จ.อุบล ผนึก บ.อุบลเกษตรพลังงาน MOU ยกระดับมันสำปะหลังอินทรีย์ ภายใต้อุบลโมเดล

ศุกร์ ๓๑ มกราคม ๒๐๒๐ ๑๑:๐๘
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงนามสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังอินทรีย์ระหว่างเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ภายใต้รูปแบบอุบลโมเดล กับบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯ แรกที่ดำเนินการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ในจังหวัดอุบลราชธานีจนประสบผลสำเร็จ การลงนามฯ ในครั้งนี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ณ โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสฤษดิ์ วิฑูรย์) เป็นประธาน มีเกษตรกรที่ร่วมลงนามซื้อขายมันสำปะหลังอินทรีย์ จำนวน 104 ราย จาก 8 อำเภอ ในจังหวัดอุบลราชธานี (พื้นที่ 620 ไร่) และจาก 1 อำเภอ ในจังหวัดยโสธร (พื้นที่ 42 ไร่) รวมพื้นที่ 662 ไร่ ระยะเวลาดำเนินการซื้อขาย 3 เดือน (มกราคม - มีนาคม 2563)

สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ภายใต้รูปแบบอุบลโมเดล ได้ผ่านมาตรฐานอินทรีย์ไทย และมาตรฐานอินทรีย์สากล ได้แก่ 1) มาตรฐาน มกษ 9000-2552 หรือ Organic Thailand 2) มาตรฐานอินทรีย์ USDA-NOP (สหรัฐอเมริกา) 3) มาตรฐานอินทรีย์ EU (ยุโรป) 4) มาตรฐานอินทรีย์ JAS (ญี่ปุ่น) 5) มาตรฐานอินทรีย์ Korean (เกาหลี) และ 6) มาตรฐานอินทรีย์ China (จีน) จึงเป็นเครื่องการันตีและสร้างความมั่นใจกับผู้ค้าได้ว่า ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์นั้น สามารถนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ซึ่งในอนาคตทางบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด มีเป้าหมายที่จะนำแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิค มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น ได้แก่ แป้งออร์แกนิคฟลาว (Organic Cassava Flour) สาคูออร์แกนิค (Organic Sago) แป้งออร์แกนิคมอลโทเดกซ์ทริน (Organic Maltodextrin) อาหารสัตว์จากกากมันออร์แกนิค (Organic pellet) สารให้ความหวานออร์แกนิค (Organic Sweetener) พลาสติกย่อยสลายได้ (Biodegradable Plastic) และสารเคมีชีวภาพ (Biochemical) ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตให้กับเกษตรกร ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ เพื่อยกระดับรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกร

ด้านนายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 จังหวัดอุบลราชธานี (สศท.11) กล่าวเสริมว่า มันสำปะหลังอินทรีย์นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตสดใส ควรมีการส่งเสริมและขยายพื้นที่การผลิตไปยังจังหวัดอื่นใกล้เคียงที่มีศักยภาพในการผลิตมันสำปะหลังต่อไป ซึ่งการลงนามซื้อขายมันสำปะหลังอินทรีย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมมือกับบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ในการลงพื้นที่ให้ความรู้กับเกษตรกรในเรื่องการผลิตและการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิต รวมถึงการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ โดยในส่วนของ สศก. ได้ร่วมลงพื้นที่ศึกษาต้นทุนผลตอบแทนและการตลาดของสินค้ามันสำปะหลังอินทรีย์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 สำหรับปีเพาะปลูก 2563 สศก. คาดการณ์ว่า ผลผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ในพื้นที่เพาะปลูกรวม 620 ไร่ จะออกสู่ตลาดประมาณ 3,500 ตัน ด้านผลตอบแทน มันสำปะหลังอินทรีย์ (เชื้อแป้ง 25%) ทางบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ประกันราคาอยู่ที่ 3.50 บาท/กก. ในขณะที่ราคาหัวมันสำปะหลังทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ราคาอยู่ระหว่าง 2.25 – 2.90 บาท/กก. สำหรับเกษตรกรที่สนใจข้อมูลด้านการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร โทร.04 521 0422, 04 521 0423

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ