สทนช. จับมือ จิสด้า ประยุกต์เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ พัฒนานวัตกรรมด้านน้ำอย่างยั่งยืน

พุธ ๒๙ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๑:๔๑
สทนช. ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ กับ GISTDA บูรณาการองค์ความรู้ ร่วมมือศึกษา ออกแบบ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ผลักดันการพัฒนานวัตกรรมในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและโครงการด้านน้ำของประเทศอย่างยั่งยืน

ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และ ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนานวัตกรรมในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและโครงการด้านน้ำของประเทศ ณ ห้องประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ชั้น 4 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ

ดร. สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงด้านการบริหารจัดกรทรัพยากรน้ำด้วย สทนช. และ GISTDA เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้มีความคิดตรงกันที่จะร่วมกันบูรณาการความร่วมมือในการศึกษา ออกแบบ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในการวางแผนการบริหารจัดการด้านน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวางระบบบริหารจัดการน้ำ ให้สอดคล้องตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) อีกทั้งยังจะร่วมกันศึกษาออกแบบ วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ที่มุ่งเน้นการตอบโจทย์บนพื้นฐานการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) พัฒนาแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินผลข้อมูล (Data Analytics and Evaluation) การจำลองเหตุการณ์ในอนาคต (Simulation) รวมถึงการกำหนดนโยบาย โดยสร้างการมีส่วนร่วม และคำนึงถึงมุมมองจากภาคส่วนต่าง ๆ (Co-Creation) ไปจนถึงการดำเนินงานอื่น ๆ เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ และร่วมกันใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีในการพัฒนาทั้งนวัตกรรมในการกำหนดนโยบาย (Policy Innovation) และ/หรือ นวัตกรรมทางยุทธศาสตร์ (Strategy Innovation) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ และสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยมุ่งหวังว่าการพัฒนาจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถก่อให้เกิดการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านน้ำต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างยั่งยืน

ด้าน ดร. อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ GISDA กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนาม MOU ในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง 2 หน่วยงาน ในการนำองค์ความรู้ของทั้งสองฝ่ายในด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศและด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการโครงการด้านน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการวางระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งต่อไปนี้ ภารกิจหลักของ GISTDA จะเป็นรูปแบบของการขับเคลื่อนเชิงนโยบายมากขึ้น โดยได้มีโครงการความร่วมมือกับบริษัทแอร์บัส จากประเทศฝรั่งเศส ออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มกำหนดนโยบายแบบอัจฉริยะ หรือ AIP (Actionable Intelligence Policy) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่ทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึง และมีส่วนร่วมในการนำไปปรับเพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาของประเทศได้อย่างชาญฉลาด ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่มีศักยภาพและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ