยังเป็นบริษัทที่ถือครองสิทธิบัตรของเทคโนโลยี 5G มากเป็นอันดับที่ 1 ถึงร้อยละ 20 ของจำนวนสิทธิบัตร 5G ทั้งหมด

ซีอีโอของหัวเว่ยยังได้เปิดเผยว่า แม้ว่าหัวเว่ยจะถูกแบน บริษัทยังเป็นแฟนตัวยงของแนวทางการบริหารธุรกิจของอเมริกา สาเหตุที่หัวเว่ยประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ก็เพราะบริษัทมักเรียนรู้การบริหารจัดการมาจากบริษัทอเมริกัน "บริษัทอเมริกันมีส่วนช่วยให้เราประสบความสำเร็จ จริง ๆ แล้วสหรัฐฯ ควรจะภูมิใจ" มร. เหรินกล่าว

เขายังได้ย้ำว่าการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดีและไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว "สหรัฐฯ ควรจะกังวลเรื่องเราและการเติบโตของเราในระดับโลกให้น้อยลง" มร. เหริน กล่าว เพราะในที่สุดแล้ว เขาเชื่อว่าประชากรหลายพันล้านคนทั่วโลกจะได้รับประโยชน์จากสังคมที่เปี่ยมไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ