"ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตแสดงให้เห็นว่าในปัจจุบัน มีเด็กไทยจำนวน 1 ล้านคนที่กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า และอีกประมาณ 2 ล้านคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หรือความเจ็บป่วยทางจิตอื่น ๆ สถานการณ์นี้พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอัตราการฆ่าตัวตายในหมู่เยาวชนในประเทศไทย ทำให้เราต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและแสดงออกให้วัยรุ่นที่กำลังเผชิญกับความเจ็บป่วยทางจิตรู้ว่าเราพร้อมให้ความช่วยเหลือพวกเขา" นายแมทธ์ เลิฟ ผู้ร่วมก่อตั้งเลิฟ แฟรงกี้ กล่าว
ตลอดระยะเวลา 4 วัน โครงการนี้จะเปิดให้เยาวชนได้เข้าร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ สนทนาแบบตัวต่อตัวกับอาสาสมัครด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการฝึกอบรม ร่วมกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการบำบัด กิจกรรมการเคลื่อนไหว การฝึกดูแลตนเองด้วยการนั่งสมาธิและฝึกสติ และการร่วมพูดคุยแบบกลุ่ม
"ความสัมพันธ์กับชุมชนที่เข้มแข็งและการสนับสนุนของสังคมสามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผลกระทบของความเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งช่วยในการพัฒนากลไกในการเผชิญปัญหาและความสามารถในการปรับตัวได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่เยาวชนจำนวนมากยังขาดการเข้าถึงการสนับสนุน และนี่คือเหตุผลที่เราต้องการสนับสนุนการสร้างชุมชนที่ให้การดูแล สนับสนุน และสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเยาวชนให้พวกเรารู้สึกว่าไม่ถูกมองข้ามและเป็นที่ยอมรับในสังคม" รีเบคก้า แฟรงกี้ ผู้ร่วมก่อตั้งเลิฟ แฟรงกี้ กล่าวเสริม
เกี่ยวกับบริษัทเลิฟ แฟรงกี้
เลิฟ แฟรงกี้ ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นองค์กรสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพฤติกรรมที่ใช้การวิจัยและการสื่อสารเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายต่อสังคม โดยการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพลังชุมชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เลิฟ แฟรงกี้ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์เข้ากับข้อมูลเชิงลึก เพื่อสร้างโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายและวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง เลิฟ แฟรงกี้เชื่อในวิธีการที่อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการนำคนมาร่วมกันแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในปัจจุบัน