ดร.ฤทธี กิจพิพิธ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN และ กรรมการ บริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด ได้กล่าวเปิดงานพร้อมเปิดเผยถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น จึงทำให้สัดส่วนความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศไทยสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ฉะนั้นโซลาร์รูฟท็อปจึงเป็นหนึ่งทางออกที่ดีสำหรับผู้ประกอบการที่สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงได้รวมกลุ่มกับพันธมิตรที่มีความเชียวชาญทางด้านพลังงานทดแทน จัดตั้งบริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด เพื่อพัฒนาและผลิตพลังงานสะอาดขึ้นมาเพื่อเข้าร่วมลงทุนในสัญญาซื้อขายไฟภาคเอกชน (Private PPA) และสัญญาเช่าโครงการโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นการลงนามในสัญญาระหว่างบริษัทกับผู้ประกอบการเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งห่างจากการลงนามในครั้งแรกเพียง 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการอย่างดีเกินคาด โดยครั้งนี้มีผู้ประกอบการเข้าลงนามทั้งสิ้น 7 ราย มั่นใจปี 2563 นี้ บริษัทฯ เดินตามเป้าหมายและได้รับข่าวดีอย่างแน่นอน
ด้านคุณสารชา ตรัสโฆษิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สแกน แอดวานซ์ พาวเวอร์ จำกัด กล่าวว่า จากความต้องการการใช้ไฟฟ้าที่ขยายตัวสูงขึ้น ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน บริษัทพร้อมแล้วที่จะสร้างสรรค์พลังงานทดแทนแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในเดือนตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา บริษัทได้ร่วมลงนามกับผู้ประกอบการจำนวน 8 ราย กำลังการผลิตรวม 4 MW และครั้งนี้ได้มีผู้ประกอบร่วมลงนามจำนวน 7 ราย ประกอบไปด้วย 1.บริษัท ไทยเปเปอร์มิลล์ จำกัด 2.บริษัท สมบูรณ์ แพ็คเกจจิ้ง (888) จำกัด 3.บริษัท กาญจนาเฟรชพอร์ค จำกัด 4.บริษัท อินโนเวชั่นฟุ้ตแวร์ จำกัด 5.บริษัท ห้องเย็นท่าข้าม จำกัด 6.บริษัท โบลท แอนด์ นัท อินดัสตรี้ จำกัด 7.บริษัท สหชัยซีฟู้ด จำกัด โดยมีกำลังการผลิตรวม 6 MW มูลค่าการลงทุนประมาณ 180 ล้านบาท โดยจะเริ่มดำเนินการติดตั้งให้เสร็จสิ้นภายใน ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 และจะเริ่มทะยอยจ่ายไฟได้ในไตรมาสที่ 2 นี้เช่นกัน นอกไปจากยังมีลูกค้าให้ความสนใจติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเป็นจำนวนมาก ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจา ตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะได้กำลังผลิตเพิ่มอีก 20 MW ทำให้กำลังการผลิตรวมตั้งแต่ปี 2562 ถึงปี 2563 อยู่ที่ 30 MW คาดมูลค่าการทุนรวมประมาณ 900 ล้านบาท และจะสร้างรายได้ให้กับบริษัทกว่า 120 ล้านบาท
ทั้งนี้บริษัทได้วางแผนธุรกิจในระยะเวลา 5 ปี ตั้งเป้าจะมีกำลังการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ได้มาจากแสงอาทิตย์รวม 110 MW โดยแบ่งออกเป็น 10 MW, 20 MW, 20 MW,30 MW และ 30 MW สำหรับปีที่ 1,2,3,4 และ 5 ตามลำดับ มีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท และจะสร้างรายได้กว่า 500 ล้านบาท
คุณสารชา กล่าวเสริมว่า บริษัท สแกน แอดวานซ์ เพาเวอร์ ไม่ปิดกั้นที่จะลงทุนในพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่นๆ โดยที่บริษัทยังคงมองหาการลงทุนในพลังงานประเภทต่างๆ ที่จะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่อการใช้งานอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และยังยังมุ่งเน้นโซลาร์รูฟท็อปเป็นหลักเช่นกัน ตั้งเป้าจะเป็นผู้นำในการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแบบครบวงจร ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยผู้ประกอบการลดภาระค่าใช้จ่ายและยังช่วยลดปริมาณการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึงปีละ 2,600 ตัน และเปรียบเสมือนเป็นการปลูกต้น 300,000 ต้นต่อปี จากกำลังการติดตั้ง 10 MW นี้อีกด้วย.