วว./พันธมิตร ลงพื้นที่ภาคใต้อบรมแลกเปลี่ยนความรู้ สำรวจความต้องการนวัตกรรมในชุมชน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม

พุธ ๒๙ มกราคม ๒๐๒๐ ๐๙:๒๖
ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้นวัตกรรม วว. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคใต้ ซึ่ง วว. และพันธมิตรร่วมจัดขึ้น โดยนำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีปุ๋ย เห็ด พลังงาน และระบบการควบคุมอัตโนมัติ รวมทั้งการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จำนวน 30 นวัตกรรม ซึ่งเป็นผลสำเร็จจากการวิจัยและพัฒนาของ วว. ที่มีศักยภาพในการช่วยส่งเสริมให้ชุมชน เกษตรกร ผู้ประกอบการในพื้นที่เข้มแข็ง ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน อาทิ ปุ๋ยอินทรีย์/เครื่องอัดเม็ด/เครื่องสับย่อย ชุดผลิตไอน้ำด้วยชีวมวลเพื่อฆ่าเชื้อในก้อนเพาะเห็ด/เครื่องเจาะเห็ด เตาชีวมวลสำหรับใช้แปรรูปอาหาร เครื่องขึ้นทะลายปาล์ม เครื่องเก็บทุเรียน/เครื่องใส่ปุ๋ยสับปะรด ตู้อบลมร้อนและการแปรรูปสับปะรด การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตทุเรียนนอกฤดู ฯลฯ เป็นประเด็นเชื่อมโยงการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการนวัตกรรมในชุมชนระหว่าง วว. และกลุ่มเป้าหมายซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 300 คน ในวันที่ 28 มกราคม 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

"...ความต้องการของชุมชนที่ได้จากโครงการอบรมดังกล่าว จะเป็นข้อมูลในการนำไปเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้สู่ชุมชนและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งผลต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น ทั้งนี้ วว. ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ถ่ายทอดสู่ชุมชน โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าถึงบริการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งบริการวิเคราะห์/ทดสอบ สอบเทียบ การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ การจัดกิจกรรมนี้เพื่อเชื่อมโยงผลงานวิจัยในการแลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการนวัตกรรมในชุมชนระหว่างนักวิจัย วว.และกลุ่มเป้าหมายคือ พี่น้องเกษตรกร ผู้นำชุมชน วิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตร จากการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร โครงการยกระดับโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจน โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของชุมชนของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป..." ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ กล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version