ไทยติดอันดับ “ท็อปเท็น” ประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือมากที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาและปรับใช้โซลูชั่นโมบายล์เพย์เมนต์อย่างแพร่หลาย

จันทร์ ๒๗ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๕:๒๐
นีลเส็น (Nielsen) และอาลีเพย์ (Alipay) ร่วมกันเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับแนวโน้มล่าสุดของการเดินทางไปต่างประเทศของชาวจีน รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวจีนติดต่อกันเป็นปีที่ 3

จากผลการสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจีน 4,837 คน และผู้ประกอบการหรือผู้ค้าในต่างประเทศ 547 ราย พบว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงรักษาความเป็นผู้นำสำหรับการบริการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีน โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์และประเทศไทยไทยครองอันดับที่ 1 และ 6 ตามลำดับจากการจัดอันดับทั่วโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภูมิภาคดังกล่าวมีการพัฒนาที่ดีในเรื่องโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือ ส่วนประเทศอื่นๆ ใน "10 ประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือมากที่สุด" ได้แก่ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ แคนาดา สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกๆ ที่มีการปรับใช้โซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือ ผู้ค้าเกือบทุกราย (97%) ระบุว่ามีการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในแง่ของการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือและยอดใช้จ่ายผ่านมือถือของนักท่องเที่ยวจีน

ผลลัพธ์ดังกล่าวกระตุ้นให้ผู้ค้าในต่างประเทศหันมาสนใจและขยายขอบเขตการใช้งานแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือของจีนเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานไปสู่ระบบดิจิทัล โดยเกือบ 7 ใน 10 (66%) ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร มีแผนที่จะขยายการดำเนินงานร้านค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือของชาวจีน รวมทั้งขยายกิจกรรมด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายโดยอาศัยแพลตฟอร์มดังกล่าว ทั้งนี้ 78% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสหราชอาณาจักรระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะแนะนำบริการอาลีเพย์ให้กับผู้ค้ารายอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลประกอบการของธุรกิจ

จัสติน ซาร์เจนต์ ประธานของนีลเส็น ไชน่า (Nielsen China) กล่าวว่า "ระดับการใช้งานบริการชำระเงินผ่านมือถือของจีน (สัดส่วนของธุรกรรมการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ) และความถี่ของการใช้งาน (ยอดใช้จ่ายทั้งหมดที่ผ่านการชำระเงินด้วยมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศ) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในระดับเชิงลึกมากขึ้นของโซลูชั่นการชำระเงินผ่านมือถือของจีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก"

แองเจล เจา ประธานกลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศของแอนท์ ไฟแนนเชียล (Ant Financial) กล่าวว่า "ผู้ค้าในต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะปรับใช้บริการดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากบริการชำระเงิน เพราะจะช่วยธุรกิจทั่วไปปรับตัวสอดรับกับเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการนำเสนอประสบการณ์เฉพาะบุคคล (Personalized Experiences) สำหรับผู้บริโภคทั่วโลก อาลีเพย์ ซึ่งเป็นอีโคซิสเต็มส์ของอาลีบาบา มีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของธุรกิจ ช่วยให้ผู้ค้าทั่วโลกสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและได้รับประโยชน์จากธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลกที่กำลังเฟื่องฟู"

รายงานดังกล่าวนำเสนอแง่มุมใหม่ๆ เกี่ยวกับแนวโน้มการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลของธุรกิจค้าปลีกในต่างประเทศในช่วงเวลาที่ธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์มีการผสานรวมเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกับที่นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศก็มีอิทธิพลในการใช้จ่ายระหว่างเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้น

ข้อมูลสำคัญที่ระบุในรายงาน:

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประเทศปลายทาง

ในบรรดาประเทศทั้งหมดที่ตอบแบบสอบถาม การใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือของจีนในสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นอยู่ในระดับสูงสุด โดยสิงคโปร์ครองอันดับ 1

- 77% ของนักท่องเที่ยวจีนในสิงคโปร์ใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือสำหรับธุรกรรมของตน

ยอดใช้จ่ายทั้งหมดผ่านการชำระเงินด้วยมือถือของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีการปรับใช้ระบบชำระเงินผ่านมือถือของจีนอย่างแพร่หลาย

- ในสิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ อัตราการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือของนักท่องเที่ยวจีนอยู่ในระดับสูงที่ 70% ทั้งในปี 2561 และ 2562

- นอกจากนี้ ยอดใช้จ่ายทั้งหมดของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 14% ในสิงคโปร์และไทย และ 23% ในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในช่วงระหว่างปี 2561 ถึง 2562

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผู้ค้า

ผู้ค้าในต่างประเทศยกระดับการใช้งานแพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือของจีน ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานสู่ระบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

- 66% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร มีแผนที่จะขยายการดำเนินงานร้านค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือของจีน และ 66% มีแผนที่จะขยายกิจกรรมด้านการตลาดและการส่งเสริมการขายโดยอาศัยแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือของจีน

ผู้ค้าในต่างประเทศพบว่าการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือโดยนักท่องเที่ยวจีนนั้นจะพบเห็นได้ทั่วไปเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี

- 97% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสิงคโปร์ระบุว่า มีการปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในแง่ของการใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือและยอดใช้จ่ายผ่านมือถือของลูกค้าชาวจีน

78% ของผู้ค้าที่ตอบแบบสอบถามในสหราชอาณาจักรระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ตนเองจะแนะนำอาลีเพย์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินผ่านมือถือชั้นนำของจีน ให้กับผู้ค้ารายอื่นๆ ในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระบบดิจิทัลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและผลประกอบการของธุรกิจ

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านมือถือ

- สัดส่วนของนักท่องเที่ยวจีนที่ใช้บริการชำระเงินผ่านมือถือขณะที่เดินทางไปต่างประเทศในช่วงปี 2562 ยังอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับปี 2561 นอกจากนั้น ระดับการใช้งานบริการชำระเงินผ่านมือถือ (สัดส่วนของธุรกรรม) และความถี่ของการใช้งาน (ยอดใช้จ่ายทั้งหมด) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

- ในปี 2562 ราว 3.4 ใน 10 ของการชำระเงินที่ดำเนินการโดยนักท่องเที่ยวจีนแต่ละคนระหว่างการเดินทางไปต่างประเทศเป็นการชำระเงินผ่านมือถือ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ 3.2 ใน 10 ของการชำระเงิน

- ยอดชำระเงินผ่านมือถือต่อคนของนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยยอดใช้จ่ายผ่านโทรศัพท์มือถือของนักท่องเที่ยวที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1990 เพิ่มขึ้นกว่า 35% ในปี 2561

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

ในปี 2562 จุดหมายปลายทางที่อยู่ในช่วงระยะการเดินทางด้วยเครื่องบิน 4 ชั่วโมง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และสิงคโปร์ ยังคงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวจีน

- นอกจากนี้ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และแคนาดา ติดอันดับ 10 ประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุดเช่นกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวจีนมีความสนใจที่จะเดินทางไปยังประเทศที่พูดภาษาอังกฤษมากขึ้น

- ไทยและสิงคโปร์ติดอันดับอยู่ในกลุ่ม 10 ประเทศที่นักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปเยี่ยมชมมากที่สุดในปี 2562 และเป็น 10 ประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับแผนการเดินทางไปต่างประเทศในปี 2563

3 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการในต่างประเทศของนักท่องเที่ยวจีน ได้แก่ วิธีการชำระเงินที่ผู้ค้ายอมรับ (37%), ความหลากหลายและคุณภาพของสินค้า (36%) และราคาสินค้า (36%)

ในปี 2562 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า นักท่องเที่ยวจีนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1990 มียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกือบ 12% สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศต่อครั้ง ขณะที่นักท่องเที่ยวที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 มียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 15% การใช้จ่ายระหว่างการเดินทางที่เพิ่มขึ้นนี้อาจเป็นผลมาจากความต้องการที่จะสัมผัสประสบการณ์และวัฒนธรรมเชิงท้องถิ่นในระดับที่ลึกซึ้งมากขึ้น

- 70% ของนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennial) จะค้นหาข้อมูลอย่างจริงจังเกี่ยวกับที่พัก ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยว แม้กระทั่งหลังจากที่เดินทางมาถึงประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางแล้ว

- กว่า 50% ของนักท่องเที่ยวที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1990 เลือกที่พักโฮมสเตย์และที่พักขนาดเล็กแบบ B&B มากกว่าโรงแรม

- 34% ของนักท่องเที่ยวที่เกิดหลังปี 1990 รับชมคอนเสิร์ตหรือการแสดงบนเวทีในต่างประเทศ ขณะที่ 26% รับชมกิจกรรมการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง

กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมในอินโฟกราฟิกที่แนบมา และหากต้องการดาวน์โหลดรายการฉบับเต็ม ให้คลิกที่นี่

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ