"วันนี้ได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มาร้องเรียนถึงปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นได้มอบหมายให้กรมชลประทานเร่งดำเนินโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้แล้วเสร็จเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และบริหารจัดการเก็บกักน้ำในช่วงหน้าแล้ง สำหรับในส่วนของการแก้ปัญหาการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองขลุง ที่ติดขัดเนื่องจากอยู่ในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งขณะนี้ จ.จันทบุรี ได้ดำเนินการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนของกรมอุทยานแห่งชาติจะประกาศเพิกถอนพื้นที่ป่า ซึ่งก็จะสามารถดำเนินการได้ทันที ซึ่งหากการก่อสร้างแล้วเสร็จสามารถเก็บกักน้ำได้ 4.21 ล้าน ลบ.ม. เพื่อสนับสนุนพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการเกษตรและอุปโภค-บริโภค พื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 2,500 ไร่" นายประภัตร กล่าว
จากนั้น รมช.เกษตรฯ และคณะ เดินทางไปยัง ศูนย์พัฒนาผลไม้ตามพระราชดำริ จ.จันทบุรี เพื่อรับฟังสรุปการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ศูนย์ฯ และเดินทางตรวจติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองขลุง ต.เกวียนหัก อ.ขลุงจ.จันทบุรี
สำหรับ จ.จันทบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 3,961,250 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2,284,609 ไร่ (57.67% ของพื้นที่ทั้งหมด) โดยแบ่งเป็นพื้นที่ไม้ผล 1,038,126 ไร่ พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น 893,062 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชไร่ 118,797 ไร่ พื้นที่นา 32,186 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชผัก 7,225 ไร่ เป็นต้น ปริมาณน้ำภาพรวมจังหวัด 230 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำสะสม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 62 ถึง วันที่ 31 ธ.ค. 62 จำนวน17,391.30 มม. พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ทุเรียน 339,292 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 1,779 กิโลกรัม ลำใย 279,776 ตัน ผลผลิตต่อไร่1,342 กิโลกรัม มังคุด 125,834 ตัน ผลผลิตต่อไร่ 967 กิโลกรัม
ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำขนาดกลางมี 5 แห่ง คือ เขื่อนคีรีธาร เขื่อนพลวง อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย และอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ รวมความจุอ่าง 306.44 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำทั้งหมด 230.30 ล้าน ลบ.ม. น้ำใช้การได้ 220 ล้านลบ. คิดเป็น 72 (ณ วันที่ 24 ม.ค. 62)