บำรุงราษฎร์ ชูมาตรการเฝ้าระวังไวรัสโคโรนาขั้นสูงสุด ตั้งศูนย์บัญชาการประเมินและปรับตัวตามสถานการณ์ พร้อมติดตั้งกล้องเทอร์โมสแกนคัดกรองกลุ่มสงสัย

พุธ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๐ ๑๒:๑๐
สืบเนื่องจากการประกาศแจ้งเตือนของกระทรวงสาธารณสุข ถึงการเฝ้าระวังโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ในช่วงที่ผ่านมานั้น ในด้านของ ผศ. นพ. วิชัย เตชะสาธิต แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ให้ข้อมูลว่า โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้มีมาตรการการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดและมีการตรวจคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นโรงพยาบาลระดับสากลที่รองรับผู้ป่วยต่างชาติ ถึงร้อยละ 50 หรือกว่า 520,000 รายต่อปี จึงมีการติดตามและประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมาตรการเฝ้าระวังดังกล่าวจะได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ และปรับตามความเหมาะสมให้เท่าทันกับสถานการณ์และสอดรับกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยล่าสุด โรงพยาบาลฯ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ และบุคลากรของโรงพยาบาลฯ ด้วยมาตรการขั้นสูงสุด ได้แก่

1. ติดตั้งเครื่อง Thermal Imaging Camera เพื่อตรวจจับผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายเกินกำหนด ครอบคลุมทุกพื้นที่

2. เตรียมห้องแยกโรคความดันลบ (negative pressure room) พร้อมด้วยอุปกรณ์และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยไม่ให้ปะปนกับผู้อื่น

3. การเข้มงวดและเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาดพื้นที่และอุปกรณ์สาธารณะต่าง ๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อคุณภาพสูง มีการกำจัดขยะและของเสียอย่างเหมาะสม

4. มีการตั้งศูนย์บัญชาการสถานการณ์เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง และประชุมกับผู้ชำนาญการเพื่อปรับแผนรองรับสถานการณ์ตามความเหมาะสมอยู่ตลอดเวลา

5. ให้ความรู้ด้านการป้องกันตนเองแก่ผู้ป่วยและพนักงานอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มจุดบริการ Cultural Help Desk ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับอาการและข้อสงสัยเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาและยังเป็นจุดคัดกรองทุกทางเข้าของอาคาร ปรับผังการขึ้นลงลิฟต์และเส้นทางเข้า-ออกอาคารเพื่อให้ผู้รับบริการต้องผ่านมายังจุดตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายด้วยเครื่อง Thermal Imaging Camera และเครื่องวัดอุณหภูมิแบบมือถือ และผ่านจุดคัดกรองในทุกทางเข้าอาคาร ให้บริการหน้ากากอนามัย เพิ่มบริการจุดวางแอลกอฮอล์ล้างมือ พร้อมจัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสโคโรนาครอบคลุมทุกพื้นที่ภายในโรงพยาบาล รวมถึงช่องทางโซเชียลมีเดียของโรงพยาบาลอีกด้วย

ผศ. นพ. วิชัย เตชะสาธิต กล่าวเสริมว่า "ทุกวันนี้ ประชาชนได้รับข่าวสารทางสื่อโซเซียลที่นำเสนอจากหลากหลายแหล่งที่มาด้วยความรวดเร็ว จึงอยากแนะให้ประชาชนพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือจากแหล่งที่มาและข้อเท็จจริง และไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกจนเกินไป ขณะเดียวกันก็ควรปฏิบัติตัวดูแลป้องกันโรคติดเชื้อ ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์, พบแพทย์เมื่อมีอาการหวัด มีน้ำมูก มีไข้ ไอจาม, สวมหน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง, เมื่อมีความเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่นอย่างใกล้ชิด และแนะนำเพื่อนและญาติมิตรที่มีความเสี่ยงไม่ควรออกไปพบปะผู้อื่น เป็นต้น"

ทั้งนี้ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ยังได้นำวิธีปฏิบัติที่ได้ผลเป็นเลิศ (Best Practice) ที่บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ ได้เรียนรู้จากการสกัดกั้นการแพร่กระจายของโรคในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส และโรคเมอร์ส มาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและบุคลากรภายในโรงพยาบาล ตลอดจนชุมชนในบริเวณใกล้เคียง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ