- พ.ย. ๒๕๖๗ กำชับผู้รับสัมปทานตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงศาลาที่พักผู้โดยสารฯ
- พ.ย. ๒๕๖๗ อำนวยความสะดวกการเดินทาง - รณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนแก่ผู้สูงอายุ
- พ.ย. ๒๕๖๗ ปรับปรุงศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางอัจฉริยะให้เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
นายพานุรักษ์ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสในเส้นทางสายสุขุมวิทและสายสีลมว่า ในปัจจุบันได้ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาไปแล้ว 9 สถานี ประกอบด้วย สยาม อโศก อ่อนนุช พญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลาแดง ชิดลม พร้อมพงษ์ และช่องนนทรี และติดตั้งเพิ่มที่สถานีสุรศักดิ์และสถานีทองหล่อ คาดเปิดใช้งานปลายปี 2563 ทั้งนี้จะเร่งรัดติดตั้งประตูกั้นชานชาลาให้ครบทุกสถานี เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 ประกอบด้วย ส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน - สถานีบางหว้า จำนวน 6 สถานี และส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงจากสถานีอ่อนนุช - สถานีแบริ่ง จำนวน ๕ สถานี ได้กำหนดเงื่อนไขในสัญญาร่วมลงทุน ให้ผู้รับสัมปทานมีหน้าที่ต้องดำเนินงานออกแบบและก่อสร้างประตูกั้นชานชาลาในสถานีทั้งหมด โดยเอกชนคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต จำนวน 16 สถานี ได้ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาครบทุกสถานีแล้ว นอกจากนั้น ยังได้กำชับมาตรการดูแลความปลอดภัยบริเวณสถานีรถไฟฟ้าและการป้องกันอุบัติเหตุผู้โดยสารพลัดตกราง โดยในสถานีที่มีผู้โดยสารใช้บริการเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาเร่งด่วนเช้าและเย็น จะมีเจ้าหน้าที่ประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารที่รอใช้บริการยืนเข้าแถวตามลูกศร ที่อยู่บนพื้นชานชาลา ตลอดจนติดตั้งปุ่มหยุดรถไฟฟ้าฉุกเฉิน (กล่องสีเหลือง) เพื่อใช้หยุดการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้า ไม่ให้เข้าหรือออกจากสถานีในกรณีฉุกเฉิน